นครซัวเถา สาธารณรัฐประชาชนจีน
นครซัวเถา
ข้อมูลเมือง
ประวัติศาสตร์
นครซัวเถา หรือซานโถว (汕头) เป็นเมืองท่าชายฝั่งตะวันออกของจีน ตั้งอยู่ในมณฑลกวางตุ้งโดยถือเป็นหนึ่งในเขตอารยธรรมจีนที่เรียกว่า จีนแต้จิ๋ว หรือแต้ซัว ซึ่งประกอบด้วย 3 จังหวัด ได้แก่ แต้จิ๋ว ซัวเถา และกิ๊กเอี๊ย นครซัวเถาเป็นหนึ่งในถิ่นฐานของชาวจีนแต้จิ๋วที่พูดภาษาแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นภาษาที่แยกย่อยมาจากภาษาหมินใต้ (ฮกเกี้ยนใต้) ในสมัยราชวงศ์ซ้อง นครซัวเถาเคยเป็นเมืองท่าของเมืองถัวเจียง ในปี พ.ศ. 2106 (ค.ศ. 1563) นครซัวเถาเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเฉิงไห่ หรือเถ่งไฮ่ (ภาษาแต้จิ๋ว) ในเมืองเฉาโจวหรือเมืองแต้จิ๋วในปัจจุบัน ในตอนนั้นนครซัวเถาถูกเรียกว่า ชาชานปิง ส่วนคำว่าซัวเถานั้นถูกเรียกเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากเครื่องชาม ที่เรียกว่า ชาชาน โทวเปาไท ในอดีตนครซัวเถาเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ เมื่อเริ่มมีการขยายตัวของเมืองและเป็นท่าเรือในการคมนาคม เริ่มมีร้านค้ากิจการต่างๆ จนต่อมาถูกยกระดับฐานะขึ้นเป็นเมืองท่านานาชาติ ในศตวรรษที่ 18 ก่อนจะกลายมาเป็น 1 ใน 4 เมืองเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีนในปัจจุบัน
พื้นที่และประชากร
นครซัวเถามีพื้นที่ทั้งหมด 2,248 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรอาศัยอยู่ถาวร 5.502 ล้านคน
ภูมิศาสตร์
- นครซัวเถาเป็นเมืองทางตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง ตั้งอยู่ทางใต้ของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฮันเจียง นครซัวเถาตั้งอยู่ระหว่างลองจิจูด 116°14'40" ตะวันออก ถึง 117°19'35" ตะวันออก และละติจูด 23°02'33" เหนือ ถึง 23°38'50" ตะวันออก ตั้งอยู่ห่างจากเกาะฮ่องกงเป็นระยะทาง 187 ไมล์ทะเล และห่างจากเมืองเกาสงในไต้หวัน (สาธารณรัฐจีน) เป็นระยะทาง 160 ไมล์ทะเล
- นครซัวเถาประกอบด้วยที่ราบลุ่มน้ำสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ 63.62 ของพื้นที่ทั้งเมือง รองลงมาคือภูเขาที่เป็นเนินเขา คิดเป็นร้อยละ 30.40 ของพื้นที่ดิน และที่ราบสูงอันดับสามคิดเป็นร้อยละ 5.98 ของพื้นที่ทั้งหมด
- นครซัวเถาเป็นจุดเปลี่ยนเส้นทางการขนส่งที่สำคัญในมณฑลกวางตุ้งตะวันออก มณฑลเจียงซีใต้ และภูมิภาคฝูเจี้ยนตะวันตกเฉียงใต้
- นครซัวเถาเป็นท่าเรือนำเข้าและส่งออกศูนย์กระจายสินค้าที่รู้จักกันในนาม “ศูนย์การสื่อสารของจีนตอนใต้และประตูสู่มณฑลกวางตุ้งตะวันออก”
แผนที่นครซัวเถา (Shantou) ที่ตั้งอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง - โดย Researchgate
การขนส่ง
นครซัวเถามุ่งเน้นสร้างศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งครบวงจรระดับชาติระดับสูง โดยเร่งความเร็วการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่มหานครซัวเถา-เฉาโจว-เจียหยาง และเขตเศรษฐกิจพิเศษอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า กลุ่มเมืองชายฝั่งกวางตุ้ง-ฝูเจี้ยน-เจ้อเจียง และสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี
นครซัวเถามีทางด่วน 6 สาย ได้แก่ 1) เสิ่นหยาง-ไหโข่ว 2) ซัวเถา-คุนหมิง 3) เฉาโจว-ฮุ่ยโจว 4) เจี๋ยหยาง-ฮุ่ยโจว 5) ซัวเถา-จ้านเจียง 6) ถนนวงแหวนแต้จิ๋ว-ซัวเถา
นครซัวเถามีท่าเรือซัวเถา “Shantou Port” เป็นท่าเรือสำคัญและการคมนาคมขนส่งศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศในภาคตะวันออกเฉียงใต้ชายฝั่งของจีนซึ่งติดอันดับ 1 ใน 27 ท่าเรือชายฝั่งทะเลหลักของจีนและ 1 ใน 15 โหนดการก่อสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” นครซัวเถามีท่าเทียบเรือจำนวน 35 ท่า พร้อมอาคารผู้โดยสารมีกำลังการผลิต 42.02 ล้านตัน และเปิดเส้นทางการค้าระหว่างประเทศ 22 เส้นทาง มีความจุคอนเทนเนอร์ถึง 1.63 ล้าน TEU (หน่วยนับสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งมีความยาว 20 ฟุต)
การเดินทางในเมือง
- รถโดยสารประจำทาง: การขนส่งสาธารณะที่คุ้มค่าที่สุด ซึ่งโดยปกติจะมีราคาเพียง 2 หยวนต่อเที่ยว
- แท็กซี่: ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “DiDi” (คล้ายกับ Uber) เพื่อเรียกใช้บริการ
- จักรยาน: ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันแบ่งปันจักรยานบนโทรศัพท์มือถือเพื่อใช้บริการเช่าจักรยาน
การเดินทางจากนครซัวเถาไปนอกเมือง
- รถไฟความเร็วสูง: สะดวกในการเดินทางไปยังเมืองสำคัญอื่นๆ เช่น ฮ่องกง กวางโจว เซินเจิ้น เซียะเหมิน อู่ฮั่น และเฉิงตู สามารถซื้อตั๋วได้ทางออนไลน์และไปรับที่ร้านค้าในตัวเมืองหรือที่สถานีรถไฟความเร็วสูงเฉาซาน (Chaoshan High-speed Railway Station)
- รถโค้ชระยะไกล: นครซัวเถาเป็น 1 ใน 45 เมืองศูนย์กลางทางหลวงหลักและเครือข่ายนี้สะดวกมากสำหรับการเดินทาง
- เครื่องบิน: สนามบินนานาชาติเจียหยางเฉาซาน (Jieyang Chaoshan International Airport (IATA: SWA)) เชื่อมโยงภายในประเทศกับเมืองใหญ่ในจีน และให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศไปยังมาเก๊า กรุงเทพมหานคร สิงคโปร์ กัวลาลัมเปอร์ ไทจง เนปิดอว์ และกรุงโซล
เศรษฐกิจ
นครซัวเถาเริ่มพัฒนาด้านอุตสาหกรรมตั้งแต่ปีพ.ศ. 2492 มีการผลิตที่หลากหลายในปริมาณมหาศาล นอกจากนี้การพัฒนาของนครซัวเถายังมีความเชื่อมโยงกับ “การเปิดกว้าง” และ “ทุนและอำนาจจีนโพ้นทะเล” โดยในตอนต้นศตวรรษที่ 20 ชาวจีนโพ้นทะเลสร้างทางรถไฟสายแรกในนครซัวเถา ประปาแห่งแรก และโรงไฟฟ้าแห่งแรก ในปีพ.ศ. 2524 มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในนครซัวเถา และได้ขยายไปจนครอบคลุมเขตนครซัวเถาทั้งหมดในปีพ.ศ. 2534 ซึ่งถือเป็นการนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างขยาย ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์จากนครซัวเถาเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ ซึ่งได้แก่ อุตสาหกรรมเคมีแสง เครื่องมืออัลตราโซนิก ผลิตภัณฑ์แมกนีโตแกรมและอิเล็กทรอนิกส์ ของเล่น สิ่งทอ อาหารแปรรูป งานเขียนแบบ งานหัตถกรรม และงานเย็บปักถักร้อย
- เขตคลังสินค้าทัณฑ์บนที่ครอบคลุมนครซัวเถา (Shantou Comprehensive Bonded Zone): เป็นพื้นที่ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของศุลกากรพิเศษ มีการเปิดกว้างในระดับสูงสุด มีนโยบายที่ให้สิทธิพิเศษมากที่สุด และทำหน้าที่ได้ครบถ้วนที่สุด นอกจากนี้ เขตคลังสินค้าทัณฑ์บนที่ครอบคลุมนครซัวเถายังเป็นพื้นที่ทัณฑ์บนที่ครอบคลุมเพียงแห่งเดียวในมณฑลกวางตุ้งทางตะวันออกของจีน
- เขตทดลองความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมชาวจีนโพ้นทะเลซัวเถา (Shantou Overseas Chinese Economic and Cultural Cooperation Experimental Zone): ได้รับการอนุมัติจากสภาแห่งรัฐในปี พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) เป็นเวทีการพัฒนาระดับชาติเพียงแห่งเดียวที่ตั้งชื่อตามชาวจีนโพ้นทะเล โดยคำนึงถึงลักษณะของชาวจีนโพ้นทะเลและวัฒนธรรมครอบคลุมพื้นที่บางส่วนในเขตหลงหู เขตเฉิงไห่ เขตห่าวเจียง และอำเภอหนานอ้าว และถูกวางให้เป็นเขตเศรษฐกิจ มีอุตสาหกรรมหลัก 9 ชนิด ได้แก่ การเงินข้ามพรมแดน นิทรรศการธุรกิจ การค้าทรัพยากรและพลังงาน ความคิดสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม การท่องเที่ยวและการพักผ่อน การศึกษาและการฝึกอบรม บริการทางการแพทย์ สารสนเทศ และการเดินเรือ
- เขตการพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทคซัวเถา (Shantou High-tech Industrial Development Zone): มุ่งมั่นที่จะสร้างแหล่งนวัตกรรมระดับภูมิภาค เน้นส่งเสริมการก่อสร้างสวนอุตสาหกรรม 5G และพัฒนาอุตสาหกรรมสำคัญๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ วัสดุใหม่ ชีวเภสัชภัณฑ์ ฯลฯ
นครซัวมีนโยบายสร้างแรงจูงใจแก่นักลงทุนที่เข้าไปลงทุนในเมืองตามมาตรการโครงการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมที่สำคัญในนครซัวเถาพ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) โดยมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมการผลิตขั้นสูงและบริการที่ทันสมัยเพื่อเร่งการเปิดตัวโครงการอุตสาหกรรมคุณภาพสูง ซึ่งแรงจูงใจต่างๆ ประกอบด้วย
- แรงจูงใจในการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร: สัดส่วนที่แน่นนอนของรางวัลที่ให้แก่ผู้ลงทุนในโครงการการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร โดยแต่ละองค์กรจะได้รับรางวัลสูงสุดถึง 30 ล้านหยวน
- แรงจูงใจในการพัฒนาโครงการ
- แรงจูงใจในการให้ส่วนลดสินเชื่อ
- แรงจูงใจข้อเสนอแนะ
- แรงจูงใจโครงการขนาดใหญ่
ค่าเฉลี่ยสภาพอากาศและภูมิอากาศรายปีในนครซัวเถา
อุณหภูมิสูงสุด : |
32 |
°C |
อุณหภูมิต่ำสุด : |
11 |
°C |
อุณหภูมิเฉลี่ย : |
23 |
°C |
ความชื้นสัมพัทธ์ |
79 |
% |
หยาดน้ำฟ้า: |
64.5 |
mm |
ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยสะสมรายปี: |
773.4 |
mm (per year) |
อุณหภูมิจุดน้ำค้าง: |
18 |
°C |
ความเร็วลมโดยเฉลี่ย: |
10 |
km/h |
ความกดอากาศโดยเฉลี่ยต่อปี: |
1014 |
mbar |
ทัศนวิสัย |
10 |
km |
สถานที่สำคัญ
|
|
เกาะ Nan’ao Island- ภาพจาก Li Chang/ Flickr |
อุทยานจงซาน (Zhongshan Park)- ภาพจาก Leo_li Photography/ Flickr |
|
|
จุดชมวิว Queshi (Queshi Scenic Area)- ภาพจาก Tripadvisor |
รีสอร์ทน้ำพุร้อนภูเขาโลตัส (Lotus Mountain Hot Springs Resort)- ภาพจาก hotel.elong.net |
|
|
วัดหลงฉวน (หินมังกร) (Longquan (Dragon Rock) Temple) - ภาพจาก Tripadvisor |
บ้านพักเฉิน ฉือหง (Chen Cihong Mansion)- ภาพจาก Tripadvisor |
|
|
อนุสาวรีย์เขตร้อนของโลก (Tropic of Cancer Monument) - ภาพจาก Tripadvisor |
สวนภูมิทัศน์ Shantou Xitang (Shantou Xitang Landscape Garden) - ภาพจาก Tripadvisor |
ความตกลงเมืองพี่เมืองน้อง
- 2 มีนาคม 2543 ผู้ว่าราชการนครซัวเถา และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงนามในข้อตกลงการสถาปนาความสัมพันธ์และความร่วมมือทางด้านการศึกษา วัฒนธรรม การท่องเที่ยว เศรษฐกิจและการค้า ระหว่างนครซัวเถา มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีนและกรุงเทพมหานคร ราชอาณาจักรไทย
ชื่อผู้นำ Zeng Fengbao นายกเทศมนตรี (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2566)
เว็บไซต์ https://english.shantou.gov.cn
Download: Agreement on the Establishment of Relation and Cooperation
ผลการดำเนินกิจกรรมภายหลังลงนาม
ลำดับ |
วัน/เดือน/ปี |
กิจกรรม |
สถานที่ |
ลิงค์ รูปภาพ/วีดีโอ อัลบั้ม |
1 |
2 มีนาคม 2543 |
ผู้ว่าราชการนครซัวเถา และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงนามในข้อตกลงการสถาปนาความสัมพันธ์และความร่วมมือทางด้านการศึกษา วัฒนธรรม การท่องเที่ยว เศรษฐกิจและการค้า ระหว่างนครซัวเถา มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีนและกรุงเทพมหานคร ราชอาณาจักรไทย |
นครซัวเถา |
|
2 |
7 กรกฎาคม 2566 |
นายเหวิน จ้านปิน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สาธารณรัฐประชาชนจีนประจำเทศบาลนครซัวเถา พร้อมคณะเข้าเยี่ยมคารวะนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อหารือความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า วัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาระหว่างนครซัวเถาและกรุงเทพมหานคร ณ ห้องอมรพิมาน ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า |
กรุงเทพมหานคร |
|
3 |
26 กันยายน 2566 |
นครซัวเถากำลังวางแผนที่จะเริ่มจัดงานวันส่งเสริมเมืองพี่เมืองน้อง จึงส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ Invest in Shantou (PDF) เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและศักยภาพการลงทุนในอุตสาหกรรมในนครซัวเถา |
ออนไลน์ |
|
As of Jan 2024