กรุงเตหะราน สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน

กรุงเตหะราน สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน

กรุงเตหะราน

กรุงเตหะราน - ภาพโดย Tehran Municipality

ข้อมูลเมือง

กรุงเตหะรานตั้งอยู่ตอนกลางค่อนไปทางเหนือของประเทศบริเวณเชิงเขาเอลโบร์ซ ชื่อ “เตหะราน” แปลว่า “หุบเขาแห่งความสุข” ในภาษาเปอร์เซีย เมืองหลวงแห่งนี้โอบล้อมด้วยขุนเขา มีสภาพอากาศที่แตกต่างมากในช่วงกลางวันและกลางคืน ในแต่ละฤดูก็มีสภาพแตกต่างกันอย่างน่าสนใจ นับตั้งแต่มีการก่อตั้งเป็นเมืองหลวงโดยกษัตริย์อากา โมฮัมหมัด ข่าน เมื่อกว่า 200 ปีก่อน กรุงเตหะรานได้เติบโตขึ้นจากเมืองเล็ก ๆ ไปสู่มหานครใหญ่มีประชากร 14 ล้านคน เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านและเป็นหนึ่งในเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของโลก มีขนาดพื้นที่ 730 ตารางกิโลเมตร ด้วยภูมิประเทศที่น่าทึ่งที่สะท้อนถึงความใกล้ชิดกับยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศ กรุงเตหะรานจึงเป็นประตูสู่โลกภายนอกของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ภาพลักษณ์ของกรุงเตหะรานที่ได้ถ่ายทอดสู่ภายนอกได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการปฏิวัติอิหร่านในช่วงปลายทศวรรษที่ 70 และเมื่อช่วงสองทศวรรษหลังของศตวรรษที่ 20 บทความในหนังสือพิมพ์ทั่วโลกต่างได้แสดงให้เห็นว่ากรุงเตหะรานเป็นเมืองที่เคร่งครัดทางด้านศาสนาที่เปี่ยมไปด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีได้ต่อสู้กับความทันสมัยและความเป็นตะวันตก ในขณะที่ภาพลักษณ์ของชาวอิหร่านเองเป็นภาพของชนโบราณที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมรดกอันมากมาย อาคารส่วนใหญ่สร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในช่วงหลังกลางทศวรรษ 1960 และประชากรมีอายุเฉลี่ยประมาณ 31 ปี ทั้งนี้กรุงเตหะรานมีการเปลี่ยนแปลงและแบ่งแยกชนชั้นทางสังคมอย่างมากระหว่างคนรวยและคนจนส่งผลให้เกิดความตึงเครียดและความวุ่นวายที่สะท้อนให้เห็นจากการปฏิวัติสองครั้งและการเคลื่อนไหวทางสังคมจำนวนมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 อีกด้วย

กรุงเตหะรานแบ่งออกเป็น 22 เขต แต่ละเขตมีเทศบาลเขตเป็นของตนเอง อยู่ภายใต้เทศบาลกรุงเตหะรานที่มีขนาดใหญ่กว่า รัฐสภาแรกภายหลังการปฏิวัติรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2449) ออกกฎหมายสำหรับองค์กรเทศบาลที่นำโดยนายกเทศมนตรีและควบคุมโดยสภาผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้ง กรอบทำงานด้านกฎหมายนี้ยังคงดำเนินต่อไปอย่างกว้างขวางแม้กระทั่งภายหลังการปฏิวัติอิหร่าน (พ.ศ. 2521 – 22) ตลอดระยะเวลาเกือบศตวรรษที่ 20 สภาเมืองที่มาจากการเลือกตั้งได้เข้ารับตำแหน่งมาเป็นระยะ ๆ และกิจการท้องถิ่นยังคงไม่ได้รับความเป็นอิสระอย่างเต็มที่จากอิทธิพลของรัฐบาลกลางที่ยังคงผูกขาดในอำนาจ ภายหลังจากการเว้นว่างไปเป็นเวลานาน สภากรุงเตหะรานได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2542 โดยได้รับการสนับสนุนจากการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาพื้นที่ใกล้เคียงที่มาจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2549 แม้ว่าความขัดแย้งส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับความผันผวนทางสังคมและเศรษฐกิจต่าง ๆ แต่ความพยายามของเทศบาลในการคุ้มกันความเป็นอิสระทางการเงินในระดับหนึ่งจากรัฐบาลกลางของประเทศในช่วงทศวรรษปี 1990 ได้ประสบความสำเร็จและมีการนำมาตรการที่คล้ายกันมาใช้โดยเทศบาลอื่น ๆ ในประเทศ มีประธานสภาของกรุงเตหะราน เป็นผู้ดูแลเมือง และเลือกตั้งนายกเทศมนตรีกรุงเตหะรานตามระบบการบริหารราชการสภาและนายกเทศมนตรี และเป็นผู้ตั้งงบประมาณของเทศบาลกรุงเตหะราน สภาแห่งนี้ประกอบด้วยสมาชิกสภา 21 คนที่มาจากการเลือกตั้งโดยเกณฑ์การลงคะแนนเสียงส่วนใหญ่แบบไม่แบ่งเขตที่ดำรงตำแหน่งตามวาระ 4 ปี ประธานสภาและรองประธานสภาได้รับเลือกจากสภาในวาระแรกของการประชุมสามัญในปีที่เป็นตัวเลขจำนวนคี่ การประชุมสามัญจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ วันอังคาร และวันพุธ เวลา 10.00 น. (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือในกรณีที่ตัดสินใจโดยมติพิเศษไม่ให้เข้าร่วม)

แผนที่กรุงเตหะราน - โดย Wikipedia

อุณหภูมิทั้งปีและสภาพอากาศโดยเฉลี่ยในเมืองเตหะราน

อุณหภูมิสูงสุด : 28   °C   
อุณหภูมิต่ำสุด :     18     °C 
อุณหภูมิเฉลี่ย : 23 °C 
ความชื้นสัมพัทธ์โดยเฉลี่ย :  31 %
ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยสะสมรายปี: 230 mm (per year)
ความเร็วลมโดยเฉลี่ย: 13 km/h
ความกดอากาศโดยเฉลี่ยต่อปี: 1,008 mbar

 

เขตเวลา: 

กรุงเตหะราน สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (GMT+4.30) (ช้ากว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง 30 นาที)

สกุลเงิน: เรียลอิหร่าน
รหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศ: +98 21
สนามบิน:

- Tehran Imam Khomeini International Airport (IATA: IKA, ICAO: OIIE)

แหล่งที่มา: 

-  Time and Date. 2020. Current Local Time in Tehran, Iran [Online]. [3 September 2020]. Available from: https://www.timeanddate.com/worldclock/iran/tehran

 

-  Airportcodes.io. 2020. IKA: Imam Khomeini International Airport [Online].[3 September 2020]. Available from: https://airportcodes.io/en/airport/imam-khomeini-international-airport/

 

-   CountryCode.org. 2020. Iran Country Code +98 [Online]. [3 September 2020]. Available from: https://countrycode.org/iran

                       

 

พระราชวังโกเลสทาน - ภาพโดย civitatis

ตลาดแกรนด์บาซาร์ - ภาพโดย civitatis

เทือกเขาอะลามุต - ภาพโดย civitatis

พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอิหร่าน - ภาพโดย civitatis

หอคอยอาซาดี - ภาพโดย civitatis

หอคอยมิลาด – ภาพโดย civitatis

 ความตกลงเมืองพี่เมืองน้อง

- ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนายมูฮัมหมัด บาเกร การีฟบัฟ นายกเทศมนตรีกรุงเตหะรานลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสถาปนาเมืองฉันมิตรระหว่างกรุงเทพมหานครกับกรุงเตหะราน เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2555

 

ชื่อผู้นำ               นายปีรุซ ฮานาชี นายกเทศมนตรีกรุงเตหะราน  (ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2563)  

เว็บไซต์:              http://en.tehran.ir/                

 

 

ผลการดำเนินกิจกรรมภายหลังลงนาม

ลำดับที่

วัน/เดือน/ปี

กิจกรรม

สถานที่

 ลิงค์ รูปภาพ/วีดีโอ อัลบั้ม

1

27 พฤศจิกายน 2555

นายมูฮัมหมัด บาเกร การีฟบัฟ นายกเทศมนตรีกรุงเตหะรานเดินทางเยือนกรุงเทพมหานครเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ฯ และเข้าร่วมการประชุม AMF

กรุงเทพมหานคร

 

2

28 สิงหาคม - 1 กันยายน 2558

นายวัลลภ สุวรรณดี ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเข้าร่วมประชุม AMF Executive Board Meeting ครั้งที่ 5

กรุงเตหะราน

 

3

17 - 19 พฤษภาคม 2559

นายวัลลภ สุวรรณดี ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเข้าร่วมการประชุม 2016 Conference on Urban Economy

กรุงเตหะราน

 
 
ข้อมูล ณ พฤษภาคม 2564

 

ข้อเสนอแนะ
ติดตามเรา