นวัตกรรมทางการแพทย์จากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้กู้ชีพผู้ป่วยโรคโควิด 19

นวัตกรรมทางการแพทย์จากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้กู้ชีพผู้ป่วยโรคโควิด 19

ในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์แอฟริกาใต้ดิ้นรนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิดระลอก 2 ได้มีความหวังเกิดขึ้นมาเล็กน้อยจากเครื่องช่วยหายใจที่ได้รับการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว เครื่องช่วยหายใจดังกล่าวเป็นอุปกรณ์ที่มีความเรียบง่าย มีประสิทธิภาพ พกพาได้ และราคาย่อมเยา

ในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์แอฟริกาใต้ดิ้นรนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิดระลอก 2 ได้มีความหวังเกิดขึ้นมาเล็กน้อยจากเครื่องช่วยหายใจที่ได้รับการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว
เครื่องช่วยหายใจดังกล่าวเป็นอุปกรณ์ที่มีความเรียบง่าย มีประสิทธิภาพ พกพาได้ และราคาย่อมเยา อีกทั้งสามารถจ่ายออกซิเจนในปริมาณมากให้แก่ผู้ป่วยโรคโควิด 19 อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนสามารถป้องกันภาวะปอดล้มเหลวได้อีกด้วย

          นวัตกรรมที่น่าภาคภูมิใจของแอฟริกาใต้ที่เรียกว่า ออกซิรา (OxERA (Oxygen-Efficient Respiratory Aid)) ชิ้นนี้อาจจะเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในพื้นที่ที่มีผู้ป่วยโรคโควิด 19 จำนวนมาก แต่ยังขาดแคลนบุคคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ห้องดูแลผู้ป่วยหนัก (ICU) และอุปกรณ์ทางการแพทย์ชั้นสูง
และเครื่องมือที่ผลิตออกซิเจนไม่เพียงพอ ออกซิราสามารถผสานช่องว่างระหว่างการบำบัดด้วยออกซิเจน
ผ่านหน้ากากครอบหน้า กับเครื่องช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อที่ใช้ในห้องดูแลผู้ป่วยหนัก หรือเครื่องช่วยหายใจ
โดยไม่จำเป็นต้องมีการไหลเวียนของออกซิเจนในปริมาณที่มากกว่าการให้ออกซิเจนผู้ป่วยผ่านทางหน้ากากครอบ แบบมาตรฐาน

          อุปกรณ์ดังกล่าวได้รับการพัฒนาโดยกลุ่มอาสาสมัครในลอนดอนตะวันออก ประกอบด้วยแพทย์ วิศวกร และผู้ประกอบการ ขณะนี้องค์การควบคุมผลิตภัณฑ์สุขภาพของแอฟริกาใต้ (The South African Health Products Regulatory Authority: SAHPRA) ได้รับรองว่าออกซิราสามารถใช้กับผู้ป่วยฉุกเฉินโรค
โควิด 19 ได้ และอนุญาตให้บริษัทเกเบลอร์ เมดิคอล (Gabler Medical) เป็นผู้ผลิตและแจกจ่าย

          ดร. เครก ปาร์กเกอร์ (Dr Craig Parker) วิสัญญีแพทย์ผู้มีพื้นฐานด้านวิศวกรรมเครื่องกลกล่าวว่า คณะทำงานได้ตัดสินใจที่จะหาแนวทางแก้ไขปัญหาเมื่อพวกเขาได้ตระหนักว่าสาธารณรัฐแอฟริกาใต้จะต้องเผชิญกับปัญหาผู้ป่วยล้นมือเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในทวีปยุโรปในช่วงของการระบาดของโรคโควิด 19 อย่างไรก็ตาม พวกเขามีศักยภาพในการรักษาพยาบาลระดับสูงที่จำกัด และทรัพยากรสำหรับการรักษาฯ มีปริมาณลดลง

          พวกเขาได้จัดตั้งกิจการเพื่อสังคม (กิจการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมโดยเฉพาะ) ขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2563 โดยตั้งชื่อว่าบริษัทยูโมยา (Umoya) (แปลว่า “อากาศ” ในภาษาคอซา) พวกเขาสร้างบันดาลใจจากแหล่งที่มาที่หลากหลาย ได้แก่ อุปกรณ์ดำน้ำแบบสกูบา และเครื่องพิมพ์แบบสามมิติ พวกเขาได้ผลิตอุปกรณ์ต้นแบบภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ และสร้างอุปกรณ์แบบสุดท้ายด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติภายในระยะเวลา 7 สัปดาห์ 

 

- 2 -การใช้ออกซิเจนอย่างมีประสิทธิภาพ
          ดร. ปาร์คเกอร์กล่าวว่า ผู้ป่วยปอดอักเสบจากการติดเชื้อโรคโควิด 19 ต้องการออกซิเจนอย่างมากเป็นพิเศษ ส่วนประกอบที่สำคัญของออกซิรา ได้แก่ หน้ากากดมยาสลบ และวาล์วเชิงกลที่สามารถปรับระดับได้
หรือวาล์วแรงดันบวกที่ค้างอยู่ในปอดในระยะสิ้นสุดการหายใจออก (Positive End Respiratory Pressure: PEEP) ออกซิเจนจะถูกจ่ายผ่านท่อและถุงสะสมแรงดัน โดยต่อท่อเข้ากับแหล่งออกซิเจนที่สามารถหาได้
ตัวกรองไวรัสจะกำจัดอนุภาคของไวรัสในอากาศที่หายใจออกมาทำให้ปลอดภัยต่อสุขภาพของบุคลากร
ทางการแพทย์ที่นำเครื่องมือนี้ไปใช้งาน  

          ปาร์คเกอร์กล่าวว่า “ระดับออกซิเจนที่สูงซึ่งถูกส่งออกมาจากอุปกรณ์ดังกล่าวช่วยให้มั่นใจได้ว่าปอดที่ติดเชื้อจะได้รับออกซิเจนในปริมาณมากที่สุดอย่างต่อเนื่อง วาล์วของอุปกรณ์ดังกล่าวช่วยรักษาแรงดันไว้เล็กน้อย เพื่อป้องกันภาวะปอดล้มเหลวเมื่อผู้ป่วยหายใจออก อีกทั้งสามารถเบาแรงผู้ป่วยในการหายใจได้

          “นอกจากนี้ เนื่องจากสามารถปรับปริมาณออกซิเจนให้เข้ากับความต้องการของผู้ป่วยได้ โดยปกติแล้ว
จึงจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในปริมาณที่น้อยลง อุปกรณ์นี้จึงสามารถสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดของเราได้ มันสามารถใช้ได้กับเครื่องมือที่ธรรมดาที่สุด ได้แก่ ออกซิเจนบรรจุขวด หรือเครื่องผลิตออกซิเจนขนาดเล็ก ทำให้สามารถให้การรักษาที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมได้”

การทดสอบภาคสนาม

          อุปกรณ์ดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้อย่างประสบความสำเร็จในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ตั้งแต่คลินิกชนบท ไปจนถึงโรงพยาบาลเฉพาะทาง และถูกใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับ นายเทรเวอร์ รอสซูว์ (Trevor Rossouw) ผู้จัดการโครงการยูโมยา เป็นวิศวกรโยธาผู้ที่มีประสบการณ์การบริหารธุรกิจและโครงการ ได้กล่าวว่า ออกซิราจำนวนหลายร้อยเครื่องได้ถูกแจกจ่ายไปยังโรงพยาบาล 25 แห่ง ตั้งแต่เมืองเคปทาวน์ ไปจนถึงกรุงพริทอเรีย รวมถึงโรงพยาบาลสนามโรคโควิด 19 โฟล์คสวาเกน โรงพยาบาลเฟรียร์ โรงพยาบาลเซซิเลีย มากิเวน
และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งในประเทศ

          โรงพยาบาลในชนบทหลายแห่ง เช่น ซิธูลิลิ (Zithulele) บนชายฝั่งไวด์โคสต์ (Whild Coast) และมาดวาลินี (Madwaleni) ที่ตั้งอยู่ใกล้กับอิเลียตเดล (Elliotdale) ต่างได้รับประโยชน์จากอุปกรณ์ดังกล่าว แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปได้นำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่บ้านและคลินิค นอกจากนี้ ยังมีการแจกจ่ายอุปกรณ์นี้ไปยังสาธารณรัฐซิมบับเว สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และสาธารณรัฐแอฟริกากลางอีกด้วย

บุคลากรทางการแพทย์ที่ได้เห็นและทดสอบอุปกรณ์นี้ต่างประทับใจในการใช้งานที่ง่าย ประสิทธิภาพของออกซิเจน และประสิทธิผลทางการแพทย์

          - ดร. ไมเคิล เว็บบ์ (Dr Michael Webb) แพทย์ประจำตัวในลอนดอนตะวันออกได้รักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19 ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการระบาด เขาได้ซื้อหน้ากากไป 10 ชิ้น เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม และภายในวันที่ 1 มกราคม เข้าได้นำหน้ากากเหล่านั้นไปรักษาผู้ป่วยจำนวนมาก “โดยส่วนตัวแล้ว ผมรู้สึกขอบคุณมากที่มีโอกาสได้เข้าถึงหน้ากากเหล่านี้ และสามารถรับรองคุณภาพการใช้งานของพวกมันวได้ในช่วงเวลาที่ไม่คาดคิดนี้”

          - ดร. แคโรลีน เมสัน (Dr Carolyn Mason) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์ของภาครัฐในลอนดอนตะวันออก ได้นำอุปกรณ์กว่า 40 ชิ้น ไปใช้เป็นการส่วนตัว โดยส่วนใหญ่จะเลือกผู้ป่วยที่มีช่วงอายุระหว่าง 40-70 ปี ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาจากห้องดูแลผู้ป่วยหนักเนื่องจากเกิดภาวะโรคร่วม “ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด ของพวกเขาทั้งหมดน่าวิตก และน่าสะพรึงมาก ในบางรายเหลือเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ในฐานะของผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพมันน่าทึ่งมากที่ได้เห็นว่า ความเข้มข้นในเลือดของพวกเขา

 

ปรับตัวดีขึ้นไปจนถึงร้อยละ 90 และในที่สุดสามารถออกจากโรงพยาบาล และกลับบ้านได้ ซึ่งถือเป็นพรอันวิเศษเนื่องจากพวกเขาอาจจะไม่รอดชีวิตด้วยซ้ำ”

          - ดร. วาเรน เกรกกอรอสกี (Dr Warren Gregorowski) ซึ่งทำงานด้านอายุรศาสตร์ที่โรงพยาบาล
เฟรียร์ ในลอนดอนตะวันออกกล่าวว่า “อุปกรณ์นี้ประกอบง่ายมาก และใช้งานง่าย ฉันได้เห็นอุปกรณ์นี้ช่วยชีวิตคน และคิดว่าสามารถนำมาใช้ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในโรงพยาบาลทั่วสาธารณรัฐแอฟริกาใต้”

          อุปกรณ์ดังกล่าวได้รับการรับรองจากองค์การควบคุมผลิตภัณฑ์สุขภาพของแอฟริกาใต้ให้สามารถนำไปใช้ในเวลาฉุกเฉินของโรคโควิด 19 ได้ คาดว่าอุปกรณ์ดังกล่าวน่าจะได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอีกเมื่อมีการจัดการทดลองทางคลินิกขึ้นที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย คริส ฮานิ บาราวาเนธ (Chris Hani Baragwaneth Academic Hospital) ซึ่งให้บริการเฉพาะทางแก่ผู้ป่วยที่ได้รับการส่งตัวไปรักษาที่นั่น

การผลิตและการแจกจ่าย

          ห้างหุ้นส่วนที่ก่อตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของบริษัทยูโมยา และบริษัทเกเบลอร์ เมดิคอล ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเครื่องมือแพทย์เฉพาะทางที่ก่อตั้งในเมืองเคปทาวน์ เมื่อ 50 ปีก่อน โดยนายอัลเฟรด โจเซฟ เกเบลอร์ (Alfred Josef Gabler) ผู้ผลิตเครื่องมือชาวเยอรมัน บริษัทเกเบลอร์ เมดิคอล ที่ได้รับมาตรฐาน ISO13485 และมีความเชี่ยวชาญในการผลิตเครื่องบำบัดด้วยออกซิเจน จะได้รับอนุญาตให้ผลิต แจกจ่าย และลงทุนในการสนับสนุนอุปกรณ์ดังกล่าว

          เรนเนอร์ เกเบลอร์ (Reiner Gabler) แพทย์จากบริษัทเกเบลอร์ เมดิคอล ได้กล่าวว่า การพัฒนาอุตสาหกรรม และการออกใบอนุญาตเป็นกระบวนการที่ยาวนาน อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้บริษัทได้ใบรับรองจากองค์การควบคุมผลิตภัณฑ์สุขภาพของแอฟริกาใต้ให้มุ่งเน้นในการผลิตอุปกรณ์ดังกล่าวในปริมาณที่มากขึ้น    

          “เราสามารถผลิตอุปกรณ์ได้มากกว่า 15,000 ชิ้น ต่อสัปดาห์ ดังนั้น ศักยภาพในการผลิตจึงไม่ใช่ปัญหาของเรา อุปกรณ์นี้จะสามารถสร้างงานในช่วงของการระบาดใหญ่ได้อย่างแน่นอน และหากผลิตภัณฑ์ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในช่วงหลังจากการระบาดใหญ่ ทั้งนี้ อุปกรณ์ดังกล่าวมีศักยภาพในการส่งออกอีกด้วย”

ข้อมูลเพิ่มเติม
          หากมีความประสงค์จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอุปกรณ์ของบริษัทยูโมยา คณะทำงาน ช่วงเวลาของนวัตกรรม สามารถเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริษัทยูโมยา|นวัตกรรมในอากาศ ได้ที่: https://umoya.org.za

          สามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับออกซิราผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ที่: info@gablermedical.com

 

https://iafrica.com/sa-medical-innovation-to-aid-covid-19-patients

4 ก.พ. 2564   1219  
ข้อเสนอแนะ
ติดตามเรา