รายงานของ UNEP ให้ความสำคัญกับความพยายามควบคุมมลพิษทางอากาศของกรุงปักกิ่ง เพื่อนำไปใช้เป็นต้นแบบให้กับเมืองอื่นๆ

รายงานของ UNEP ให้ความสำคัญกับความพยายามควบคุมมลพิษทางอากาศของกรุงปักกิ่ง เพื่อนำไปใช้เป็นต้นแบบให้กับเมืองอื่นๆ

รายงานของ UNEP ให้ความสำคัญกับความพยายามควบคุมมลพิษทางอากาศของกรุงปักกิ่ง เพื่อนำไปใช้เป็นต้นแบบให้กับเมืองอื่นๆ

9 มี.ค. 62: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติ (The UN Environment Programme: UNEP)      และกองนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม กรุงปักกิ่ง (The Beijing Municipal Ecology and Environment Bureau: BEE) สาธารณรัฐประชาชนจีนได้เผยแพร่รายงานที่อธิบายเกี่ยวกับการปฏิวัติโครงการการจัดการคุณภาพอากาศ   เรื่อง "บทวิจารณ์ 20 ปีแห่งการควบคุมมลพิษทางอากาศในกรุงปักกิ่ง (A Review of 20 Years’ Air Pollution Control in Beijing)" ที่มีเนื้อหาครอบคลุมระหว่างปี พ.ศ. 2541 – 2560 (ค.ศ. 1998 – 2017) และได้ถูกนำมาเผยแพร่ก่อนการประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติสมัยที่ 4 ณ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ระหว่างวันที่ 11 – 15 มีนาคม 2562 รายงานฉบับนี้ได้ระบุบทเรียน นโยบาย และการดำเนินงานที่กรุงปักกิ่งใช้เพื่อลดมลพิษ เพื่อใช้เป็นแนวทาง ให้กับเมืองในประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก อีกทั้งอธิบายว่า สาเหตุหลักของมลพิษทางอากาศในกรุงปักกิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) เกิดจากการสันดาปของถ่านหิน และยานพาหนะประเภทที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีมลสารเกินค่ามาตรฐานกำหนดของจีน ด้วยเหตุนี้กรุงปักกิ่งจึงเริ่มจริงจังกับโครงการควบคุมมลพิษทางอากาศโดยตลอด 20 ปีที่ผ่านมากรุงปักกิ่งได้ดำเนินมาตรการเพื่อลดมลพิษทางอากาศ ซึ่งรวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพลังงาน การควบคุมมลภาวะที่เกิดจากการเผาไหม้ของถ่านหิน และการควบคุมการเผาไหม้จากยานพาหนะ รายงานฉบับนี้ได้แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) มลสารทางอากาศในกรุงปักกิ่งได้ลดลงร้อยละ 25 – 83 ขึ้นอยู่กับชนิดของมลสารกรุงปักกิ่งคือตัวอย่างที่ดีของประเทศพัฒนาแล้วที่สามารถรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตได้อย่างสมดุลมาตรการควบคุมการเผาไหม้จากถ่านหิน การใช้เชื้อเพลิงสะอาดภายในประเทศ และการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมส่งผลให้ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในกรุงปักกิ่งลดลงร้อยละ 35 จากปี พ.ศ. 2556 ถึงปี พ.ศ. 2561  อย่างไรก็ตาม รายงานฉบับนี้ได้ระบุว่า ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในกรุงปักกิ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอากาศที่จีนได้กำหนดไว้ และยังคงเกินค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก (The World Health Organization : WHO) อีกด้วยการตรวจสอบและประเมินผล การจำแนกแหล่งกำเนิดของมลพิษทางอากาศ บัญชีการปล่อยมลพิษทางอากาศ   รวมถึงการบัญญัติกฎหมายที่มีเนื้อหาครอบคลุม และการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวดได้สนับสนุน  ระบบการจัดการคุณภาพอากาศของกรุงปักกิ่ง Joyce Msuya รักษาการผู้อำนวยการโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติกล่าวว่า การทำความเข้าใจ ความพยายามของกรุงปักกิ่งในการควบคุมมลพิษทางอากาศสามารถใช้เป็นแม่แบบให้กับประเทศ เทศบาล หรือเมืองที่ต้องการดำเนินรอยตามกรุงปักกิ่งDechen Tsering ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติ กล่าวว่า กรุงปักกิ่งคือตัวอย่างที่ดีของประเทศพัฒนาแล้วที่สามารถรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตได้อย่างสมดุลครั้งนี้ถือเป็นการประเมินการควบคุมอย่างเป็นอิสระของคุณภาพอากาศในกรุงปักกิ่งครั้งที่ 3 ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติหลังจากการประเมินการควบคุมอย่างเป็นอิสระด้านสิ่งแวดล้อม : การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปักกิ่งเกม 2008 (Independent Environmental Assessment: Beijing 2008 Olympic Games) ที่ถูกตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) และบทวิจารณ์การควบคุมมลพิษทางอากาศในกรุงปักกิ่งระหว่างปี พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2556 (A Review of Air Pollution Control in Beijing: 1998 – 2013) ที่ถูกตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2016) อ้างอิง: (A Review of 20 Years’ Air Pollution Control in Beijing) (Report Landing Page) (UNEP Press Release)

21 ก.ย. 2563   398  
ข้อเสนอแนะ
ติดตามเรา