กุญแจเมืองหรือกุญแจสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
(The Key to the City of Bangkok)
การมอบ “กุญแจเมือง” หรือ “กุญแจแห่งนคร” ได้เริ่มขึ้นในราวคริสตศตวรรษที่ 16 (พุทธศักราช 2000) ณ ประเทศอังกฤษ ขณะนั้น มุขอำมาตย์ (Lord Chamberlain) มีหน้าที่สำคัญในการต้อนรับแขกเมือง โดยตระเตรียมการรับรองต้อนรับและจัดงานรัฐพิธีต่าง ๆ แด่แขกของพระเจ้ากรุงอังกฤษ มุขอำมาตย์ผู้นี้มีไม้เท้าถือสีขาว กับกุญแจประดับเพชรเป็นเครื่องหมายอันมีเกียรติประจำตำแหน่ง ในระยะนั้น บรรดาทูตานุทูตต่างประเทศที่ไปประจำใน
ราชสำนักอังกฤษจะต้องยื่นสาส์นตราตั้งต่อมุขอำมาตย์เป็นผู้พิจารณาในนามของพระเจ้ากรุงอังกฤษ เมื่อมุขอำมาตย์ยอมรับสาสน์ตราตั้งแล้วก็จะมอบกุญแจอันมีเกียรติให้แก่เอกอัครราชทูตเพื่อแสดงว่ายอมรับความเป็นทูตและต้อนรับให้พำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้ ประเพณีการมอบกุญแจเมืองจึงได้เริ่มขึ้น
ต่อมา ในสมัยกลาง (พุทธศักราช ๒๑๐๐ – ๒๓๐๐) ทุกนครในยุโรปได้ก่อสร้างกำแพงเมือง ที่สูงใหญ่เพื่อป้องกันนคร เช่นเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้สร้างกำแพงเมืองขึ้นเพื่อป้องกัน
พระนคร เมื่อทรงย้ายเมืองหลวงจากฝั่งธนบุรีมายังฝั่งพระนคร กำแพงนี้ทั้งในยุโรป และประเทศไทยมีประตูใหญ่ไว้เพื่อแสดงว่าเป็นทางเข้าสู่ตัวเมืองประตูนี้จะปิดลั่นกุญแจเสมอในยามค่ำคืนหรือระหว่างมีเหตุฉุกเฉิน
การมอบกุญแจเมืองหรือกุญแจประจำนคร จึงกลายเป็นประเพณีมอบให้แก่ผู้มาเยือนซึ่งมีความหมายเสมือนว่ามอบกุญแจให้เพื่อไขประตูเข้าเมืองได้ ตามความจริงนั้นกุญแจที่มอบให้แก่แขกเมืองมิใช่กุญแจจริงที่จะใช้ไขประตูได้แต่เป็นกุญแจสัญลักษณ์แห่งการต้อนรับนครต่างๆ ของชาติที่เจริญแล้วถือปฏิบัติมอบกุญแจให้กันเพื่อแสดงความยกย่อง และให้เกียรติแด่แขกคนสำคัญที่มาเยือนนครนั้น ๆ
กรุงเทพมหานครเป็นนครหลวงของประเทศไทย ในอดีตมีการปกครองระบบเทศบาล ได้แก่เทศบาลนครกรุงเทพ ทำหน้าที่บริหารและปกครองท้องถิ่นมีนายกเทศมนตรีนครกรุงเทพเป็นหัวหน้าผู้บริหาร จึงได้จัดให้มีกุญแจสัญลักษณ์ประจำนครขึ้น ดังนั้นนายกเทศมนตรีจึงเป็นผู้มอบกุญแจนี้แก่ผู้มีเกียรติที่มาเยือนพระนครพิธีการทูลเกล้าฯถวาย หรือมอบกุญแจเมือง แด่พระราชอาคันตุกะ เริ่มมีเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2504 เมื่อคราวฯพณฯ ซูการ์โน (Sukarno)ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ระหว่างวันที่16-20 เมษายน พ.ศ.2504 พิธีมอบกุญแจเมือง ในครั้งนั้นได้จัดขึ้นที่สถานีรถไฟจิตรลดา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรอรับพระราชอาคันตุกะอยู่ ณ ที่นั่นด้วย ซึ่งต่อมาเทศบาลนครกรุงเทพได้จัดพิธีต้อนรับและมอบกุญแจเมือง ณ ปะรำพิธีของเทศบาลนครกรุงเทพที่จัดสร้างขึ้นบริเวณเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศใน ทุกคราวเมื่อมีพิธีมอบกุญแจเมืองแด่พระราชอาคันตุกะ ซึ่งเทศบาลกรุงเทพ หรือกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา ก็ได้จัดพิธีรับเสด็จหรือต้อนรับพระราชอาคันตุกะ และทูลเกล้าฯ ถวายหรือมอบกุญแจเมือง ณ ปะรำพิธีที่เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศมาโดยตลอด จนกระทั่งใน พ.ศ. 2533 กรุงเทพมหานครได้จัดสร้างพลับพลาถาวรของกรุงเทพมหานครขึ้น(ในบริเวณเดิมที่ เคยเป็นโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย) และเมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซียเสด็จฯเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ระหว่างวันที่ 17-21ธันวาคม พ.ศ. 2533 กรุงเทพมหานครได้จัดพิธีรับเสด็จในนามประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร และทูลเกล้าฯ ถวายกุญแจเมือง แด่สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย ณ พลับพลาถาวรของกรุงเทพมหานคร ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า พลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ จากนั้น ทุกครั้งที่มีพระราชอาคันตุกะเสด็จฯหรือเดินทางมาเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ กรุงเทพมหานครก็ได้จัดพิธีรับเสด็จหรือต้อนรับ และทูลเกล้าฯถวายหรือมอบกุญแจเมือง ณ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ตลอดมาจนปัจจุบัน โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มอบกุญแจเมืองให้แก่ประมุขของต่างประเทศที่มาเยือนกรุงเทพมหานครอย่างเป็นทางการ (State Visit)
พิธีมอบกุญแจเมืองจัดขึ้น ณ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มอบกุญแจเมืองและกล่าวสุนทรพจน์ต้อนรับและมอบของที่ระลึกเมื่อสิ้นสุดการเยือนซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะต้องแต่งกายในชุดขาวเต็มยศพร้อมกับสวมสร้อยสังวาลย์ประดับ ซึ่งถือว่าเป็นชุดแต่งกายพิเศษประจำตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
กุญแจเมืองที่มอบในพิธีเป็นกุญแจจำลองที่เป็นกะไหล่ทองและเนื่องในวโรกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ในปีพุทธศักราช 2542 กรุงเทพมหานคร จึงได้จัดทำกุญแจจำลองสัญลักษณ์กรุงเทพมหานครทองคำขึ้นเพื่อมอบแด่พระราชอาคันตุกะและอาคันตุกะของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ( State Visit ) และได้มอบกุญแจจำลองสัญลักษณ์กรุงเทพมหานครทองคำในพิธี นับแต่นั้นเป็นต้นมา
1
|
16 เมษายน 2504 |
ฯพณฯ ประธานาธิบดีซูการ์โน แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย |
2
|
6 ธันวาคม 2504 |
ฯพณฯ ประธานาธิบดีอาร์ทูโร ฟรอนดิซิ แห่งสาธารณรัฐอาร์เจนตินา และภริยา |
3
|
12 มกราคม 2505 |
สมเด็จพระเจ้าเฟรดเดอริคที่ 9 และสมเด็จพระราชินีอินกริด แห่งเดนมาร์ค |
4
|
21 พฤศจิกายน 2505 |
ฯพณฯ ประธานาธิบดีเฮนริค ลืบเค่ แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และภริยา |
5
|
14 ธันวาคม 2505 |
พลเอกเนวิน ประธานสภาปฏิวัติแห่งสหภาพพม่า |
6
|
14 กุมภาพันธ์ 2506 |
สมเด็จพระเจ้าปอลที่ 1 และสมเด็จพระราชินีแห่งเฮลลีนส์ |
7
|
22 มีนาคม 2506 |
สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา เจ้ามหาชีวิตแห่งราชอาณาจักรลาว |
8
|
15 ตุลาคม 2506 |
สมเด็จพระราชินีจูเลียนา แห่งเนเธอร์แลนด์ และพระราชสวามี |
9
|
10 กุมภาพันธ์ 2507 |
สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งเบลเยี่ยม |
10
|
24 กุมภาพันธ์ 2507 |
สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย |
11
|
14 ธันวาคม 2507 |
เจ้าชายอากิฮิโต มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่นและเจ้าหญิงมิชิโกะพระชายา |
12
|
15 มกราคม 2508 |
สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งนอร์เวย์ |
13
|
2 กุมภาพันธ์ 2508 |
เจ้าชายเบอร์ทิล แห่งประเทศสวีเดน |
14
|
10 กุมภาพันธ์ 2509 |
ฯพณฯ นายพลปาร์ค ชุง ฮี ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลีและภริยา |
15
|
28 ตุลาคม 2509 |
ฯพณฯ ประธานาธิบดีลินดอน บี จอห์นสัน แห่งสหรัฐอเมริกา |
16
|
17 มกราคม 2510 |
ฯพณฯ ประธานาธิบดีฟรานซ์ โจนาส แห่งสาธารณรัฐออสเตรีย |
17
|
15 มกราคม 2511 |
ฯพณฯ ประธานาธิบดีเฟอร์ดินันด์ อี มาร์คอส แห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ |
18
|
22 มกราคม 2511 |
สมเด็จพระจักรพรรดิโมฮัมหมัด เรซา ชาห์เลวี และสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งอิหร่าน |
19
|
14 พฤษภาคม 2511 |
สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งเอธิโอเปีย |
20
|
28 กรกฎาคม 2512 |
ฯพณฯ ประธานาธิบดีริชาร์ด เอ็ม นิกสัน แห่งสหรัฐอเมริกา และภริยา |
21
|
19 มีนาคม 2513 |
ฯพณฯ พลเอกซูฮาร์โต ประธานธิบดีแห่งสาธารณอินโดนีเซีย และภริยา |
22
|
9 กุมภาพันธ์ 2515 |
สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบ็ธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร บริเตนใหญ่ และไอร์แลนด์เหนือ |
23
|
27 มีนาคม 2515 |
ฯพณฯ ประธานาธิบดีศรี วาราหคิรี เวงกฏ แห่งอินเดียและภริยา |
24
|
1 กุมภาพันธ์ 2516 |
สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย |
25
|
4 มีนาคม 2522 |
ฯพณฯ ประธานาธิบดีและประธานมนตรีแห่งสหภาพพม่า |
26
|
8 เมษายน 2522 |
ฯพณฯ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐบังคลาเทศ |
27
|
3 กรกฎาคม 2524 |
ฯพณฯ ชุน ดู ฮวาน ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี |
28
|
29 กุมภาพันธ์ 2527 |
ฯพณฯ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี |
29
|
12 ธันวาคม 2527 |
สมเด็จพระราชาธิบดี และสมเด็จพระราชินีแห่งเนปาล |
30
|
11 มีนาคม 2528 |
ฯพณฯ หลี เซียน เหนียน ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน |
31
|
17 ธันวาคม 2528 |
สมเด็จพระราชาธิบดี และสมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย |
32
|
21 ตุลาคม 2530 |
ฯพณฯ เวีญ อุล ฮัก ประธานาธิบดีแห่งปากีสถาน |
33
|
18 พฤศจิกายน 2530 |
สมเด็จพระราชาธิบดีฮวน คาลอส และสมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน |
34
|
28 มีนาคม 2531 |
ฯพณฯ ฮุสเซน มูฮัมหมัด เออร์ชาด ประธานาธิบดีแห่งบังคลาเทศ |
35
|
1 พฤศจิกายน 2531 |
สมเด็จพระราชาธิบดี และสมเด็จพระราชินีแห่งบรูไน ดารุสซาลาม |
36
|
17 ธันวาคม 2533 |
สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย |
37
|
10 มิถุนายน 2534 |
ฯพณฯ หยาง ช่าง คุน ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน |
38
|
26 กันยายน 2534 |
สมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่น |
39
|
6 มกราคม 2535 |
ฯพณฯ ไกสอน พมวิหาน ประธานประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว |
40
|
15 กุมภาพันธ์ 2536 |
ฯพณฯ อาพัด กั๊นส์ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฮังการี |
41
|
11 กุมภาพันธ์ 2537 |
ฯพณฯ วาชลาฟ ฮาเวล ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเชค |
42
|
14 กุมภาพันธ์ 2538 |
ฯพณฯ หนูฮัก พูมสะหวัน ประธานประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว |
43
|
28 ตุลาคม 2539 |
สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบ็ธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร บริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ |
44
|
24 พฤศจิกายน 2539 |
ฯพณฯ วิลเลี่ยม เจฟเฟอร์สัน คลินตัน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา |
45
|
10 ตุลาคม 2541 |
ฯพณฯ เจิ่น ดึ๊ก เลือง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม |
46
|
2 กันยายน 2542 |
ฯพณฯ เจียง เจ๋อ หมิน ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน |
47
|
7 กุมภาพันธ์ 2544 |
สมเด็จพระราชินีนาถมาเกรเธอร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก |
48
|
26 สิงหาคม 2545 |
สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮาจี ฮัซซานัล โบลเกียห์ มูอิซซาดิน วัดเดาลาห์ แห่งบรูไนดารุสซาลาม |
49
|
25 กุมภาพันธ์ 2546 |
สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ แห่งสวีเดน และสมเด็จพระราชินีซิลเวีย |
50
|
19 มกราคม 2547 |
สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ |
51
|
17 มกราคม 2548 |
นายเอส อาร์ นาธานประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ |
52
|
17 กุมภาพันธ์ 2549 |
นายฌาคส์ ชีรัค ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส |
53
|
21 กุมภาพันธ์ 2549 |
สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งสเปน |
54 |
9 มีนาคม 2552 |
สมเด็จพระราชาธิบดี อัลวาทิก บิลลาห์ ตวนกู มิซาน ไซนัล อาบีดีน อิบนี อัลมาร์ฮูม สุลต่านมะห์มูด อัลมุกตาฟี บิลลาห์ ชาห์ สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 13 แห่งมาเลเซีย และสมเด็จพระราชินี ประไหมสุหรีอากง ตวนกู นูร์ ซาฮีราห์ |
55
|
12 พฤษภาคม 2552 |
ฯพณฯ จูมมาลี ไซยะสอน ประธานประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว |
56
|
2 กันยายน 2556 |
สมเด็จพระราชาธิบดี อัลมูตัสสิมู บิลลาฮี มูฮิบบุดดิน ตวนกู อัลฮัจญ์ อับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์ อิบนี อัลมาฮูม สุลต่าน บาดลิชาห์และสมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซียพระองค์ที่ 14 และสมเด็จพระราชินี ประไหมสุหรี อากง ตวนกู ฮัจญะห์ ฮามินะห์ |
ลักษณะของกุญแจเมือง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีรายละเอียด ดังนี้ ตัวกุญแจเป็น
ทองคำแท้ มีความยาว 6 นิ้ว น้ำหนักทองประมาณ 90 กรัม ส่วนบนของกุญแจเป็นตรากรุงเทพมหานคร คือ เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ รูปดุนนูน มีลวดลายไทยล้อมรอบ ส่วนล่างของกุญแจแกะสลักแบบดุนนูน ด้านหนึ่งสลักคำว่า City of Bangkok และอีกด้านหนึ่ง สลักเป็นคำว่า Bangkok Thailand บรรจุอยู่ในกล่องกำมะหยี่สีเขียวซึ่งเป็นสีสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
กุญแจจำลองสัญลักษณ์กรุงเทพมหานคร
การมอบ “กุญแจเมือง” ได้เริ่มขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 (พุทธศักราช 2000) ณ ประเทศอังกฤษ ขณะนั้น มุขอำมาตย์ (Lord Chamberlain) มีหน้าที่สำคัญในการต้อนรับแขกเมืองโดยตระเตรียมการรับรองต้อนรับและจัดงานรัฐพิธีต่างๆ แด่แขกของพระเจ้ากรุงอังกฤษ มุขอำมาตย์ผู้นี้มีไม้เท้าถือสีขาวกับกุญแจประดับเพชรเป็นเครื่องหมายอันมีเกียรติประจำตำแหน่ง ในระยะนั้น บรรดาทูตานุทูตต่างประเทศที่ไปประจำในราชสำนักลอนดอนจะต้องยื่นสาสน์ตราตั้งต่อมุขอำมาตย์เป็นผู้พิจารณาในนามของพระเจ้ากรุงอังกฤษ เมื่อมุขอำมาตย์ยอมรับสาสน์ตราตั้งแล้วก็มอบกุญแจอันมีเกียรติให้แก่เอกอัครราชทูตเพื่อแสดงว่า ยอมรับการเป็นทูตและต้อนรับให้พำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้ ประเพณีการมอบกุญแจเมืองจึงได้เริ่มขึ้น การมอบกุญแจเมืองจึงกลายเป็นประเพณีมอบให้แก้ผู้มาเยือนซึ่งมีความหมายเสมือนว่ามอบกุญแจให้เพื่อไขประตูได้แต่ เป็นสัญลักษณ์แห่งการต้อนรับนครต่างๆ ที่เจริญแล้วถือปฏิบัติมอบกุญแจให้กั้นเพื่อแสดงความยกย่องและให้เกียรติแก่แขกคนสำคัญที่มาเยือนนครนั้นๆ
กรุงเทพมหานครเป็นนครหลวงของประเทศไทย ในอดีตมีการปกครองระบบเทศบาลได้แก่ เทศบาลนครกรุงเทพ มีนายกเทศมนตรีนครกรุงเทพเป็นหัวหน้าผู้บริหารและเป็นผู้มอบกุญแจนี้แก่แขกมีเกียรติที่มาเยือน พระนครแต่ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นโดยมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงเป็นผู้มอบกุญแจเมืองให้แก่ประมุขของต่างประเทศที่มาเยือน
กรุงเทพมหานครอย่างเป็นทางการ (state Visit) พิธีมอบกุญแจเมืองจัดขึ้น ณ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มอบกุญแจเมืองแล้วกล่าวสุนทรพจน์ต้อนรับพร้อมทั้งมอบของที่ระลึก เมื่อสิ้นสุดการเยือน ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะต้องแต่งกายในเครื่องแบบปกติขาวเต็มยศพร้อมกับสวมสร้อยสังวาลประดับซึ่งถือว่าเป็นชุดแต่งกายพิเศษประจำตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เนื่องใน
วโรการมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบของพระบาทของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ กรุงเทพมหานครได้จัดทำกุญแจจำลองสัญลักษณ์กรุงเทพมหานครเป็นทองคำแท้เพื่อมอบให้แก่พระราชอาคันตุกะและอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถที่จะเดินทางมาเยือนประเทศไทยตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช 2000 (พุทธศักราช 2543) เป็นต้นไป
เรียบเรียงโดย กองการต่างประเทศ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร