ในปัจจุบันมีไมโครพลาสติกมากกว่าตัวอ่อนปลาในบริเวณปากแม่น้ำดูโร ประเทศโปรตุเกส
ผลการศึกษาวิจัยของศูนย์สหวิทยาการการวิจัยทางทะเลและสิ่งแวดล้อม (CIIMAR) ของมหาวิทยาลัยปอร์โตได้ข้อสรุปว่า มีอนุภาคพลาสติกขนาดเล็กกว่าตัวอ่อนปลาในปากแม่น้ำดูโร ใกล้เมืองปอร์โต ประเทศโปรตุเกส และจากงานวิจัยยังพบว่ามีอนุภาคขนาดเล็ก ๑ ไมโครเมตรอยู่ในตัวอ่อนปลาทุกตัว คุณซานดา รามอส นักวิจัยของ CIIMAR กล่าวว่าในแม่น้ำมีพลาสติกทุกขนิด ตั้งแต่ถุงพลาสติก ฝาขวด และเส้นใยพลาสติก “กระแสน้ำในแม่น้ำ ลม และรังสีอัลตราไวโอเลตของดวงอาทิตย์ ทำให้อนุภาคพลาสติกขนาดที่เล็กที่สุดเสื่อมสภาพลง” เธอกล่าว ไมโครพลาสติกส่งผลด้านลบอย่างมาก ไม่เพียงแต่ส่งผลเสียต่อการขยายพันธุ์ของปลา แต่การที่พลาสติกได้เข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของธรรมชาติยังส่งผลเสียต่อระบบห่วงโซ่อาหาร รวมถึงของมนุษย์ด้วย “ตัวอ่อนของปลาคิดว่าไมโครพลาสติกเป็นอาหาร และในกรณีที่มันกินเข้าไป ไมโครพลาสติกจะไปอุดตันในลำไส้ ทำให้ถึงตายได้ หรือในทางกลับกัน หลังจากที่ปลากินพลาสติกไปเป็นจำนวนมาก ท้องของปลาวัยอ่อนจะเต็มไปด้วยพลาสติกที่ไม่ใช่อาหารจริง ดังนั้นพวกมันจะตาย” จากการศึกษาของคุณรามอสพบว่าความเข้มข้นของอนุภาคพลาสติกเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝนเมื่อกระแสน้ำในแม่น้ำไหลแรง ซึ่ง "แสดงให้เห็นว่าแหล่งกำเนิดมลพิษนั้นมาจากต้นน้ำในประเทศสเปน" เธอกล่าว จัดทำโดย นายพฤทธิพงศ์ สุรเกียรติ นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ ตรวจทานโดย นางสาวพลอยนภัส พัฒน์ธนัย หัวหน้ากลุ่มงานพิธีการ ส่วนส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเมือง สำนักงานการต่างประเทศ