สรุปสาระสำคัญ
การบรรยายสรุปเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการรับมือต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ให้กับคณะผู้แทนจากมหาวิทยาลัย Mathias Cornivus Collegium Academy สาธารณรัฐฮังการี
วันที่ 11 มกราคม 2565 เวลา 10.00 น.
ผู้แทนจากหน่วยงานกรุงเทพมหานครที่เข้าร่วมต้อนรับ
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล (Strategy and Evaluation Department)
- นายวิฑูรย์ อภิสิทธิ์ภูวกุล รองผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
- นางสาวรัชพร เลี้ยงประเสริฐ หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์บริหารจัดการ
สำนักอนามัย (Health Department)
- ดร.ฉันทพัทธ์ พฤกษวัน นายแพทย์ชำนาญการ
รักษาการผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข 26
- ดร. ฐิติสันต์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา นายแพทย์ชำนาญการ
รักษาการผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข 28
สำนักงบประมาณ (The BMA Budget Department)
นางกนกวรรณ อาร์โรโย นักวิเคราะห์งบประมาณปฏิบัติการ
สำนักพัฒนาสังคม (Social Development Department)
- นางพิชญ์สินี ปานเกตุ นักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ
หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาด
- นางณปภัช ละออเอี่ยม นักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ
- นายกิตติพันธ์ ธรรมประดิษฐ์ นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ
- นายกานต์ มีสัตย์ธรรม นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ
- นางสาวสมรัตน์ มันทะติ นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว (Culture, Sports and Tourism Department)
นายสิทธิโชค พัดเย็น นักพัฒนาการท่องเที่ยวปฏิบัติการ
สรุปสาระสำคัญการนำเสนอของผู้แทนหน่วยงานกรุงเทพมหานคร
1. สำนักยุทธศาสตร์เเละประเมินผล นำเสนอในหัวข้อ“บทบาทและความรับผิดชอบของศูนย์บริหารสถานการณ์ COVID-19 ของกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้ประสานงานส่วนกลาง และความสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร”
นายวิฑูรย์ อภิสิทธิ์ภูวกุล รองผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลให้ข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์บริหารสถานการณ์ COVID-19 ของกรุงเทพมหานครและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
- โครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์ COVID-19 ของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
คณะกรรมการอำนวยการ โดยมีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พ.ต.ท.โสภณ พิสุทธิวงษ์) เป็นประธาน และดำเนินการผ่านคณะทำงานจำนวน 7 คณะ ได้แก่
- คณะทำงานด้านการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาด โดยสำนักอนามัย
- คณะทำงานด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วย โดยสำนักการแพทย์
- คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล โดยสำนักสิ่งแวดล้อม
- คณะทำงานด้านช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟู โดยสำนักพัฒนาสังคม
- คณะทำงานด้านประสานงานการดูแลความสงบเรียบร้อย โดยสำนักเทศกิจ
- คณะทำงานด้านต่างประเทศ โดยสำนักงานการต่างประเทศ
- คณะทำงานด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์
- อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์ COVID-19 ประกอบด้วย
- อำนวยการ ควบคุม กำกับดูแล การปฏิบัติงานของศูนย์บริหารสถานการณ์ฯ เพื่อให้
เป็นไปตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9แห่งพระราชกาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
- ประสานและติดตามผลการปฏิบัติงานของคณะทำงานด้านต่าง ๆ ในศูนย์ฯ จัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กับการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) เพื่อให้ผู้บริหารใช้ประกอบการตัดสินใจสั่งการ อำนวยการและประสานการปฏิบัติกับทุกภาคส่วน ติดตามประเมินสถานการณ์และสรุปรายงานผลให้ผู้ว่าราชการ-กรุงเทพมหานครและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ
- สั่งการให้หน่วยงานและส่วนราชการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และกฎหมายที่กำหนด รวมทั้ง
ขอความร่วมมือภาคเอกชนเพื่อให้การบริหารสถานการณ์ของศูนย์ฯเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีเอกภาพและประสิทธิภาพสูงสุด
- บริหารจัดการข้อมูลที่ได้รับรายงานจากคณะทำงานด้านต่าง ๆ ของศูนย์บริหารสถานการณ์ฯ
ตลอดจนข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ เพื่อประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและแนวโน้มของสถานการณ์ในอนาคต
- พิจารณาแก้ไขปัญหาหรือข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานตามพระราชกาหนดการบริหารราชการ
ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อให้ได้ข้อยุติ
ฯลฯ
ในส่วนของความสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อแผนพัฒนากรุงเทพมหานครนั้น นายวิฑูรย์ อธิบายว่า
นอกเหนือจากแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนแม่บทที่สำคัญต่าง ๆ กรุงเทพมหานครได้นำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs มาเชื่อมโยงกับการวางยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561-2565)
ทั้งนี้ แผนพัฒนากรุงเทพมหานครประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่ มหานครปลอดภัย มหานครสีเขียว สะดวกสบาย มหานครสำหรับทุกคน มหานครกระชับ มหานครประชาธิปไตย และมหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้ และหากบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครจะสามารถเป็นมหานครแห่งเอเชีย (The vibrant of Asia) ได้ ซึ่งนอกจากกรุงเทพจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก ศูนย์กลางเศรษฐกิจและโอกาสแล้ว กรุงเทพมหานครจะเป็นเมืองในภูมิภาคที่มี ความยั่งยืน นอกจาก แผนสำคัญที่เกี่ยวข้องและนโยบายสำคัญระดับโลกแล้ว แผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี ได้นำโอกาสและความเสี่ยงจากกระแสการเปลี่ยนแปลงระดับโลกพิจารณาประกอบจำนวน 4 ประเด็นหลัก ดังนี้
- การปฏิวัติทางเทคโนโลยีและดิจิทัลทำให้เศรษฐกิจดิจิทัลเติบโตอย่างรวดเร็วและมีการนำ เทคโนโลยีมาช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต อาทิ สุขภาพ การศึกษา ส่งผลให้แรงงานทักษะต่ำถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีและบางธุรกิจต้องปิดตัวลง เนื่องจากจาก technological disruption
- ความมุ่งมั่นของนานาชาติในการลดก๊าซเรือนกระจก ทำให้เเทคโนโลยีสีเขียวก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้นทุน ในการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมลดต่ำลง อาทิ พลังงานหมุนเวียน ขณะที่สินค้าและบริการที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงมีแนวโน้มถูกกีดกันทางการค้า
- การเป็นสังคมสูงวัยของหลายประเทศทั่วโลกทำให้ความต้องการสินค้าและบริการเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งไทยมีความได้เปรียบในด้านสินค้าและบริการดังกล่าว ขณะที่การลงทุนจากต่างประเทศของเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
- ความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจทำให้เกิดการกระจายการผลิตและการลงทุนนอกประเทศจีน ส่งผลให้ตลาดอาเซียนมีความน่าสนใจมากขึ้นสำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตามการค้าและการลงทุนทั่วโลก ไม่ฟื้นตัวเต็มที่
นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครยังได้นำบริบทของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พิจารณาประกอบการจัดทำแผนพัฒนากรุงเทพมหานครด้วย
สำหรับเป้าหมายตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี ประกอบด้วย
- กรุงเทพมหานครให้มีมาตราฐานความปลอดภัยและมีความพร้อมในการตอบสนองต่อวิกฤติการณ์ รวมถึงมีความทันสมัยและอบอุ่นน่าอยู่สำหรับทุกกลุ่มที่มีความหลากหลายอย่างเท่าเทียม มีความยั่งยืน เพื่อสุขภาวะ ที่ดีต่อทุกคน
- มีระบบความเชื่อมโยงสาธารณูปโภคสาธารณูปการตอบสนองรูปแบบวิถีชีวิตคนเมือง พร้อมทั้งต่อยอดการเป็นศูนย์กลางเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์เเละการเรียนรู้เพื่อเป็นมหานครที่สร้างคุณค่าให้กับเศรษฐกิจจากอัตลักษณ์ เเละความได้เปรียบจากการเรียนรู้สร้างสรรค์ของเมือง นอกจากนั้นยังมุ่งส่งเสริมสร้างเมืองประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เพื่อออกเเบบมหานครให้เปิดพื้นที่ให้กับความต้องการของประชาชนด้วยระบบข้อมูลการจัดการเมืองที่สนองตอบต่อ ประโยชน์สาธารณะ
- การสร้างความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการมหานครทำให้เป็นมหานครที่มีสมรรถนะและความคล่องตัวสูงในการจัดการความหลากหลายและความซับซ้อนของเมือง
คำถาม
1.กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่กำลังจะจมน้ำ อีกทั้งยังมีระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นสูงอีก กรุงเทพมหานครมีแผนรับมืออย่างไร
ทางตรง กรุงเทพมหานครส่งเสริมความร่วมมือกันกับจังหวัดใกล้เคียงเพื่อร่วมกันกำหนดกลยุทธธ์รับมือปัญหาดังกล่าว เช่น การสร้างเทคโนโลยีเพื่อป้องกันระดับน้ำทะเลในระยะยาว ขณะเดียวกันในทางอ้อม ได้ดำเนินการรณรงค์ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทนและสร้างการตระหนักรู้ต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม
2. แผนพัฒนาการใช้พลังงานของกรุงเทพมหานครคืออะไร
กรุงเทพมหานครจะรณรงค์การใช้พลังงานหมุนเวียนและทำให้ประชาชนตระหนักถึงการลดใช้ไฟฟ้าของเมืองและส่งเสริมการใช้รถยนต์ EV โดยเฉพาะรถสาธารณะสำหรับการขนส่ง ซึ่งอาจดำเนินการได้ในระยะอันใกล้
2.สำนักอนามัย นำเสนอในหัวข้อ “ความท้าทายของกรุงเทพมหานครด้านสาธารณสุขในการบริหารจัดการเมืองท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดอื่น ๆ รวมถึงความเป็นไปได้ในการบังคับใช้มาตรการเข้มข้นสูงสุดกรณีเกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ รวมถึงนโยบายการกระจายวัคซีน”
ดร.ฉันทพัทธ์ พฤกษวัน นายแพทย์ชำนาญการ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข 26 นำเสนอข้อมูล ดังนี้
- ภาพรวมการระบาดของโควิด -19 ในกรุงเทพฯ เกิดขึ้นสามระลอก
การระบาดระลอกแรก เกิดขึ้นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2563จุดเริ่มต้น เกิดจากสนามมวยและสถานบันเทิง รวมถึงพลเมืองที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ โดยในระลอกแรก ประเทศไทยไม่มีวัคซีน และการรักษาเฉพาะทาง ส่งผลให้ผู้ป่วยกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ใหญ่มีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้นถึง 4% และกรุงเทพมหานคร.เป็นที่แรกในประเทศไทยที่ประกาศล็อคดาวน์บางพื้นที่ก่อนรัฐบาลจะประกาศล็อคดาวน์ทั้งประเทศและมีการคลายล็อคดาวน์ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
การระบาดระลอกที่2 เกิดขึ้นกลางเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 จุดเริ่มต้นเกิดที่ร้านขายของทะเล จังหวัดสมุทรสาคร ที่เป็นจังหวัดใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ ที่มีเเรงงานต่างด้าว ต่อมาได้แพร่สู่กรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 การระบาดได้รับการควบคุม เนื่องจากมีการตรวจหาผู้ที่มีการติดต่อกับผู้ติดเชื้ออย่างใกล้ชิดเป็นวงกว้าง
การระบาดระลอกที่ 3 เกิดในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นการระบาดของโควิด- 19 สายพันธ์เดลต้าอย่างรวดเร็ว กรุงเทพฯได้รับผลกระทบอย่างใหญ่หลวง เเละอัตราการตายสูงในการระบาดระลอกที่ 3 โดยกรุงเทพมหานครได้รวบรวมเเละวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ข้อมูลประชากร เพื่อออกเเบบมาตรการ
- การดำเนินการเพื่อรับมือกับโควิด – 19 ในกรุงเทพมหานคร
โครงสร้างองค์กรสำหรับการควบคุมติดเชื้อ ได้แก่ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กรุงเทพมหานคร (ศบค.กทม.) ส่วนการจัดการกรณี COVID-19 แบ่งเป็น 3 กรณี กรณีที่ไม่มีอาการ หรือไม่มีความเสี่ยงเเนะนำให้กักตัวอยู่ที่บ้านหรือสถานพยาบาล กรณีการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการที่มีความเสี่ยงสูง ต่อโรคร้ายแรง เเนะนำให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล สถานพยาบาลผู้ป่วยเฉพาะกิจเเละรับยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir ) อย่างเร็วที่สุด
กรณีอาการด้านจิตใจเเละไม่มีความเสี่ยงเเนะนำให้กักตัวอยู่บ้านหรือการกักตัวในชุมชนหรือสถานพยาบาล สำหรับกรณีอาการปานกลางถึงรุนแรงหรือมีความเสี่ยงสูงตามอาการเเนะนำให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเเละรับการรักษา ตามแนวทางปฏิบัติทางคลินิกของประเทศไทย ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครได้จัดสรรทั้งยาเเละการจัดส่งอาหารสำหรับผู้ป่วยที่กักตัวอยู่ที่บ้าน
สถานที่สำหรับการกักตัวมีทั้งหมด 57 เเห่ง ในพื้นที่ 6 กลุ่มเขต ได้แก่ กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ 10 เเห่ง กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง 8 เเห่ง กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ 15 เเห่ง กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก 8เเห่ง กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ 9 เเห่ง กลุ่มเขตกรุงธนใต้ 7 เเห่ง
กลุ่มเป้าหมายตามลำดับความสำคัญสำหรับบริการวัคซีนโควิด-19 ประกอบด้วย บุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข
ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีอาการ7 NCDs ภายในพื้นที่ระบาดทั้ง 6 เเห่ง ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 60 ปี ผู้ที่มีโรค 7 โรคที่ไม่ติดต่อ หรือNCDs เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบตัน หลอดเลือดสมอง เบาหวาน สำหรับปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการการแพร่ระบาดของโรคโควิด- 19 ได้แก่ โครงสร้างการจัดการที่มีประสิทธิภาพ แนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน และความร่วมมือ จากทุกภาคส่วน
- ความท้าทายในการรักษาระบบสุขภาพของกรุงเทพมหานครในช่วงการระบาดของโควิด-19 ได้แก่ ประชากรไหลออกจำนวนมากและระบบดูแลสุขภาพของกรุงเทพมหานครต้องดำเนินการเกินศักยภาพ
คำถาม
- ประชาชนมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อการปฏิบัติตามมาตรการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด-19 และสิ่งที่เป็น ความท้าทายที่สุดในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19
ประชาชนให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับอย่างดี ส่วนความท้าทาย คือ วัคซีนที่มีจำกัดและการจัดสรรวัคซีนอย่างเหมาะสม
3.สำนักงบประมาณนำเสนอในหัวข้อ“ความท้าทายของกรุงเทพมหานครด้านเศรษฐกิจและงบประมาณในการบริหารจัดการเมืองท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19”
นางกนกวรรณ อาร์โรโย นักวิเคราะห์งบประมาณปฏิบัติการ นำเสนอข้อมูล ดังนี้
โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง และกรม การบริหารราชการ ส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย จังหวัดและอำเภอ โดยส่วนกลางจะแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บัญชาการ และเป็นผู้แทนของ รัฐบาลในการรับนโยบายและคำสั่งจากส่วนกลางในการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับพื้นที่และความต้องการของ ประชาชน และการปกครองส่วนท้องถิ่นใช้หลักการกระจายอำนาจ ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งมีกฎหมายจัดตั้งเป็นการเฉพาะจำนวน 2 หน่วยงาน คือ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา เพื่อความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบาย และการดำเนินการทางด้านการเงินการคลัง ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
สำหรับกรุงเทพมหานครเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายในการจัดบริการสาธารณะ ให้กับประชาชนในกรุงเทพมหานครให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งกรุงเทพมหานครสามารถออกกฎหมายและจัดเก็บรายได้ เป็นของตนเอง เช่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีน้ำมัน ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
นโยบายการจัดทำงบประมาณของกรุงเทพมหานครเป็นแบบสมดุล (Balanced budget policy) โดยปีงบประมาณ ของประเทศไทย เริ่มต้นตั้งแต่ 1 ตุลาคม – 30 กันยายน ของปีถัดไป แหล่งที่มาของงบประมาณกรุงเทพมหานครประกอบด้วย
- เงินงบประมาณกรุงเทพมหานครประกอบด้วย รายได้ที่กรุงเทพมหานครจัดเก็บเอง และส่วนราชการอื่นจัดเก็บให้ ค่าธรรมเนียม และค่าใบอนุญาต รายได้จากทรัพย์สิน รายได้จากสาธารณูปโภคและการพาณิชย์ และรายได้เบ็ดเตล็ด
รวมถึงงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ซึ่งมีแหล่งที่มาจากเงินจ่ายขาดจากเงินสะสมของกทม.
- เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ซึ่งจะได้รับการจัดสรรให้ตามภารกิจที่ถ่ายโอนหรือมอบหมายให้กรุงเทพมหานคร
เป็นผู้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในรูปแบบของเงินอุดหนุนประจำปี ซึ่งมีแหล่งที่มาจากเงินภาษีและ เงินจัดสรรงบกลาง ระหว่างปี ซึ่งมีแหล่งที่มาจากภาษีและเงินกู้ยืม โดยกรุงเทพมหานครมีอิสระในการบริหารจัดการงบประมาณ ทั้งในส่วนของเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร และเงินอุดหนุนจากรัฐบาล แต่ทั้งนี้ต้องสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
ตารางข้างต้นแสดงการเปรียบเทียบงบประมาณของกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณพ.ศ. 2561 – 2565 แยกเป็นงบเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และงบประมาณกรุงเทพมหานคร ที่ได้ประกาศใช้ตามกฎหมาย ทั้งนี้ก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งนี้ การจัดทำงบประมาณมีแนวโน้มที่สูงขึ้น แต่เมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ทำให้ต้องมีการปรับการจัดทำ งบประมาณให้สอดคล้องกับสถานการณ์วิกฤตดังกล่าวที่เกิดขึ้น
ตารางข้างต้นแสดงถึงเงินอุดหนุนรัฐบาล และงบประมาณกรุงเทพมหานครปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2565 ซึ่งพบว่า
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2562 เงินอุดหนุนรัฐบาลไม่ได้มีการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม เนื่องจากในขณะนั้น ยังไม่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะที่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2564 มีการจัดสรรงบประมาณ เพิ่มเติมเพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดฯที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง ในขณะที่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2564 เงินงบประมาณกรุงเทพมหานครมีการปรับลดงบประมาณลงจากที่ตั้งไว้ 83,000 ล้านบาท เหลือเพียง 68,000 ล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายและมีการจัดทำงบเพิ่มเติม 2 ฉบับ จำนวน 2,640 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาจากวงเงินงบประมาณที่ถูกปรับลดลงดังกล่าว ปัจจุบันเป็นช่วงต้นปีงบประมาณพ.ศ. 2565
ประเด็นสำคัญในการบริหารจัดการ คือ ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19
โดยสรุป ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้การบริหารจัดการงบประมาณ ต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น โดยสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานครยังปฏิบัติหน้าที่ในการบริหาร และติดตามประเมินผลงบประมาณ ให้หน่วยรับงบประมาณสามารถใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผน เพื่อให้เงินงบประมาณลงสู่ระบบเศรษฐกิจ และประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด
4.สำนักพัฒนาสังคมนำเสนอในหัวข้อ“ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจและมาตรการรองรับและการให้ความช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs)”
นายกานต์ มีสัตย์ธรรม นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ นำเสนอข้อมูล ดังนี้
กรุงเทพมหานครได้กำหนดนโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการ Bangkok Brand และ OTOP เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงขยายเครือข่ายการผลิตขนาดใหญ่ที่มีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน สำหรับโครงการคัดสรรแบรนด์กรุงเทพฯ ภายใต้โครงการนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการคัดเลือกจะสามารถใช้ตราสัญลักษณ์ Bangkok Brand บนผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้า โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ Premium, Gold และ Bronze ขณะเดียวกันได้ดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นธุรกิจในท้องถิ่นและสนับสนุนผลิตภัณฑ์เฉพาะที่ผลิตและจัดจำหน่ายในท้องถิ่น มีการแบ่งประเภทผลิตภัณฑ์ออกเป็น 5 ประเภท 1. ผลิตภัณฑ์อาหาร 2. ผลิตภัณฑ์อาหาร 3.ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและ เครื่องแต่งกาย 4. ผลิตภัณฑ์ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก 5.ผลิตภัณฑ์สมุนไพรผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ต่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ Bangkok Brand และ OTOP การระบาดของโควิด19 ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวมาสู่การจำหน่ายสินค้าออนไลน์แทนการออกร้าน โดยในปี พ.ศ. 2564 มีผู้ประกอบการ Bangkok Brand และ OTOP จำนวน 114 รายจำหน่ายสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ดังนั้นสำนักพัฒนาสังคมจึงได้จัดอบรมหลักสูตรที่สนับสนุนการจำหน่ายและประกอบธุรกิจออนไลน์ให้กับผู้ประกอบการ พร้อมทั้งได้ให้บริการ Bangkok Brand Clinic เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำและช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีในการเข้าถึงตลาดออนไลน์ นอกจากนั้น ระหว่างผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 สำนักพัฒนาสังคมได้จัดกิจกรรมการออกร้านเพื่อจำหน่ายสินค้า “Green Market” ทุกสัปดาห์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการฯ จำหน่ายสินค้าที่ศาลากลางกรุงเทพมหานคร ขณะที่กรมพัฒนาชุมชนฯ ได้จัดกิจกรรมจำหน่ายสินค้า Thai OTOP Fighting COVID 19 Festival เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการเช่นกัน คำถามผลจากการจำหน่ายสินค้าบนช่องทางออนไลน์เป็นอย่างไรบ้างการจำหน่ายออนไลน์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ Bangkok brand ซึ่งมียอดจำหน่ายรวมไม่สูงนักเมื่อเทียบกับการจำหน่ายในงานออกร้าน ซึ่งได้พบลูกค้าโดยตรงทำให้ขายได้มากกว่า สำหรับความท้าทายในการจำหน่ายออนไลน์คือ การทำความเข้าใจดิจิทัลเทคโนโลยี ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึง อย่างไรก็ตามสำนักพัฒนาสังคมได้สนับสนุนการให้ความรู้ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการจำหน่ายบนช่องทางออนไลน์ให้กับ ผู้ประกอบการแล้ว4. สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวนำเสนอในหัวข้อ“ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร” นายสิทธิโชค พัดเย็น นักพัฒนาการ ท่องเที่ยวปฏิบัติการ นำเสนอข้อมูล ดังนี้
4.1 ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวได้รับรางวัลจากมาสเตอร์การ์ดให้เป็น“เมืองที่มีผู้เยี่ยมชมมากที่สุด” สี่ปีซ้อนตั้งเเต่ ปี พ.ศ. 2559 – 2562 สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวหลักที่เป็นที่รู้จัก คือ พระบรมมหาราชวัง วัดอรุณฯ และเยาวราช ส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2562 สูงถึง 6เเสนล้านบาทจากจำนวนนักท่องเที่ยว 24 ล้านคน
เเละหลังจากนั้น ปี พ.ศ. 2563 เกิดการเเพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก่อผลกระทบได้แก่ จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง
จากการประกาศของกระทรวงการต่างประเทศปี พ.ศ. 2562 มีนักท่องเที่ยวประมาณ 24 ล้านคนเเต่ในปี พ.ศ. 2563 และพ.ศ. 2564 นักท่องเที่ยวลดลง 80% เเละ 90% ตามลำดับ ส่งผลให้กรุงเทพมหานครซึ่งเมืองแห่งการท่องเที่ยว มีรายได้จากการท่องเที่ยวลดลงจาก 6เเสนล้านบาท เหลือ 8พันล้านบาท ขณะที่สมาคมโรงเเรมไทย ที่พักเเละการบริการอื่นๆด้านการท่องเที่ยวต้องปิดตัวลง ส่งผลให้คนงานในภาคบริการอย่างน้อย 1 ล้านคนถูกเลิกจ้างจากประสบปัญหาจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไปประมาณ 10 ล้านคน โดยรัฐบาลได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ ภายใต้โครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน”
4.2 การเตรียมตัวเพื่อเปิดประเทศ
กรุงเทพมหานครร่วมมือกับการท่องเที่ยวเเห่งประเทศไทยกำหนดมาตรฐานผู้ให้บริการท่องเที่ยวเพื่อทำให้นักท่องเที่ยวมั่นใจ ภายใต้ชื่อ Amazing Thailand safety and health administration certification โดยมีโรงเเรม ร้านอาหารและตลาดเข้าร่วมโครงการฯ นอกจากนั้น กรุงเทพมหานครได้พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเเละสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ เช่น คลองช่องนนทรี คลองโอ่งอางเพื่อรอต้อนรับนักท่องเที่ยว สำหรับเหตุผลในการเปิดประเทศ เพราะสภาวะทางเศรษฐกิจ