Best Practice - จังหวัดฟูกูโอกะ แผนงานด้านสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐานของเมืองคิตะคิวชู

Best Practice - จังหวัดฟูกูโอกะ แผนงานด้านสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐานของเมืองคิตะคิวชู

ข้อมูลการปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) ของจังหวัดฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น

 

“แผนงานด้านสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐานของเมืองคิตะคิวชู (The Kitakyushu City Basic Environment Plan)” หัวข้อย่อย “แผนงานเพื่อการตระหนักถึงทุนธรรมชาติและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Environmental Capital & SDGs Realization Plan)”

       
     

 

คุณยังจำโครงการสุดยอดการออกแบบเมืองหลวงแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (The Grand Design for a World Capital of Sustainable Development) ได้หรือไม่

ในปี พ.ศ. 2547 ประชาชน บริษัทเอกชนและรัฐบาลในเมืองคิตะคิวชูได้รวมตัวกันเพื่อจัดทำโครงการสุดยอด

การออกแบบเมืองหลวงแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (The Grand Design for a World Capital of Sustainable Development) ซึ่งมันเป็นคำมั่นสัญญาที่เมืองคิตะคิวชูได้มอบให้แก่ประชากรโลกและคนรุ่นต่อไปว่าทั้งประชาชน บริษัทเอกชน และรัฐบาลจะร่วมมือกันสร้างเมืองที่เต็มไปด้วย “ความมั่งคั่งและความเจริญรุ่งเรืองที่แท้จริง”

ทั้งนี้เราจึงได้บัญญัติ “หลักการปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมของชาวเมืองคิตะคิวชู 10 ประการ” ขึ้นมาเพื่อตระหนักถึงโครงการดังกล่าว โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมความสำคัญของวัสดุต่าง ๆ ธรรมชาติ การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และการสร้างเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

ทำไมจะต้องมีแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐาน ทำไมตอนนี้จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง

แผนงานด้านสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐานเป็นคำมั่นสัญญาของเมืองคิตะคิวชูในการดำเนินโครงการสุดยอดการออกแบบเมืองหลวงแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก

เมื่อ พ.ศ. 2558 ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ร่วมกันในความตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งมีพื้นฐานมาจากความจำเป็นในการดำเนินมาตรการที่เป็นรูปธรรมเพื่อจัดการกับภาวะโลกร้อน

เมื่อ พ.ศ. 2558 ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกให้สัญญาจะบรรลุ SDG (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน)

ในครั้งแรกหากมองอย่างผิวเผินอาจดูเหมือนว่าการจะบรรลุ SDG ได้นั้นเป็นเรื่องที่ยาก การจะบรรลุ SDG จะต้องได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ เอกชน และผู้คนจากทั่วโลกในการช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนในด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา สวัสดิการ การเติบโตทางเศรษฐกิจ และสันติภาพ

เมืองคิตะคิวชูได้ทำงานเพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับคนรุ่นหลังด้วยการดำเนินโครงการสุดยอดการออกแบบเมืองหลวงแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกมานานแล้ว ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเมืองนี้ได้ดำเนินการเพื่อบรรลุ SDG มานานกว่าทศวรรษแล้ว

เราจำเป็นต้องตระหนักถึงโครงการสุดยอดการออกแบบ และหลักการปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมของชาวเมืองคิตะคิวชู 10 ประการ เพื่อให้สามารถเผยแพร่โครงการนี้ออกไปได้ทั่วโลก

ด้วยเหตุนี้เองเราจึงได้ตัดสินใจเปลี่ยนแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐาน

อะไรคือการเชื่อมต่อกับวิถีชีวิตของเรา

แผนงานด้านสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐานดูเหมือนจะมีขึ้นมาเพื่อรัฐบาล และไม่มีความเกี่ยวข้องกับประชาชนทั่วไป แต่มันกลับส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้คนในหลาย ๆ ด้าน

ตัวอย่างเช่น การทำงานเพื่อสร้างพลังงานและผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ทุกวันให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
การจัดการขยะในชีวิตประจำวัน การรีไซเคิล การเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) มลพิษทางเสียงและเสียงรบกวน และการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างเต็มที่ และการสร้างงานในอุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อม

แม้ว่าการปรับปรุงนโยบายสวัสดิการและการป้องกันภัยพิบัติ และการสร้างเมืองขนาดกะทัดรัดนั้นดูเหมือนจะห่างไกลกับเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่เราก็จะใช้หลักเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมในการจัดการกับความท้าทายเหล่านี้

เมืองคิตะคิวชูจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรภายใต้แผนใหม่

แผนใหม่นี้มีภารกิจต่าง ๆ เช่น “การสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่ชาวเมืองทุกคน และทำให้ชื่อของเมือง “คิตะคิวชู” เป็นที่รู้จักในนามของ “สิ่งแวดล้อม” ทั้งในประเทศและต่างประเทศ” “มุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมที่ปลอดการปล่อยก๊าซพิษ” “มุ่งมั่นในการสร้างสังคมที่ให้คุณค่ากับสิ่งมีชีวิตและวัสดุ” และ “บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) โดยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จากมุมมองด้านสิ่งแวดล้อม”

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้ เรามุ่งเน้นจะเป็นผู้นำในการใช้พลังงานทดแทน และเป็นเมืองที่มีอัตราส่วนการ
รีไซเคิลขยะของเมืองสูงเป็นอันดับต้น ๆ เมื่อเทียบกับเมืองสำคัญอื่น ๆ ของญี่ปุ่น เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ การศึกษาแบบกลุ่มเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมกับปัญหาอื่น ๆ ทำให้พลังงานจากลม และแหล่งพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ รวมถึงพลังงานไฮโดรเจนกลายเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวกับคนทั่วไปมากขึ้น ส่งเสริมการรีไซเคิลโดยไม่ทิ้งสิ่งของที่ยังสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบรรลุ SDG และสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น เพิ่มเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมและธุรกิจสตาร์ทอัพด้านสิ่งแวดล้อม

เราสามารถทำอะไรได้บ้าง

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันไม่ได้เกิดจากจากมลพิษจากโรงงานซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุหลักของปัญหาในอดีต
อีกต่อไป แต่เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และขยะในชีวิตประจำวันของเรา

เมื่อ 13 ปีที่แล้วได้มีการบัญญัติหลักการปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมของชาวเมืองคิตะคิวชู 10 ประการ
และนับจากนั้นพวกเราทุกคนในเมืองคิตะคิวชูได้ใช้ชีวิต เรียนรู้ ทำงาน และลงมือทำตามหลักการดังกล่าว

ลองมาพิจารณาหลักการเหล่านี้อีกครั้ง เรากำลังซื้อผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่
เราใช้รถไฟแทนรถยนต์หรือไม่ เราแน่ใจหรือไม่ว่าไม่ได้ซื้อของมากจนเกินไปเพื่อเป็นการลดปริมาณขยะ
เรากำลังดูแลและเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ เรามีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นหรือไม่ เรากำลังเรียกร้องให้ภาครัฐและเอกชนต้องทำอะไรมากกว่านี้หรือไม่

การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมุ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมในระดับรากหญ้าและการสร้างตราสินค้าด้านสิ่งแวดล้อมของเมืองคิตะคิวชู

           

การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมุ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมในระดับรากหญ้าและการสร้างตราสินค้าด้านสิ่งแวดล้อมของเมืองคิตะคิวชู

เราได้ส่งเสริมการเคลื่อนไหวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในกลุ่มของประชาชน เอกชน และชุมชนไปพร้อม ๆ
กับการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม เราตั้งเป้าหมายที่จะสร้างแบรนด์ที่จะทำให้ “คิตะคิวชูหมายถึงสิ่งแวดล้อม” เพื่อให้ประชาชนภาคภูมิใจในเมืองของพวกเขา เป็นเมืองที่ได้รับความสนใจจากผู้คนทั้งใน
และต่างประเทศ

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้เราจะให้การสนับสนุนประชาชนและเอกชนในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของพวกเขา สนับสนุนกิจกรรมของชุมชน และองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร เพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาเพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม สร้างแนวการสื่อสารที่ดีกับประชาชนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ และสนับสนุนความพยายามในการส่งเสริมแนวทางด้านสิ่งแวดล้อมของเมืองคิตะคิวชูทั้งในประเทศและต่างประเทศ

   

กิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาด

เวทีวิถีชีวิตอีโค

   

“เททันพอยน์” สัญลักษณ์ในการส่งเสริมกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของชาวเมืองคิตะคิวชู

การทดสอบ World Environment Capital Examination

มาตรการพื้นฐานที่ 1 วงจรที่เป็นประโยชน์ของกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและการฟื้นฟูชุมชน

  • ส่งเสริมการรับรู้และสนับสนุนมาตรการที่กระตุ้นให้ประชาชนและเอกชนทบทวนรูปแบบการดำเนินชีวิตและรูปแบบการดำเนินธุรกิจ
  • ส่งเสริมกิจกรรมชุมชน และกิจกรรมองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร (NPO) เช่น การสนับสนุนการรีไซเคิลขยะในท้องถิ่น และกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาด
  • ส่งเสริมกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเอกชนทุกภาคส่วนในห่วงโซ่อุปทานผ่านเครือข่ายและความร่วมมือต่าง ๆ

มาตรการพื้นฐานที่ 2 การส่งเสริมผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมผ่าน ESD

  • ส่งเสริมการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Education for Sustainable Development: ESD) และการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับประชาชนรวมถึงเด็กก่อนวัยเรียนและผู้เกษียณอายุ
  • ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมทางรากหญ้าที่มุ่งเน้นด้านสิ่งแวดล้อมผ่านความร่วมมือข้ามองค์กรระหว่างเยาวชนผ่านสถานีการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนคิตะคิวชูมานาบิโตะ (The Kitakyushu Manabito ESD Station) และชมรมโคโดโมะอีโค (Kodomo Eco Club)
  • ส่งเสริมรากฐานในการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมโดยส่งเสริมการสร้างเครือข่ายในเมืองระหว่างมหาวิทยาลัย สถาบันการวิจัย ฯลฯ

มาตรการพื้นฐานที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมผ่านการสนทนาโต้ตอบ
และความร่วมมือจากประชาชน

  • ส่งเสริมการเจรจาเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม
  • ให้ข้อมูลที่เหมาะสมด้านสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม *ความรู้ หมายถึง ความสามารถในการค้นหาและใช้ข้อมูลที่จำเป็นจากวัสดุที่มีให้
  • ส่งเสริมให้เอกชนได้บริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมด้วยความสมัครใจโดยมีการใช้เครื่องมือในการสร้างแรงบันดาลใจต่าง ๆ ได้แก่ การทำตามข้อตกลง การให้รางวัลตอบแทน และการออกใบรับรองให้แก่เอกชนเหล่านั้น

มาตรการพื้นฐานที่ 4 การสร้างแบรนด์ด้านสิ่งแวดล้อมของเมืองคิตะคิวชูผ่านการประสานงานระหว่างประเทศ

  • เสริมสร้างความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศเชิงกลยุทธ์ และแบรนด์ด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศผ่านความร่วมมือกับสถาบันทั้งในและต่างประเทศ
  • สร้างเครือข่ายระหว่างประเทศโดยการสนับสนุนบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมในต่างประเทศ
  • ความพยายามของเมืองคิตะคิวชูในการเป็นที่สนใจในการประชุมระหว่างประเทศ และกิจกรรมภายในประเทศด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
  • ส่งเสริมเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษาและเอกชน และใช้ความแข็งแกร่งของเมืองด้านเทคโนโลยี
    และนโยบายเพื่อสร้างแบรนด์ “เมืองหลวงด้านเทคโนโลยีของเอเชีย (Technology Capital of Asia)”

ความตระหนักถึงสังคมคาร์บอนต่ำภายในปี พ.ศ. 2593 และสังคมหลังคาร์บอน

            

             

เรามุ่งเน้นที่จะทบทวนปัญหาจากทุกแง่มุมในสังคมเพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน ได้แก่ การใช้พลังงานของประชาชน และเอกชนต่าง ๆ การขนส่งและการวางผังเมือง การสร้างสังคมที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และก๊าซเรือนกระจกต่าง ๆ ในปริมาณน้อยที่สุด เพื่อตระหนักถึง “สังคมคาร์บอนต่ำ (Ultra-Low Carbon Emission Society)” และ “สังคมหลังคาร์บอน (Post-carbon Society)”

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ เราจะส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าทั้งที่บ้านและที่ทำงาน การออกแบบชุมชนขนาดกะทัดรัด การใช้ระบบขนส่งสาธารณะ นอกจากนี้เรายังจะส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาและการสร้างระบบที่เกิดจากความพยายามในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางธุรกิจ เศรษฐกิจ และสังคมเพื่อให้สามารถเข้าถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กับการดำเนินงานตามขั้นตอนในการใช้แหล่งพลังงานใหม่ ได้แก่ พลังงานลมจากทะเล และพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงพลังงานไฮโดรเจน อีกทั้ง ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย

   

เขตปลอดคาร์บอนโจโนะ

การติดตั้งพลังงานหมุนเวียน

   

การนำพลังงานไฮโดรเจนมาใช้

บริษัทเอกชนด้านพลังงานในท้องถิ่น

มาตรการพื้นฐานที่ 1 การเปลี่ยนไปสู่สังคมที่มีฐานหุ้นที่รองรับสังคมคาร์บอนต่ำ

  • ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ได้แก่ อุตสาหกรรมและการวางผังเมืองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ต่ำ
  • พัฒนาภูมิภาคและเมืองที่มีคุณภาพสูง และนับจำนวนรวมของอาคารบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้าง ได้แก่
    โรงผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ สถานที่ที่มีการใช้พลังงานประสิทธิภาพสูง และที่อยู่อาศัยที่ใช้พลังงานสุทธิเท่ากับศูนย์
  • ส่งเสริมการบำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทุนทางธรรมชาติ นโยบายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองและศูนย์กลางภูมิภาคการจัดการป่าไม้ที่เหมาะสม มาตรการในการดูแลป่าไผ่รกร้าง และการรักษาทิวทัศน์ทางธรรมชาติ
  • ส่งเสริมการพัฒนาคาร์บอนต่ำโดยการจัดการสินค้าคลัง เช่น การเพิ่มอายุการใช้งานของสะพาน
    และโรงบำบัดน้ำเสีย และการก่อสร้างและการรื้อถอนสาธารณูปโภคที่ชำรุดทรุดโทรม

มาตรการพื้นฐานที่ 2 นวัตกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เทคโนโลยี วิถีชีวิต และการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อตระหนักถึงสังคมคาร์บอนต่ำ

  • ส่งเสริมวิถีชีวิตและธุรกิจคาร์บอนต่ำโดยการปฏิบัติตามข้อกำหนดและแนวทางด้านเศรษฐกิจ
  • ศึกษาความเป็นไปได้ของนโยบายทางการเงิน เช่น การเงินด้านสิ่งแวดล้อม

มาตรการพื้นฐานที่ 3 การสร้างฐานพลังงานอนาคตอย่างครบวงจร

  • ส่งเสริมการพัฒนาเมืองให้เป็นฐานพลังงานในท้องถิ่น
  • ส่งเสริมการใช้พลังงานไฮโดรเจน
  • ส่งเสริมการจัดการพลังงานอัจฉริยะในท้องถิ่น
  • ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม

มาตรการพื้นฐานที่ 4 การตระหนักถึงสังคมคาร์บอนต่ำในภูมิภาคเอเชีย

  • ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อความตระหนักถึงสังคมคาร์บอนต่ำในภูมิภาคเอเชีย โดยผ่านความร่วมมือระหว่างสมาคมความร่วมมือด้านเทคโนโลยีระหว่างประเทศแห่งคิตะคิวชู (Kitakyushu International Techno-cooperative Association: KITA) สถาบันยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมโลก (Institute for Global Environmental Strategies: IGES) และสถาบันและเอกชนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    ในเมืองคิตะคิวชู

การสร้างระบบหมุนเวียนชั้นนำของโลก

       
       

 

  • ทำให้ศูนย์คาร์บอนต่ำแห่งเอเชียในเมืองคิตะคิวชู (The Kitakyushu Asian Low-Carbon Center) มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือเอกชนในการขยาย “ความเคลื่อนไหวคาร์บอนต่ำ” ในต่างประเทศ

การสร้างสังคมที่มีความสมดุลระหว่าง 2 วัฏจักร ได้แก่ วัฏจักรการรีไซเคิลวัสดุ (ทรัพยากร) ที่สมบูรณ์และยั่งยืน (การรวบรวมวัตถุดิบ⇒การผลิต⇒การกระจายสินค้า⇒การบริโภค⇒การกำจัดขยะ⇒การนำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบใหม่อีกครั้ง) และวัฏจักรของธรรมชาติ (ระบบนิเวศ การเกษตร และผลิตภัณฑ์ประมง)

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้เมืองได้ส่งเสริม “3Rs (การลดการใช้ การนำกลับมาใช้ใหม่ และการรีไซเคิล) เพื่อการจัดการขยะ” โดยการใช้ผลิตภัณฑ์รีไซเคิล การสร้างระบบกำจัดขยะที่สามารถใช้ได้แม้ในยามเกิดภัยพิบัติ นอกจากนี้ยังจะส่งเสริมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ 3Rs ควบคุมการบำรุงรักษาสารอันตราย
อย่างเหมาะสม การอนุรักษ์ธรรมชาติอันมีค่าและระบบนิเวศ ใช้มาตรการที่เหมาะสมในการกำจัดสายพันธุ์ต่างถิ่น เช่น มดคันไฟ ฯลฯ การปฏิบัติการเชิงรุก และการระบุสถานะ และสภาพของธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของเมือง

   

เมืองนิเวศคิตะคิวชู

เขตชีวชาติฮิบิคินาดะ

   

หาดเลนโซเนะ

ที่ราบสูงหินปูนฮิราโอได

มาตรการพื้นฐานที่ 1 การส่งเสริมนโยบาย “3R Plus” และกิจกรรมการรีไซเคิลขั้นสูง และการปรับปรุงอัตราส่วนในการรีไซเคิลทรัพยากร

  • ส่งเสริมการลดการใช้ การนำกลับมาใช้ใหม่ และการรีไซเคิลขั้นสูง
  • ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการใช้พลังงานโดยการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร
    ในการจัดการขยะ และส่งเสริมการใช้พลังงานไฟฟ้าจากขยะและการพลังงานใช้ความร้อน
  • ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรรีไซเคิลและพลังงานหมุนเวียนอย่างแข็งขันด้วยกระบวนการที่มั่นคงและปลอดภัย

มาตรการพื้นฐานที่ 2 การพัฒนาสาธารณูปโภคและเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบหมุนเวียนและการสร้างเมืองอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นการรีไซเคิล

  • ส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาคในการปรับปรุงการจัดการขยะและสาธารณูปโภคที่ใช้ในการกำจัดขยะที่มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพและมีระบบหมุนเวียน
  • สร้างอุตสาหกรรมการรีไซเคิลชั้นสูงในเมืองนิเวศ (Eco Industrial Town) สถานที่ที่อุตสาหกรรมอยู่ร่วมกันกับเขตการปกครองตนเอง
  • สร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อมและก่อตั้งศูนย์วิจัยการรีไซเคิลทรัพยากรร่วมกับมหาวิทยาลัย ฯลฯ
  • มุ่งเน้นในการสร้างศูนย์รีไซเคิลทรัพยากรระหว่างประเทศสำหรับขยะไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ในประเทศ กำลังพัฒนาสามารถรีไซเคิลได้ยาก และเศษขยะเบ็ดเตล็ด และทรัพยากรมีค่าอื่น ๆ ที่สามารถรีไซเคิลได้ ที่อาจจะถูกส่งไปยังต่างประเทศ

 

มาตรการพื้นฐานที่ 3 กระบวนการและการจัดการสารเคมีและสารอันตรายที่เหมาะสม

  • จัดให้มีกระบวนการผลิตแผ่นวงจรพิมพ์ที่เหมาะสม
  • จัดให้มีการจัดการปรอทและแร่ใยหินที่เหมาะสม
  • จัดให้มีการจัดการสารเคมี
  • ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อควบคุมสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (ก๊าซฟรีออน)

มาตรการพื้นฐานที่ 4 การรักษาการรีไซเคิลตามธรรมชาติและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

  • การรักษาระบบนิเวศ ถิ่นที่อยู่อาศัยของพืชหรือสัตว์ และชนิดพันธุ์
  • ส่งเสริมการอนุรักษ์ป่า-หมู่บ้าน-แม่น้ำ-ทะเล
  • รวบรวมและบูรณาการข้อมูลสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่กว้างขวางพร้อมทั้งสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมและสร้างเครือข่ายในลักษณะเชิงรุก
  • ใช้ประโยชน์จากแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์โดยการทัศนศึกษาและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

การมองประเด็นอนาคต การพัฒนาเมืองที่มีคุณภาพ และการบูรณาการสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม

   
   

 

เรามุ่งมั่นที่จะสร้างเมืองที่ก่อให้เกิดความตระหนักถึง SDGs และตอบสนองกับปัญหาต่าง ๆ เช่น อัตราการเกิดที่ลดลง และสังคมผู้สูงอายุ การป้องกันและฟื้นฟูภัยพิบัติ เมืองที่ปลอดภัยและเป็นที่อยู่อาศัยที่เอื้อต่อการสร้างอุตสาหกรรมเชิงนวัตกรรมและการเติบโตของอาชีพ

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ เมืองคิตะคิวชูจะสร้างเครือข่ายของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากภาครัฐและเอกชนในการร่วมมือกันในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การควบคุมมลพิษทางอากาศ ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน
(PM 2.5) และการปนเปื้อนทางน้ำ จัดการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการพัฒนา และยับยั้งกิจกรรมที่ส่งผลข้างเคียงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมืองนี้จะสร้างศูนย์ต่าง ๆ ในระดับภูมิภาคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและทนต่อภัยพิบัติ สามารถใช้ประโยชน์จากธนาคารอาหาร และกลับมาใช้กิจกรรมในโครงการสวัสดิการต่าง ๆ อีกครั้ง เปิดโอกาสให้คนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมการทำธุรกิจในต่างประเทศ

 

   

การลงตรวจสอบพื้นที่ในบริเวณโครงการ

การมอบใบรับรองคิตะคิวชูอีโคพรีเมี่ยม

   

“เททันพอยน์” โปรโมท SDGs

จัดการประชุมเอกสารัตถ์เกี่ยวกับ SDGs

มาตรการพื้นฐานที่ 1 การสร้างเมืองพลวัตที่ปลอดภัยและมั่นคง

  • การรักษาสิ่งแวดล้อมทางอากาศ น้ำ และดิน ผ่านการควบคุมและแนะนำด้านกฎหมาย
  • ปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อดำเนินการประเมินผลและใช้มาตรการควบคุมที่เหมาะสมในการป้องกันมลพิษ
  • ดำเนินมาตรการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • ส่งเสริมการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางระบบนิเวศของเมืองรวมถึงการใช้ประโยชน์จากพลังงานแบบกระจายและพึ่งพาตนเอง และการจัดการขยะจากภัยพิบัติ

มาตรการขั้นพื้นฐานที่ 2 ความตระหนักถึงเมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมและสะดวกสบาย

  • อนุรักษ์ภูมิทัศน์ของเมืองโดยการใช้ประโยชน์จากการทำคลังวัสดุ และตระหนักถึงทิวทัศน์อันน่ารื่นรมย์ของเมือง
  • ส่งเสริมเมืองขนาดกะทัดรัด และระบบขนส่งสาธารณะที่สามารถให้ผู้สูงอายุและคนพิการโดยสารได้
  • มุ่งมั่นที่จะสร้างโครงข่ายความคุ้มครองทางสวัสดิการสังคมและการฟื้นฟูชุมชน

มาตรการขั้นพื้นฐานที่ 3 การส่งเสริมการส่งเสริมอุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อมและธุรกิจระหว่างประเทศ

  • ส่งเสริมเขตการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค และการจ้างงานเยาวชน ผู้หญิง และผู้สูงอายุ
    ในอุตสาหกรรมเหล่านั้น
  • ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน
  • มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม สร้างอุตสาหกรรมใหม่ และปรับปรุงความสามารถในการผลิต
    โดยร่วมมือกับมูลนิธิเมืองคิตะคิวชูเพื่อความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (Kitakyushu Foundation for the Advancement of Industry, Science and Technology: FAIS)
    และมหาวิทยาลัยเมืองคิตะคิวชู เป็นต้น
  • ส่งเสริมการขยายตัวของอุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อมต่างประเทศผ่านกลไกเครดิตร่วม และโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศอื่น ๆ

 

มาตรการพื้นฐานที่ 4 การริเริ่มที่มุ่งสู่ความสำเร็จของ SDGs และการกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อม

  • ส่งเสริมการทำเมืองต้นแบบในการปฏิบัติงานเพื่อบรรลุ SDGs
  • ส่งเสริมการกำกับดูแลสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานเพื่อบรรลุ SDGs

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
- SDGs มีที่มาจากหลักการที่ว่า “จะไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง” การแบ่งปันทรัพยากรในโลกอย่างเท่าเทียมให้แก่
  ประชากรที่อาศัยอยู่บนโลกนี้ และยังคงเหลือไว้ให้คนรุ่นหลังอีกด้วย
- ริเริ่มโดยองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2558
- SDGs มีความเป็นสากล เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่สามารถแบ่งออกเป็นส่วนๆ ได้
- เราจะบรรลุ SDGs 17 ข้อ ได้ภายในปี พ.ศ. 2573  

ความเชื่อมโยงระหว่างแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐานกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)

SDGs

แผนงานด้านสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐาน

 

การสร้างระบบหมุนเวียนชั้นนำของโลก

·      การส่งเสริมธนาคารอาหารที่มีประสิทธิภาพ ลดการเหลือทิ้งอาหาร และสร้างความตระหนักถึงปฏิญญาเพื่อการไม่มีอาหารเหลือทิ้ง (No Leftovers Declaration)  

การมองประเด็นอนาคต การพัฒนาเมืองที่มีคุณภาพ และการบูรณาการสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม

·      การส่งเสริมมาตรการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  

·      การส่งเสริมธนาคารอาหารที่มีประสิทธิภาพ ลดการเหลือทิ้งอาหาร และสร้างความตระหนักถึงปฏิญญาเพื่อการไม่มีอาหารเหลือทิ้ง (No Leftovers Declaration)  

 

ความตระหนักถึงสังคมคาร์บอนต่ำภายในปี พ.ศ. 2593 และสังคมหลังคาร์บอน

·      การส่งเสริมเมืองขนาดกะทัดรัด และการขนส่งสาธารณะ  

การสร้างระบบหมุนเวียนชั้นนำของโลก

.      กระบวนการจัดการสารเคมีที่มีอันตรายอย่างเหมาะสม  

การมองประเด็นอนาคต การพัฒนาเมืองที่มีคุณภาพ และการบูรณาการสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม

·      การรักษาสิ่งแวดล้อมทางอากาศ น้ำ และดิน

·      การส่งเสริมเมืองขนาดกะทัดรัด และการขนส่งสาธารณะ  

 

การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมุ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมในระดับรากหญ้าและการสร้างตราสินค้าด้านสิ่งแวดล้อมของเมืองคิตะคิวชู

·      การส่งเสริมผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมโดยใช้วิธีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ESD) การทดสอบ World Environment Capital Examination การทำกิจกรรม Eco Life Stage ฯลฯ  

·      การฝึกอบรมให้กับผู้สนใจจากแถบเอเชียและภูมิภาคอื่น ๆ การศึกษาขั้นสูงด้านสิ่งแวดล้อมในต่างประเทศ และการส่งเสริมกิจกรรมความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ

 

การสร้างระบบหมุนเวียนชั้นนำของโลก

·      กระบวนการจัดการสารเคมีที่มีอันตรายอย่างเหมาะสม

·      การรักษาระบบนิเวศและชนิดพันธุ์ และการดำเนินโครงการป่า-หมู่บ้าน-แม่น้ำ-ทะเล

การมองประเด็นอนาคต การพัฒนาเมืองที่มีคุณภาพ และการบูรณาการสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม

·      การรักษาสิ่งแวดล้อมทางอากาศ น้ำ และดิน  

 

ความตระหนักถึงสังคมคาร์บอนต่ำภายในปี พ.ศ. 2593 และสังคมหลังคาร์บอน

·      การเริ่มใช้พลังงานทดแทนขนาดใหญ่ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม และสร้างศูนย์อุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีไฮโดรเจนและอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม

·      การส่งเสริมการประหยัดและการจัดการพลังงาน

·      การส่งเสริมพลังงานทดแทนและการประหยัดพลังงานในภูมิภาคเอเชียผ่านศูนย์คาร์บอนต่ำแห่งเอเชีย (The Asian Low-Carbon Center)  

 

ความตระหนักถึงสังคมคาร์บอนต่ำภายในปี พ.ศ. 2593 และสังคมหลังคาร์บอน

·       การส่งเสริมการพัฒนาให้เมืองคิตะคิวชูเป็นแหล่งพลังงานในท้องถิ่นรวมถึงพลังงานทดแทน และการจัดการพลังงาน ฯลฯ

การสร้างระบบหมุนเวียนชั้นนำของโลก

·       การพัฒนาเมืองนิเวศ (Eco Town) และอุตสาหกรรมการรีไซเคิล

·       การใช้ประโยชน์จากแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

การมองประเด็นอนาคต การพัฒนาเมืองที่มีคุณภาพ และการบูรณาการสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม

·       การส่งเสริมอุตสาหกรรมและธุรกิจระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม

 

ความตระหนักถึงสังคมคาร์บอนต่ำภายในปี พ.ศ. 2593 และสังคมหลังคาร์บอน

·       การก่อสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ และการจัดทำวัสดุคงคลัง

·       การส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับคาร์บอนต่ำและพลังงาน

การสร้างระบบหมุนเวียนชั้นนำของโลก

·       การพัฒนาเมืองนิเวศ (Eco Town) และอุตสาหกรรมการรีไซเคิล

การมองประเด็นอนาคต การพัฒนาเมืองที่มีคุณภาพ และการบูรณาการสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม

·      การส่งเสริมมาตรการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางระบบนิเวศ

·      การพัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมโดยทำงานร่วมกับสถาบันทางการศึกษาต่าง ๆ ฯลฯ

 

ความตระหนักถึงสังคมคาร์บอนต่ำภายในปี พ.ศ. 2593 และสังคมหลังคาร์บอน

·       การส่งเสริมเมืองขนาดกะทัดรัด และการขนส่งสาธารณะ

·       การส่งเสริมโครงการปลูกป่าในเมือง

การสร้างระบบหมุนเวียนชั้นนำของโลก

·       กระบวนการจัดการสารเคมีที่มีอันตรายอย่างเหมาะสม

การมองประเด็นอนาคต การพัฒนาเมืองที่มีคุณภาพ และการบูรณาการสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม

·       การรักษาสิ่งแวดล้อมทางอากาศ น้ำ และดิน

·       การส่งเสริมมาตรการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางระบบนิเวศ

·       การส่งเสริมเมืองขนาดกะทัดรัด และการขนส่งสาธารณะ

 

การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมุ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมในระดับรากหญ้าและการสร้างตราสินค้าด้านสิ่งแวดล้อมของเมืองคิตะคิวชู

·       การส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ESD) ฯลฯ

การสร้างระบบหมุนเวียนชั้นนำของโลก

·       การส่งเสริมความคิดริเริ่ม “การลดขยะ การนำกลับมาใช้ใหม่ และการรีไซเคิล (3Rs+)” และกิจกรรมการรีไซเคิลที่ทันสมัย และเพิ่มอัตราส่วนการรีไซเคิลทรัพยากร

·       การส่งเสริมธนาคารอาหารที่มีประสิทธิภาพ ลดการเหลือทิ้งอาหาร และสร้างความตระหนักถึงปฏิญญาเพื่อการไม่มีอาหารเหลือทิ้ง (No Leftovers Declaration)

การมองประเด็นอนาคต การพัฒนาเมืองที่มีคุณภาพ และการบูรณาการสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม­­

·        การส่งเสริมรางวัลคิตะคิวชูอีโคพรีเมี่ยม (The Kitakyushu Eco Premium Awards) ฯลฯ

·       การส่งเสริมธนาคารอาหารที่มีประสิทธิภาพ ลดการเหลือทิ้งอาหาร และสร้างความตระหนักถึงปฏิญญาเพื่อการไม่มีอาหารเหลือทิ้ง (No Leftovers Declaration)

 

การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมุ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมในระดับรากหญ้าและการสร้างตราสินค้าด้านสิ่งแวดล้อมของเมืองคิตะคิวชู

·       การส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ESD) ฯลฯ  

ความตระหนักถึงสังคมคาร์บอนต่ำภายในปี พ.ศ. 2593 และสังคมหลังคาร์บอน

·       การส่งเสริมความพยายามในการตระหนักถึงสังคมคาร์บอนต่ำ  

การสร้างระบบหมุนเวียนชั้นนำของโลก

·       การส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และการผลิตพลังงานจากขยะ และความร้อน  

การมองประเด็นอนาคต การพัฒนาเมืองที่มีคุณภาพ และการบูรณาการสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม

·       การส่งเสริมมาตรการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางระบบนิเวศ  

 

การสร้างระบบหมุนเวียนชั้นนำของโลก

·       การปฏิบัติตามกระบวนการในการควบคุมขยะทะเล และกระบวนการจัดการสารเคมีที่มีอันตรายอย่างเหมาะสม  

·       การรักษาระบบนิเวศและชนิดพันธุ์ และการดำเนินโครงการป่า-หมู่บ้าน-แม่น้ำ-ทะเล  

การมองประเด็นอนาคต การพัฒนาเมืองที่มีคุณภาพ และการบูรณาการสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม

·       การรักษาสิ่งแวดล้อมทางอากาศ น้ำ และดิน  

 

ความตระหนักถึงสังคมคาร์บอนต่ำภายในปี พ.ศ. 2593 และสังคมหลังคาร์บอน

·       การดูแลรักษาและการใช้ประโยชน์จากทุนธรรมชาติผ่านการจัดการป่าไม้ที่เหมาะสม ฯลฯ  

การสร้างระบบหมุนเวียนชั้นนำของโลก

·       การรักษาระบบนิเวศและชนิดพันธุ์ และการดำเนินโครงการป่า-หมู่บ้าน-แม่น้ำ-ทะเล  

·       การแก้ปัญหามดคันไฟและชนิดพันธุ์ต่างถิ่น  

·       การประเมินมูลค่าของทุนธรรมชาติ  

การมองประเด็นอนาคต การพัฒนาเมืองที่มีคุณภาพ และการบูรณาการสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม

·       การประเมินผลที่เหมาะสม  

 

การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมุ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมในระดับรากหญ้าและการสร้างตราสินค้าด้านสิ่งแวดล้อมของเมืองคิตะคิวชู

การส่งเสริมความร่วมมือและกิจการระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม ความตระหนัก
ถึงสังคมคาร์บอนต่ำในภูมิภาคเอเชีย การจัดตั้งศูนย์รีไซเคิลทรัพยากรระหว่างประเทศและการพัฒนาอุตสาหกรรมระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม

แหล่งที่มาของข้อมูล

สำนักสิ่งแวดล้อม เมืองคิตะคิวชู. 2560. The Kitakyushu City Basic Environment Plan Subtitle: Environmental Capital & SDGs Realization Plan. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.city.kitakyushu.lg.jp/files/000823011.pdf.

 

The Kitakyushu City Basic Environment Plan subtitled Environmental Capital & SDGs Realization Plan

   
 

Do you remember the Grand Design on World Capital of Sustainable Development?

In 2004, citizens, business and the government in Kitakyushu got together and formulated the Grand Design on World Capital of Sustainable Development.

This is a promise made by the citizens of Kitakyushu to the world’s people, the earth and to future generations that citizens, business and government will strive to build and pass on to the next generation a city brimming with “True Wealth and Prosperity.”

To realize this, we have formulated the “10 Principles of environmental action of the people of Kitakyushu”, and citizens will promote the importance of material things and

nature, environmental education and the creation of an environmentally friendly city.

 

10 PRINCIPLES OF ENVIRONMENTAL ACTION OF THE PEOPLE OF KITAKYUSHU

1. Intensifying the environmental power of the city through the laughter and strength of
  the people

2. Advocating the advancement of exceptional environmental human resources

3. Valuing the significance of visible local ties

4. Encouraging the symbiotic relationship with all living things through a deeper
   understanding of nature

5. Protecting our valuable urban assets in the quest for beauty

6. Reducing the urban load on the environment

7. Stimulating the market for innovative environmental technology with the participation
  of local actors

8. Advocating the use of recycled resources in socio-economic activities

9. Sharing environmental information for further actions

10. Channeling the concept of a model environmental city to all people of the world

What is the Basic Environment Plan? Why change the plan now?

The Basic Environment Plan is a promise by the city government to implement the Grand Design on World Capital of Sustainable Development.

In 2015, the countries of the world gathered together to make the Paris Agreement. Based on this agreement, it is necessary to proceed with concrete measures to tackle global warming.

In 2015, the countries of the world promised to attain SDGs (Sustainable Development Goals).

At first glance, SDGs seem difficult to attain. They are goals that can be achieved with cooperation of governments, business and people from all over the world in assistance to help those in dire need, in terms of environment, education, welfare, economic growth and peace.

Kitakyushu City has been working to leave prosperity for future generations with the World Capital of Sustainable Development Grand Design. This means the City has been working on SDGs for over a decade.

In order for this project to expand throughout the world, it is necessary to remind ourselves of the Grand Design and the 10 Principles of Environmental Action of the People of Kitakyushu.

Based on this background, we have decided to change the Basic Environment Plan.

 What’s the connection with our lifestyles?

On the surface, the Basic Environment Plan seems to be for the city government, and no connection with the average citizen. However, it affects our daily life in many ways.

For example, working on making energy and products we use every day more environmentally friendly, tackling our daily waste, recycling, environmental learning,
PM 2.5, odor and noise pollution, and actively using the bounty of nature and creating jobs in the environment industry.

Improving welfare and disaster-prevention policies and creating a compact city may not seem to have much in common with the environment, but we are going to tackle these challenges as well from the environmental aspect.

How will Kitakyushu City change under the new plan?

The new plan includes undertakings such as: “Strengthening each and every citizens’ environmental awareness, and making the name ‘Kitakyushu’ synonymous with ‘The

Environment’ both at home and abroad”, “Aim at creating a zero-emission society”, “Aim at creating a society which values living and material things” and “Achieving sustainable development goals (SDGs) by tackling various issues from an environmental perspective”.

To attain these goals we will, for example, aim to become the top renewable energy user and have the top municipal waste recycling ratio of all major Japanese cities.

Concrete changes include more study groups to gain insight into how environment issues link with other issues, bringing wind and other renewable energy sources as well

as hydrogen energy closer to the average citizen, promoting recycling by not discarding items that can be recycled, making citizen’s actions for achieving SDGs and a better

environment and increasing new environmental technology and environment business startups.

What can we do?

Recent environmental issues are caused not only by pollution discharged from some factories, which was considered to be the main cause of the issue in the past, but by the

CO2 emissions and waste from our daily lives. Already, 13 years ago the 10 Principles of Environmental Action of the People of

Kitakyushu were established, and based on these principles we have been living,learning, working and taking action in Kitakyushu City.

Let’s take another look at these principles. For example, are we buying environmentally friendly products and services? Are we using the train instead of a car? Are we making

sure we don’ t buy too much to reduce waste? Are we looking after and learning about the environment? Are we participating in local environmental activities? Are we asking

the government and business to do more?

 

Developing Environmentally oriented Grassroots Activism and the Establishment of the “Kitakyushu Environmental Brand” Supported by All Citizens.

         

While promoting environmentally friendly movement among citizens, business and community, we will promote the nurturing of environment experts. We will also aim at creating a brand, which makes “Kitakyushu synonymous with the environment”, where citizens take pride in their city, appealing to people both at home and abroad. To achieve this goal, we will provide support for citizens and businesses to change their lifestyles, support activities of local community and NPOs, enhance education to nurture environment experts, establish good lines of communication with citizens regarding the environment, actively promote international cooperation, and enhance the domestic and international promotional efforts of Kitakyushu City’s approach to environment.

   
   


Basic Measure 1: Beneficial Cycle of Environmental Activities and Community Revitalization

  • To promote awareness and support measures that prompt citizens and businesses to reexamine their lifestyle and business-style.
  • To promote local community and NPO activities such as support for local recycling and cleanup campaign.
  • To promote environmental activities in businesses in the overall supply chain through networking and cooperation.

Basic Measure 2: Fostering Environment Experts through ESD

  • To promote Education for Sustainable Development (ESD) and environmental learning for citizens including pre-schoolers and retirees.
  • To furthered promote environmentally-oriented grassroots activism through a cross-organizational cooperation between youth through the Kitakyushu Manabito ESD Station and Kodomo Eco Club.
  • To reinforce the base to foster environment experts by strengthening the network among the universities, research institutions etc., in the city.

Basic Measure 3: Dealing with Environmental Risk Management through Dialog and Cooperation with Citizens

  • To promote environmental risk dialogue.
  • To provide appropriate information on the environment and fostering environmental literacy. *Literacy – The ability to find and use the necessary information from materials provided.
  • To promote voluntary environmental risk management by businesses, implementing agreements, as well as utilizing awards and certification as a motivational tool for the businesses.

Basic Measure 4: Establishing the Kitakyushu Environmental Brand through International Collaboration

  • To strengthen strategic international environmental collaboration and the international environmental brand through collaboration with domestic and overseas institutions.
  • To create international networks by fostering overseas environmental personnel.
  • To attract international conventions and domestic events in the environment-related field through the city government’s united effort.
  • To promote networks between academia and business and use the City’ s strength - technology and policy - to establish a “Technology Capital of Asia” Brand.

 

Realizing an Ultra-low Carbon Society by 2050 and a Post-carbon Society further down the Road

               

To tackle global warming, we are aiming to revise every facet of society including the way individuals and businesses use energy, transport and town planning, creating a society which produces hardly any CO2 and other greenhouse gasses in order to realize an “Ultra-Low Carbon Emission Society”, and subsequent “Post-carbon Society”. To achieve this goal,
we will encourage efficient energy use at home and office, the design of compact communities, the use of public transportation. We will also promote research and development and creation of a system in an effort to change the way business, economy and society approach to the environmental issues, while taking steps to implement new energy sources including marine wind power and solar power and hydrogen energy, as well as promoting cooperation with Asian countries.

   
   

Basic Measure 1: Transition to a Stock-based Society that Supports an Ultra-low Carbon Society

  • To promote energy-efficient, low- CO2 industry and city planning.
  • To develop high quality regions and towns, residences and building stock, including solar power generation facilities, high efficiency energy facilities, net zero energy housing.
  • To promote maintenance and good use of natural capital, including greening policies for urban areas and regional hubs, appropriate forestry management, measures to take care of neglected bamboo forests, and protection of natural scenery.
  • To promote low-carbon development through stock management such as increasing the longevity of bridges and sewage facilities, consolidation and demolition of dilapidated facilities.

Basic Measure 2: Socioeconomic, Technological, Lifestyle Innovation and Industrial Cluster Development to Realize an Ultra-low Carbon Society

  • To promote the development of ultra-low carbon technology and industrial cluster by utilizing renewable energy, hydrogen, ICT and highly functional materials, etc.
  • To promote a low carbon lifestyle and business-style through regulatory and economic approaches.
  • To study the feasibility of financial policies such as environmental finance.

Basic Measure 3: Comprehensive Formation of a Future Energy Base

  • To promote development as a local energy base.
  • To promote the use of hydrogen energy.
  • To promote a local smart energy management.
  • To promote human resources and technology development in the field of environment.

Basic Measure 4: Realization of Ultra-low Carbon Societies at the Asian level

  • To promote international cooperation toward realization of an ultra-low carbon society in Asia through cooperation with KITA (Kitakyushu International Techno-cooperative Association), IGES (Institute for Global Environmental Strategies) and other related institutions and businesses based in Kitakyushu.
  • The Kitakyushu Asian Center for Low Carbon Society plays a pivotal role in helping private businesses to expand "low-carbon movements" overseas.

 

Building a World-leading Circular System

           
         

 

 


Through sound and sustainable recycling (collection of raw materials ⇒ processing ⇒ distribution ⇒ consumption ⇒ disposal ⇒ reused as raw materials) of materials (resources), and nature’ s cycle (the cycle of ecosystems, agricultural and fishery products), we strive toward creating a balanced society between those two cycles. To achieve this goal, the City will promote the “3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) of Waste”, making use of recycled products, establishing a waste disposal system that will function in time of disaster. It will also foster industries, which will take on the 3Rs, conduct appropriate maintenance of hazardous substances, conservation of precious nature and ecosystem take measures against introduced species such as fire ants, proactively use and identify the state and condition the City’s rich nature.

   
   

Basic Measure 1: Promotion of the “3R Plus” Initiative and Advanced Recycling Activities and Improvement of Resource Recycling Ratio

  • To promote Reduce, Reuse and Advanced Recycling.
  • To reduce CO2 and energy consumption by improving efficiency of using resources in waste processing, and promoting the use of waste power generation and thermal usage.
  • To actively promote the use of recycled and renewable resources. Secure appropriate processing.

Basic Measure 2: Facilities and Technological Development to Support Circular Systems and the Creation of a Recycling-oriented Industrial City

  • To promote regional collaboration to improve waste management and facilities that

support stable and efficient waste processing and circular systems.

  • To create an advanced industrial recycling Eco Industrial Town where industry and

region coexists.

  • To build a network in the environmental industry and form a resource recycling

research center in cooperation with universities etc.

  • To aim at creating an international resource recycling center for electric and electronic waste, which would be difficult to recycle in developing countries, and miscellaneous scrap and other precious recyclable resources, which would otherwise be sent overseas.

Basic Measure 3: Appropriate Processing and Management of Chemical and Hazardous Substances

  • Facilitate appropriate processing of PCB.
  • Facilitate appropriate management of mercury, asbestos etc.
  • Facilitate management of chemical substances.
  • Take an active step to control CFCs (freon gas).

Basic Measure 4: Securing Natural Recycling and Preserving Biodiversity

  • Protect ecosystem habitat and species.
  • Advance the preservation of the Forest-Village-River-Sea. 
  • Collect and integrate extensive natural environment information while fostering environmental experts and creating networks in a proactive manner.
  • Make use of the rich natural tourism resources through study tours and eco-tourism.

 

Future-oriented, Quality Urban Development and Integrated Improvement of Environment, Economy

         
         
 

 

 

 

 

 


We aim to build a city that contributes to realization of SDGs and answers the needs of issues such as the falling birth rate and aging society, disaster prevention and revitalization, a safe and livable people-friendly city conducive to the creation of innovative industry and jobs growth.

To achieve this goal, the city government will network with stakeholders both government and private on issues which include monitoring of PM 2.5 air pollution and water contamination, conduct appropriate environmental impact assessments on developments, prevent activities that have an adverse effect on climate change.
The City will also create a regional center that is environmentally friendly and disaster resistant, make use of food banks and reuse activities in welfare projects, involve local people in developing environmental industries, and business promotion overseas.

   

 

 

   

Basic Measure 1: Creation of a Safe and Stable Resilient City

  • Protect the air, water, soil environment through monitoring and guidance based on legislation.
  • Take steps to implement appropriate assessment and control measures to prevent pollution.
  • Undertake measures to tackle climate change.
  • Strengthen the City’s ecosystem-based disaster risk reduction including utilization of decentralized and self-reliant energy and disaster waste management.

Basic Measure 2: Realization of an Environment and Society-friendly Comfortable City

  • Conserve the city’s landscape by utilizing stock and realize a pleasant townscape.
  • Promote a compact city and public transportation system, which is senior citizen and disabled-friendly.
  • Aim at securing a welfare safety net and community revitalization.

Basic Measure 3: Promotion of the Fostering of Environmental industries and International Business

  • Promote a regional economic circulation zone and employment in those industries for youth, women and senior citizens.
  • Promote sustainable production and consumption.
  • Aim at environment technology development, the creation of new industries and productivity improvements in collaboration with FAIS (Kitakyushu Foundation for the Advancement of Industry, Science and Technology) and Kitakyushu City University, etc.
  • Promote the overseas expansion of environmental industries through JCM and other overseas international cooperation projects.

Basic Measure 4: Initiatives Aimed at the Achievement of SDGs and Environmental Governance

  • Promote an urbanization model in working toward attaining SDGs.
  • Promote environment governance in working toward attaining SDGs.

Sustainable Development Goals (SDGs)

- The SDGs are based on the principle of “Leaving no one behind”, sharing the earth’s resources equally among all people of the world and leaving them for the next generation.

- Adopted by the UN in 2015  

- SDGs are universal, inclusive and indivisible  

- Setting 17 SDGs to be achieved by 2030

Corresponding Relation between Measures Incorporated in the Basic Environment Plan and SDGs

SDGs

The Basic Environment Plan

 

Building a World-leading Circular System

·      Promotion of effective use of food-banks, reducing food loss and raising awareness of the No Leftovers Declaration

Future-oriented, Quality Urban Development and Integrated Improvement of Environment, Economy

·      Strengthening measures to deal with climate change

·      Promotion of effective use of food-banks, reducing food loss and raising awareness of the No Leftovers Declaration

 

Realizing an Ultra-low Carbon Society by 2050 and a Post-carbon Society further down the Road

·      Promotion of a compact city and public transportation

Building a World-leading Circular System

·    Appropriate processing and management of chemical and hazardous substances

Future-oriented, Quality Urban Development and Integrated Improvement of Environment, Economy

·      Protection of air, water and soil environments

·      Promotion of a compact city and public transportation

 

Developing Environmentally oriented Grassroots Activism and the Establishment of the “Kitakyushu Environmental Brand” Supported by All Citizens

·      Fostering environmental experts through environmental learning, ESD, World Environment Capital Examination, Eco Life Stage, etc.

·      Accepting trainees from Asia and other regions, advance overseas environmental education and promote international environmental cooperation activities

 

Building a World-leading Circular System

·      Appropriate processing and management of chemical and hazardous substances

·      Preserving ecosystems and species, and the Forest-Village-River-Sea

Future-oriented, Quality Urban Development and Integrated Improvement of Environment, Economy

·      Protection of air, water and soil environment

 

Realizing an Ultra-low Carbon Society by 2050 and a Post-carbon Society further down the Road.

·      Introduction of large-scale renewable energy such as solar and wind and building an industrial center for the developing hydrogen technology and wind power generation industries

·      Promotion of energy saving and management

·      Promotion of renewable energy and energy saving in the Asian region through the Asian Low-Carbon Center

 

Realizing an Ultra-low Carbon Society by 2050 and a Post-carbon Society further down the Road

·       Promotion of development as a local energy base including renewable energy and energy management, etc.

Building a World-leading Circular System

·       Advancement of Eco Industrial Town and recycling industries

·       Utilize natural tourism resources

Future-oriented, Quality Urban Development and Integrated Improvement of Environment, Economy

·      Promotion of the fostering of environmental industries and international business

 

Realizing an Ultra-low Carbon Society by 2050 and a Post-carbon Society further down the Road.

·       Building quality housing and material stock

·       Promotion of low-carbon and energy related industries

Building a World-leading Circular System

·       Advancement of Eco Industrial Town and recycling industries

Future-oriented, Quality Urban Development and Integrated Improvement of Environment, Economy

·       Strengthening measures to deal with climate change and ecosystem-based disaster risk reduction

·       Development of environmental technology through collaboration with academic institutions, etc.

 

Realizing an Ultra-low Carbon Society by 2050 and a Post-carbon Society further down the Road.

·       Promotion of a compact city and public transportation

·       Promotion of urban afforestation projects

Building a World-leading Circular System

·       Appropriate processing and management of chemical and hazardous substances

Future-oriented, Quality Urban Development and Integrated Improvement of Environment, Economy

·       Protection of air, water and soil environment

·       Strengthening measures to deal with climate change and ecosystem-based disaster risk reduction

·       Promotion of a compact city and public transportation

 

Developing Environmentally oriented Grassroots Activism and the Establishment of the “Kitakyushu Environmental Brand” Supported by
All Citizens

·       Promotion of environmental learning and ESD etc.

Building a World-leading Circular System

·       Promoting the “3R Plus” Initiative and advanced recycling activities and improving resource recycling ratio

·       Promoting effective use of food-banks, reducing food loss and raising awareness of the No Leftovers Declaration

Future-oriented, Quality Urban Development and Integrated Improvement of Environment, Economy

·              Promoting the Kitakyushu Eco Premium Awards etc.

·       Promoting effective use of food-banks, reducing food loss and raising awareness of the No Leftovers Declaration

 

Developing Environmentally oriented Grassroots Activism and the Establishment of the “Kitakyushu Environmental Brand” Supported by All Citizens

·       Promotion of environmental learning, Education for Sustainable Development (ESD), etc.

Realizing an Ultra-low Carbon Society by 2050 and a Post-carbon Society further down the Road

·       Promotion of efforts to realize an ultra-low carbon society

Building a World-leading Circular System

·       Promotion of efficient use of resources, waste and heat powered generation

Future-oriented, Quality Urban Development and Integrated Improvement of Environment, Economy

·      Strengthening measures to deal with climate change and ecosystem-based disaster risk reduction

 

Building a World-leading Circular System

·       Taking steps to control marine litter and appropriate processing and management of chemical and hazardous substances

·       Preserving ecosystems and species, and the Forest-Village-River-Sea

Future-oriented, Quality Urban Development and Integrated Improvement of Environment, Economy

·      Protection of air, water and soil environments

 

Realizing an Ultra-low Carbon Society by 2050 and a Post-carbon Society further down the Road.

·       Maintenance and good use of natural capital through the proper forest management, etc.

Building a World-leading Circular System

·       Preserving ecosystems and species, and the Forest-Village-River-Sea

·       Tackling fire ants and other alien species

·       Assessment of the value of natural capital

Future-oriented, Quality Urban Development and Integrated Improvement of Environment, Economy

·       Appropriate assessments

 

Developing Environmentally oriented Grassroots Activism and the Establishment of the “Kitakyushu Environmental Brand” Supported by All Citizens

Promotion of international environmental cooperation, international environmental business, the realization of an Asia-wide ultra-low carbon society, the formation of an international resource recycling center and the international development of environmental industries

Source:

Environment Bureau of Kitakyushu City. (2017). The Kitakyushu City Basic Environment Plan Subtitle: Environmental Capital & SDGs Realization Plan. Retrieved on 15 May 2020. From https://www.city.kitakyushu.lg.jp/files/000823011.pdf.

 

เอกสารแนบ : Best Practice - จังหวัดฟูกูโอกะ แผนงานด้านสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐานของเมืองคิตะคิวชู (พรณณระวี).pdf

ข้อเสนอแนะ
ติดตามเรา