กรุงนูร์-สุลต่าน สาธารณรัฐคาซัคสถาน

กรุงนูร์-สุลต่าน

แม่น้ำเยซิล - สำนักข่าว The Astana Times (ออนไลน์)
ข้อมูลเมือง
กรุงนูร์-สุลต่าน เดิมคือกรุงอัสตานาและกรุงอักโมลา เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของสาธารณรัฐคาซัคสถาน แนวความคิดในการสร้างเมืองหลวงใหม่ที่ทันสมัยของสาธารณรัฐคาซัคสถานเป็นของประธานาธิบดี เมืองได้เปลี่ยนชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดี นูร์สุลต่าน นาซาร์บาเยฟ ผู้นำที่ลาออกอย่างไม่คาดคิด เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2561
กรุงนูร์-สุลต่านเป็นเมืองหลวงที่อยู่เหนือสุดในทวีปเอเชีย ปัจจุบัน เมืองมีขนาดพื้นที่ทั้งหมดมากกว่า 722 ตารางกิโลเมตร ขนาดประชากรของเมืองมีประมาณเกือบ 853,000 คน ประกอบด้วย 3 เขต คือ เขตอัลมาตี เขตซาร์ยาร์กา และเขตเยซิล

แผนที่ที่ตั้งกรุงนูร์-สุลต่าน
กรุงนูร์-สุลต่านตั้งอยู่ตอนกลางของสาธารณรัฐคาซัคสถาน ในเขตทุ่งหญ้าสเตปป์ที่แห้งแล้งและในเขตย่อยทุ่งหญ้าสเตปป์ที่มีหญ้าเขียว เหนือที่ราบน้ำท่วม แม่น้ำเยซิลเป็นทางน้ำสายหลักของเมืองหลวง
ด้วยที่ตั้งของเมืองตั้งอยู่ตอนกลางของมหาทวีปยูเรเซีย ทำให้กรุงนูร์-สุลต่านเป็นศูนย์กลางการขนส่ง การสื่อสาร และโลจิสติกส์ ที่ได้เปรียบทางเศรษฐกิจ และเป็นสะพานธรรมชาติระหว่างทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย
เศรษฐกิจของกรุงนูร์-สุลต่านขึ้นอยู่กับการค้า การผลิตทางอุตสาหกรรม การคมนาคม การสื่อสาร และการปลูกสร้าง ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลักประกอบด้วย วัสดุสิ่งก่อสร้าง อาหาร และวิศวกรรมเครื่องกล เป็นเมืองที่มีธุรกิจและผู้ประกอบการใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐคาซัคสถาน มีผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) กว่า 128,000 ราย เงินเดือนโดยเฉลี่ยต่อเดือนของผู้ที่อาศัยในกรุงนูร์-สุลต่านคิดเป็น 154,000 เทงกี
อนุสาวรีย์ไบทีเรกเป็นสัญลักษณ์และตราที่สำคัญของกรุงนูร์-สุลต่าน สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญประกอบด้วย วังสันติภาพและการปรองดอง ที่ออกแบบโดย สถาปนิกชื่อดังชาวอังกฤษ นอร์แมน ฟอสเตอร์ ศูนย์การค้าและความบันเทิง ข่าน ชาทีร์ ที่สร้างขึ้นในรูปทรงแบบเต็นท์ และดูมาน พิพิธภัณฑ์สัตว์ทะเลที่อยู่ไกลที่สุดในโลก
นอกจากนี้ มีโรงละครโอเปราอัสตานา มัสยิดฮาซเร็ต สุลต่าน ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียกลาง อาสนวิหารอัสสัมชัญที่เป็นอาสนวิหารออธอด็อกของอัครสังฆมณฑลแห่งพระแม่มารี โบสถ์ยิวเบ็ต ราเชล รวมถึงหอแสดงดนตรีกลางคาซัคสถาน อนุสาวรีย์คาซัค เยลิ พิพิธภัณฑ์สศิลปะสมัยใหม่และศูนย์วัฒนธรรมประธานาธิบดี สนามกีฬาอัสตานาอารีนา ศูนย์กีฬาจักรยานแห่งชาติซารีอาร์คา วังน้ำแข็งอาลาอู เป็นต้น
สภาพอากาศและภูมิอากาศโดยเฉลี่ยทั้งปีในกรุงนูร์-สุลต่าน
อุณหภูมิสูงสุด: 27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุด: -20 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิเฉลี่ย: 3 องศาเซลเซียส
หยาดน้ำฟ้า: 4.4 มิลลิเมตร
ความชื้น: 69 %
ปริมาณน้ำฝนต่อปี: 52.4 มิลลิเมตร (ต่อปี)
อุณหภูมิจุดน้ำค้าง: -3 องศาเซลเซียส
แรงลม: 14 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ความกดอากาศ: 1,020 มิลลิบาร์
ทัศนวิสัย: 14 กิโลเมตร
เขตเวลา: กรุงนูร์-สุลต่าน สาธารณรัฐคาซัคสถาน (เวลามาตรฐานกรีนิช (GMT) + 6)
หน่วยเงินตรา: คาซัคสถาน เทงกี (Kazakhstan Tenge (KZT))
รหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศ: +7 7172
สนามบิน: สนามบินนานาชาตินูร์สุลต่าน นาซาร์บาเยฟ; (IATA: TSE, ICAO: UACC)
แหล่งที่มา: - Ministry of Foreign Affairs. Republic of Kazakhstan. 2018. 20TH ANNIVERSARY OF ASTANA - CAPITAL OF THE REPUBLIC OF KAZAKHSTAN. [Online]. [20 November 2018]. Available from: mfa.gov.kz/ms/kuala-lumpur/content-view/astana-stolica-respubliki-kazahstan-4
- United Nations. 2018. The World's Cities in 2018. [Online]. [15 January 2019]. Available from: www.un.org
- Time and Date. 2019. [Online]. [22 January 2019]. Available from: timeanddate.com
สถานที่สำคัญ:

 |
 |
 |
โรงละครโอเปราอัสตานา – ภาพจากเว็บไซต์ทางการของโรงละครโอเปราอัสตานา
|
มัสยิดฮาซเร็ต สุลต่าน – ภาพจาก GH Productions
|
อาสนวิหารอัสสัมชัญ – ภาพจาก Nur-Sultan |

|

|
 |
โบสถ์ยิวเบ็ต ราเชล – ภาพจาก twitter.com/jewdas
|
หอแสดงดนตรีกลางคาซัคสถาน – ภาพจาก ticketon.me
|
วังน้ำแข็งอาลาอู – ภาพจาก Wikipedia
|
|

|
|
|
อนุสาวรีย์คาซัค เยลิ – ภาพจาก World Nature on a Shoestring
|
|
ความตกลงเมืองพี่เมืองน้อง
เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2547 นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนายอูมีร์ซัค ชูเคเยฟ นายกเทศมนตรีกรุงอัสตานา ได้ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการสถาปนาความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกรุงอัสตานาแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถานและกรุงเทพมหานครแห่งราชอาณาจักรไทย
ผู้นำ: นายคูกินอฟ อัลไต เซอิดิโรวิช นายกเทศมนตรีกรุงนูร์-สุลต่าน
(ข้อมูลปัจจุบัน ณ เดือนพฤษภาคม 2564)
เว็บไซต์ Official web-site of the Nur-Sultan city akimat (astana.gov.kz)
ดาวน์โหลด Agreement
รายละเอียดข้อตกลง : Agreement on Establishment of Bilateral Relations (ข้อตกลงการสถาปนาความสัมพันธ์ทวิภาคี) ดาวน์โหลด เอกสารลงนามข้อตกลงเมืองพี่เมืองน้อง อัสตานา
ผลการดำเนินกิจกรรมภายหลังลงนาม
ลำดับ |
วัน เดือน ปี |
กิจกรรม |
สถานที่จัดกิจกรรม |
ลิงค์ รูปภาพ/วีดีโอ อัลบั้ม |
1 |
11 มิถุนายน 2547 |
นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนายอูมีร์ซัค ชูเคเยฟ นายกเทศมนตรีกรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน ได้ลงนามข้อตกลงว่าด้วยการสถาปนาความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกรุงอัสตานาแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถานและกรุงเทพมหานครแห่งราชอาณาจักรไทย |
กรุงนูร์-สุลต่าน |
|
2 |
20 พฤศจิกายน 2557 |
เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐคาซัคสถานประจำประเทศไทยเข้าเยี่ยมคารวะหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร |
กรุงเทพมหานคร |
|
3 |
26 กรกฎาคม 2561 |
นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมพิธีเปิดนิทรรศการภาพถ่าย “กรุงอัสตานา – เมืองหลวงแห่งทุ่งหญ้าสเตปป์ที่ยิ่งใหญ่” เจ้าภาพโดย นางราอูชาน เยสบูลาโตวา เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐคาซัคสถานประจำราชอาณาจักรไทย งานดังกล่าวเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องระหว่างกรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน กับกรุงเทพมหานคร |
กรุงเทพมหานคร |
|
4 |
16 - 17 พฤษภาคม 2562 |
คณะผู้แทนจากกรุงเทพมหานคร นำโดย นายวัลลภ สุวรรณดี ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมการประชุมประจำปี ครั้งที่ 12 ของการประชุมทางเศรษฐกิจกรุงอัสตานา |
กรุงนูร์-สุลต่าน |
|
5 |
27 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2562 |
คณะผู้แทนจากกรุงนูร์-สุลต่าน นำโดย นายโบลัต มาชากูลอฟ ผู้อำนวยการกรมวัฒนธรรมและกีฬา กรุงนูร์-สุลต่าน พร้อมกับคณะนักแสดงกรุงนูร์-สุลต่าน เข้าร่วมงานสัปดาห์เมืองพี่เมืองน้อง 2562 |
กรุงเทพมหานคร |
|
|
|
|
|
|
ข้อมูล ณ พฤษภาคม 2564