องค์การแรงงานระหว่างประเทศกระตุ้นให้มี ”ปฏิบัติการล่วงหน้า”

องค์การแรงงานระหว่างประเทศกระตุ้นให้มี ”ปฏิบัติการล่วงหน้า”

”ปฏิบัติการล่วงหน้า” ในเรื่อง COVID 19

เพื่อคุ้มครองสุขภาพแรงงาน สนับสนุนรายได้องค์การแรงงานระหว่างประเทศกระตุ้นให้มี ”ปฏิบัติการล่วงหน้า” ในเรื่อง COVID 19  องค์การแรงงานระหว่างประเทศได้เสนอให้มีการประสานงานนโยบายระหว่างประเทศอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID 19) และลดผลกระทบจากการว่างงานทั่วโลก โดยเน้นย้ำถึง “การเตรียมความพร้อมเร่งด่วนและปฏิบัติการล่วงหน้า” โดยเสนอ 3 มาตรการเร่งด่วนในการจัดการกับผลกระทบจาก COVID 19 อันจะเกิดขึ้นในโลกของการทำงาน ตามรายงานการประเมินสถานการณ์เบื้องต้น เรื่อง “COVID-19 และโลกของการทำงาน : ผลกระทบและการแก้ปัญหา” เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2563 มีข้อสังเกตว่า วิกฤตการครั้งนี้ได้แปรสภาพไปสู่การสั่นสะเทือนทางเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน ซึ่งส่งผลกระทบทั้งการผลิตสินค้าและบริการเช่นเดียวกับการบริโภคและการลงทุน ธุรกิจไม่ว่าจะมีขนาดเท่าไรล้วนเผชิญหน้ากับความท้าทายอย่างร้ายแรง การดำเนินธุรกิจให้ยั่งยืนเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และได้ย้ำเตือนถึงความเสื่อมถอยลงอย่างรวดเร็วของโอกาสทางเศรษฐกิจ ปริมาณ และคุณภาพของการจ้างงาน นอกจากนี้ ยังได้ชี้ให้เห็นถึง สัญญาณของภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในการเติบโตของ GDP ทั่วโลกที่แตกต่างกันออกไป จากประมาณการพบว่า “ในขั้นต่ำ” การว่างงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 5.3 ล้านคน และ“ในขั้นสูง” การว่างงานอาจเพิ่มขึ้นถึง 24.7 ล้านคน ทั้งนี้ ผู้เขียนได้เรียกร้องให้มีมาตรการสำคัญ 3 ประการ ได้แก่             - การคุ้มครองสุขภาพพนักงานในสถานประกอบการจากความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา             - การกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงาน             - การช่วยเหลือการจ้างงานและรายได้             เพื่อคุ้มครองแรงงาน ILO แนะนำให้มีการทำงานระยะไกลและการเหลื่อมเวลาการทำงาน การเพิ่มเงินกรณีลาป่วย และการสนับสนุนด้านอาชีพ เช่น การจัดให้มีเว็บไซต์เฉพาะ และสายด่วน นอกจากนี้ มาตรการคุ้มครองเพิ่มเติมอาจรวมถึงการสนับสนุนการดูแลเด็กเล็กให้แก่ผู้ปกครองในกรณีที่สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนถูกปิดลง การจัดให้มีการเข้าถึงด้านสุขภาพแก่ทุกคน รวมถึงการป้องกันการเลือกปฏิบัติและการกีดกันที่อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ, ได้เสนอให้มีการใช้นโยบายการเงินและการคลัง การยกเว้นการจัดเก็บภาษีเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางสังคม และการขยายเวลาการชำระหนี้จากการจำนอง นอกจากนี้ การให้ความช่วยเหลือทางการเงินเฉพาะด้าน เช่น ด้านสุขภาพ สามารถช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้ นอกจากนี้ รายงานฯ ได้เสนอให้มีการชดเชยค่าตอบแทน การลดการทำงาน และการช่วยเหลือทางสังคม เพื่อช่วยเหลือการจ้างงานและรายได้ ในบางประเทศได้เริ่มให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ธุรกิจขนาดเล็ก และเสนอให้มีการเลื่อน หรือการผ่อนชำระภาษีให้แก่บริษัทที่ได้รับผลกระทบ มาตรการเหล่านี้อาจจะช่วยได้ แต่การเตรียมพร้อมและการปฏิบัติการล่วงหน้ายังคงมีความสำคัญ                Guy Ryder ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศออกมาเตือนว่า COVID-19 “ไม่เพียง แต่เป็นวิกฤตด้านสุขภาพโลกเท่านั้น แต่มันยังเป็นวิกฤตสำคัญของตลาดแรงงานและเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อผู้คนอย่างมหาศาล” และย้ำถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมระหว่างพนักงาน นายจ้าง และผู้แทนของพวกเขา เพื่อสร้างความไว้วางใจและการสนับสนุนมาตรการที่จำเป็นในการเอาชนะวิกฤติ โดยเรียกร้องให้มีการนำรูปแบบของภาวะผู้นำและการจัดการกับปัญหาที่เคยแสดงในปี พ.ศ. 2551มาแก้ไขผลกระทบของวิกฤตการเงินโลก  

21 ก.ย. 2563   191  
ข้อเสนอแนะ
ติดตามเรา