การประชุมผู้นำเมืองหลวงของประเทศสมาชิกอาเซียน ครั้งที่ 7 (The 7th Meeting of Governors/Mayors of ASEAN Capitals : MGMAC)

การประชุมผู้นำเมืองหลวงของประเทศสมาชิกอาเซียน ครั้งที่ 7 (The 7th Meeting of Governors/Mayors of ASEAN Capitals : MGMAC)

     

     

สรุปเนื้อหาการประชุมในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials Meeting : SOM) ระหว่างวันที่ 22 – 24 เมษายน 2562 และการประชุมผู้นำเมืองหลวงของประเทศสมาชิกอาเซียน ครั้งที่ 7 (The 7th Meeting of Governors/Mayors of ASEAN Capitals 2019 : MGMAC 2019) ระหว่างวันที่ 26 – 28  มิถุนายน 2562

 

กลุ่มภารกิจ : โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการ

 

หัวข้อการหารือ : “การส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน (Enhancing Cooperative Network for Sustainable Future)”

 

สถานที่/วันที่

  1. การประชุมในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials Meeting : SOM) ระหว่างวันที่ 22 – 24 เมษายน 2562 ณ โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ
  2. การประชุมผู้นำเมืองหลวงของประเทศสมาชิกอาเซียน ครั้งที่ 7 (The 7th Meeting of Governors/ Mayors of ASEAN Capitals 2019 : MGMAC 2019) ระหว่างวันที่ 26–28 มิถุนายน 2562
    ณ โรงแรมแชงกรี-ล่า เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร

 

สรุปเนื้อหา

  1. การประชุมในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials Meeting: SOM)

ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 – 24 เมษายน 2562 ณ โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น
การประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการจัดการประชุมผู้นำเมืองหลวงของประเทศสมาชิกอาเซียน ที่จะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายนและได้เน้นถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนแนวคิด องค์ความรู้ และการปฏิบัติงาน
อันเป็นเลิศจากเมืองหลวงอาเซียน พร้อมทั้งสนับสนุนโครงการความร่วมมือระหว่างเมืองอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน ซึ่งที่ประชุมร่วมแสดงความคิดเห็นภายใต้ 4 หัวข้อ ดังนี้

                        1.1 การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

    1.2 การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี

                          1.3 สังคมผู้สูงอายุและนโยบายการดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุในเมือง

    1.4 การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อความเป็นอยู่อัจฉริยะ

                    จากนั้นที่ประชุมได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสร้าง
ความร่วมมือในกลุ่มเมืองหลวงของประเทศอาเซียน โดยกรุงเทพมหานครได้เสนอโครงการ PLC เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างเมือง ซึ่งกรุงบันดาร์เสรีเบกาวันและกรุงเนปยีดอเห็นด้วยต่อการสร้างความร่วมมือประเด็นดังกล่าว อย่างไรก็ดี กรุงพนมเปญเสนอโครงการความร่วมมือด้านอื่นๆ เช่น การแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่เพื่อร่วมพัฒนาที่ดินหรือการใช้ประโยชน์จากที่ดินในเมืองของกรุงพนมเปญ การวางผังเมือง และการคมนาคม เช่นเดียวกับกรุงกัวลาลัมเปอร์ที่เห็นด้วยกับความร่วมมือในการวางผังเมืองให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนา
และสิงคโปร์ได้เสนอโครงการนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร

  1. การประชุมผู้นำเมืองหลวงของประเทศสมาชิกอาเซียน ครั้งที่ 7 (The 7th Meeting of Governors/Mayors of ASEAN Capitals 2019 : MGMAC 2019)

ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 28  มิถุนายน 2562 ณ โรงแรมแชงกรี–ลา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้นำเมืองหลวงได้มีเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์และส่งเสริมความร่วมมือในกรอบอาเซียนในระดับเมือง อีกทั้งเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเมืองหลวงในภูมิภาคอาเซียนให้แน่นแฟ้น
ยิ่งขึ้น และร่วมกันนำข้อสรุปของการประชุมอาเซียนในระดับประเทศมาเป็นแนวปฏิบัติที่ให้ความสำคัญกับ
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยเน้นความเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืน ซึ่งผู้นำเมืองหลวงอาเซียน ผู้แทนเมือง และผู้เข้าร่วมประชุมจากทุกเมืองได้ร่วมกันถ่ายทอดวิสัยทัศน์ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์
เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในอนาคต ตามกรอบประชาคมอาเซียนภายใต้ 3 เสาหลัก ดังนี้

                              - กรุงเทพมหานคร นำเสนอเรื่องการพัฒนาศักยภาพเยาวชนโครงการสร้างแรงบันดาลใจศึกษาภาษาที่ ๒ หรือโครงการ Friend-to-Friend และโครงการศูนย์ข่าวนักเรียนกรุงเทพมหานคร–อาเซียน     และการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ยั่งยืน โดยยกตัวอย่างชุมชนเก่าหัวตะเข้

                              - กรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน นำเสนอเรื่องความปลอดภัยสาธารณะ ได้แก่ โครงการตำรวจจักรยานลาดตระเวน นอกจากนี้ ยังมีโครงการ “คลังสินค้าสีเขียว” (Green Depot) ซึ่งเป็นโครงการบริหารจัดการขยะผ่านระบบรีไซเคิลของชุมชน

                              - กรุงพนมเปญ นำเสนอโครงการแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำท่วม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการระบายน้ำของเมืองและป้องกันเมืองจากภาวะน้ำท่วม

                              - นครหลวงเวียงจันทน์ นำเสนอการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวโดยมุ่งเน้นการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการความร่วมมือกับเมือง
ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong)                

                                      - กรุงกัวลาลัมเปอร์ นำเสนอโครงการพัฒนาพื้นที่สีเขียวเพื่อยกระดับกรุงกัวลาลัมเปอร์ให้เป็นเมืองหลวงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและเป็นเมืองที่ดียิ่งขึ้น

                               - กรุงเนปยีดอ นำเสนอเรื่องการพัฒนาเมืองด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างเมืองสีเขียว และนโยบายเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

                               - สาธารณรัฐสิงคโปร์ นำเสนอเรื่องการสร้างสังคมผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ ผ่านโครงการต่างๆ ได้แก่ โครงการสร้างโอกาสให้กับทุกวัย โครงการกัมปง (หมู่บ้าน) สำหรับทุกวัย เป็นต้น

                               - กรุงฮานอย นำเสนอเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกับภาครัฐ

                         จากนั้นผู้นำเมืองหลวงได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและเห็นพ้องที่จะดำเนินโครงการร่วมกัน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาศักยภาพเยาวชนอาเซียนและโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
อีกทั้งยังมีข้อเสนอให้ส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง เพื่อที่เยาวชนจะได้มีทักษะภาษาอังกฤษเทียบเท่ากับเยาวชนอาเซียนเมืองอื่นๆ โดยผู้แทนสำนักเลขาธิการอาเซียนให้ความเห็นว่า หน่วยงานย่อยของสำนักเลขาธิการอาเซียนสามารถทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนและประสานความร่วมมือระหว่างเมืองหลวงอาเซียนได้ เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างเมืองหลวงอาเซียนอย่างเข้มแข็งและใกล้ชิด ซึ่งผลจาก
การประชุมได้บรรลุเป้าหมายตามหัวข้อหลักของการประชุมคือ “การส่งเสริมความร่วมมือเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน”

                         ช่วงท้ายผู้นำเมืองหลวงอาเซียนได้ร่วมกันลงนามในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงและให้คำมั่นต่อกันในการสร้างสรรค์สังคมที่มีสันติภาพ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในบริบทของเมืองหลวง สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และพหุวัฒนธรรม รวมถึงแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และองค์ความรู้ในประเด็นเกี่ยวกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาเมือง การส่งเสริมนโยบายการดูแลผู้สูงอายุและการสร้างเมืองสำหรับทุกคน ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีสำหรับการอยู่อาศัยในเมืองของทุกคนอย่างมีความสุขและยั่งยืน

 

การดำเนินงานต่อเนื่อง

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงนามคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ 4271/2562 ลงวันที่
27 ธันวาคม 2562 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนความร่วมมือกับเมืองหลวงประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและกำหนดโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างเมืองหลวงประเทศสมาชิกอาเซียนตามปฏิญญากรุงเทพอย่างเป็นรูปธรรม
ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบให้ดำเนินความร่วมมือตามกรอบ ดังนี้

- กรอบความร่วมมือแบบทวิภาคีร่วมกับสาธารณรัฐสิงคโปร์

                       (1) ดานการสรางเมืองสําหรับทุกคน (City for All) ซึ่งกรุงเทพมหานครสามารถนำมาเป็นต้นแบบเพื่อการพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะในอนาคตในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง (TOD) การสร้างพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart City) การสร้างเมืองสีเขียว (Green City) และ     การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักการวางผังและ       พัฒนาเมือง สำนักสิ่งแวดล้อม สำนักการจราจรและขนส่ง และสำนักการโยธา

(2) ด้านโรงเรียนกีฬา (Sport School) เพื่อนำมาเป็นต้นแบบของโรงเรียนกีฬาของกรุงเทพมหานครในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การบริหารจัดการอย่างเต็มรูปแบบ วิทยาศาสตร์การกีฬาและกายภาพและโครงสร้างหลักสูตร โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว และสำนักการศึกษา

 - กรอบความร่วมมือแบบพหุพาคีร่วมกับเมืองหลวงที่มีความพร้อมและมีศักยภาพ

   (1) ด้านค่ายเยาวชนอาเซียน เพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชนอาเซียน ได้แก่ การแลกเปลี่ยนทางภาษา การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การสร้างความร่วมมืออย่างยั่งยืน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว และสำนักการศึกษา

    (2) ด้านการดูแลผู้สูงอายุ (PLC) เพื่อต่อยอดความร่วมมือระหว่างเมืองหลวงอาเซียน ได้แก่ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และวิธีปฏิบัติอันเป็นเลิศ (Best Practice) การนำความรู้และประสบการณ์    มาต่อยอดเพื่อนำไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักการแพทย์และสำนักอนามัย

 

ข้อเสนอแนะ
ติดตามเรา