ไม่มีการกลับมาเป็นปกติหลังจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)จะมีก็แต่เส้นทางเดินไปข้างหน้า

ไม่มีการกลับมาเป็นปกติหลังจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)จะมีก็แต่เส้นทางเดินไปข้างหน้า

กรอบแนวคิด“การพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าใน 3 ช่วงเวลา” ของบริษัทที่ปรึกษา McKinsey & Company เป็นต้นแบบที่มีประโยชน์ในช่วงเวลาที่โลกฟื้นจากการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ไม่มีการกลับมาเป็นปกติหลังจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จะมีก็แต่เส้นทางเดินไปข้างหน้า   วันที่ 15 เมษายน 2563 โดย Marco Albani ที่ปรึกษาอาวุโส albani.earth ·       กรอบแนวคิด“การพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าใน 3 ช่วงเวลา” ของบริษัทที่ปรึกษา McKinsey & Company เป็นต้นแบบที่มีประโยชน์ในช่วงเวลาที่โลกฟื้นจากการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ·       อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนฉับพลัน (Disruption) จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นั้นส่งผลให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงต่อความปกติในวิถีชีวิตต่าง ๆ ·       การประเมินความต้องการและการจัดลำดับความสำคัญและการวางแผนตลอดเวลาสามารถช่วยให้รัฐบาลธุรกิจต่าง ๆ และผู้คน รับมือกับ“ความปกติใหม่(New Normal)” ได้ หลังจากการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผ่านไปหลายสัปดาห์และการปิดเมืองที่เป็นวงกว้าง ขณะนี้พวกเราต้องพิจารณาว่าวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นั้นส่งผลกระทบอย่างฉับพลันต่อกรอบ การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์สำหรับองค์กรอย่างไรและพวกเราต้องพยายามที่จะสร้างกรอบการตัดสินใจฯ ใหม่เพื่อที่จะมองข้ามวิกฤตทันที หนึ่งในกรอบแนวคิดทางการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่บริษัทต่างๆ ใช้เป็นแนวทางในการสร้างการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืนในช่วงเวลาปกติคือ“การแบ่งช่วงเวลาของการพัฒนาธุรกิจออกเป็น 3 ช่วง” โดยบริษัทที่ปรึกษา McKinsey &Company ในช่วงปลายปี 2533-2543บนพื้นฐานของแนวคิดที่ว่าธุรกิจที่สามารถรักษาความมั่นคงได้คือธุรกิจที่สามารถบริหารจัดการได้สอดคล้องกับแนวคิดแต่ละช่วงเวลา” ช่วงเวลาที่ 1 ปกป้องรักษาธุรกิจหลัก เป็นการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักที่สร้างรายได้ให้กับบริษัทมากที่สุดในปัจจุบัน การบริหารจัดการจะมุ่งเน้นไปที่การปฏิบัติที่มีความเป็นเลิศและมีประสิทธิภาพบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญในช่วงเวลานี้ คือ ผู้จัดการที่มีประสบการณ์ ช่วงเวลาที่ 2 บำรุงเลี้ยงธุรกิจที่กำลังจะเกิดใหม่ เป็นการดำเนินกิจกรรมที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นการสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการขยายธุรกิจ ด้วยสินค้าหรือบริการมาเสริมบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญในช่วงเวลานี้ คือ นักยุทธศาสตร์และนักพัฒนาธุรกิจ ช่วงเวลาที่ 3 สร้างและพัฒนาธุรกิจใหม่ เป็นการดำเนินกิจกรรมที่ห่างไกลจากความสามารถขององค์กรที่มีอยู่ในปัจจุบันมากที่สุดโดยปกติแล้วกิจกรรมหรือโครงการในช่วงเวลานี้มักขึ้นอยู่กับ การคาดการณ์สิ่งที่น่าจะเป็นไปได้ในอนาคตและการเปลี่ยนฉับพลัน (Disruption) บุคลากรที่มีบทบาทสำคัญในช่วงเวลานี้ คือ ผู้มีวิสัยทัศน์และนักอนาคตศาสตร์ กรอบแนวคิดใหม่สำหรับโลกหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อการเปลี่ยนฉับพลันครั้งใหญ่อย่างการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 กระทบต่อเศรษฐกิจโลกในเวลาอันรวดเร็วจะเห็นได้ว่าช่วงเวลาได้หมุนกลับตาลปัตร โลกที่ถูกจินตนาการไว้โดยนักอนาคตศาสตร์นั้นกำลังเกิดขึ้นจริงซึ่งเห็นได้จากการรับส่งข้อมูลเครือข่ายสังคม(social network) และหน้าจอโทรทัศน์ ช่วงเวลาที่ 3 ได้กลับกลายเป็นช่วงเวลาที่ 1 โรงงานแฟชั่นได้เปลี่ยนสายการผลิตไปผลิตหน้ากากอนามัยทันทีบริษัทยานยนต์เปลี่ยนไปผลิตเครื่องช่วยหายใจผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และโรงงานผลิตน้ำหอมเปลี่ยนไปผลิตเจลทำความสะอาดมือ ขณะนี้ช่วงเวลาที่3 ได้มาแทนที่ช่วงเวลาแรกแล้วช่วงเวลาที่ผู้คนจะเดินเล่นหรือเดินทางระหว่างประเทศอย่างอิสระนั้น จะเปลี่ยนไป อย่างไรก็ตาม พวกเรายังคงสามารถนำกรอบแนวคิด“การพัฒนาธุรกิจ 3 ช่วงเวลา”มาปรับใช้เพื่อการรับมือกับสถานการณ์การระบาดครั้งใหญ่นี้ตามกรอบแนวคิดของแต่ละช่วงเวลา ช่วงเวลาที่ 1เป็นช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตใหม่สังคมกำลังดิ้นรนเพื่อตอบสนองสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและการใช้มาตรการที่เข้มงวดเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค ตามด้วยช่วงเวลาที่ 2 สถานการณ์การแพร่ระบาดจะยังไม่มี การฟื้นตัวอย่างเต็มที่นัก แต่ก็ไม่ใช่ช่วงเวลาที่โลกจะเผชิญกับวิกฤตอีกต่อไป จะมีการบังคับใช้มาตรการอย่างเคร่งครัดที่สุดจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ห่วงโซ่อุปทาน(supply chains) และแผนการเดินทางต่าง ๆ จะได้รับผลกระทบจากข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากการระบาดซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตทางด้านสาธารณสุข และส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจซึ่งรัฐบาลต้องเข้ามารับมือกับวิกฤตนี้ และช่วงเวลาต่อจากนั้น คือช่วงเวลาที่ 3 ใหม่“ช่วงเวลาหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019” เป็นการดำเนินกิจกรรมเพื่อรับมือต่อวิกฤตการแพร่ระบาดจนค่อยๆกลายเป็นส่วนหนึ่งของ“ความปกติใหม่ (New Normal)”  ในอีกด้านหนึ่ง“ความปกติใหม่ (New Normal)” นี้จะไม่ได้เป็นเพียงแค่ การย้อนกลับไปยัง“ช่วงเวลาก่อนการระบาดฯ” เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการหลายอย่างเพื่อที่จะรับมือกับการระบาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นจากการเข้ามามีบทบาทของรัฐบาลด้านเศรษฐกิจไปจนถึงวิถีการทำงานระยะไกล (remote working) ซึ่งการดำเนินชีวิตกลับไปเป็นเหมือน“ช่วงเวลาก่อนการระบาดฯ” นั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ยาก แต่ก็ไม่น่าจะแตกต่างไปจากช่วงเวลาก่อนการระบาดฯ มากนักพวกเราได้เรียนรู้จากการเปลี่ยนฉับพลัน (Disruption) ทางการเงินและเทคโนโลยีในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาว่าสังคมมีองค์ประกอบบางอย่างซึ่งยากที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอันได้แก่โครงสร้างพื้นฐานที่มีอายุยืนยาวไปจนถึงกรอบการกำกับดูแลที่ซับซ้อน บทเรียนจากกรอบแนวคิด“การพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าใน 3 ช่วงเวลา” บทเรียนบางส่วนจากกรอบแนวคิด “การพัฒนาธุรกิจ 3 ช่วงเวลา”แบบดั้งเดิมนั้นน่าจะเป็นจริงเหมือนกับกรอบแนวคิดฯ รูปแบบใหม่บทเรียนแรกคือการที่ต้องเร่งทำกิจกรรมให้เกิดขึ้นทันทีในช่วงเวลาที่ 1 มักจะต้องเสี่ยงในการดึงทรัพยากรและความสนใจจากกิจกรรมในช่วงเวลาที่ 2  และ 3ซึ่งหากบทเรียนนี้เป็นจริงสำหรับช่วงเวลาปกติแล้วบทเรียนนี้ก็เป็นจริงเช่นกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤต บทเรียนที่สองคือองค์กรจำนวนมากอาจริเริ่มกิจกรรมใหม่ ๆ อย่างไม่มีวินัยเชิงกลยุทธ์ กล่าวคือ การลงทุนในกิจกรรมของช่วงเวลาที่ 1 และ 3 ด้วยเงินลงทุนของกิจกรรมช่วงเวลาที่ 2 อาจเป็นอันตรายอย่างยิ่งเนื่องจากช่วงเวลาที่ 2 อาจกลายเป็นจุดโยงที่สำคัญที่สุดสำหรับหลายองค์กรในการกลับคืนสู่สภาพเดิมหลังเผชิญคลื่นการเปลี่ยนฉับพลัน (Disruption) อย่างไรก็ตาม บทเรียนเหล่านี้จำเป็นต้องถูกปรับให้เข้ากับสถานการณ์ของการเปลี่ยนฉับพลัน (Disruption) และความไม่แน่นอนเพราะช่วงเวลาที่ 1 ในภาวะวิกฤตนั้นจะเกิดความสับสนวุ่นวายอย่างรวดเร็วกว่าในช่วงเวลา“ปกติ” ผู้นำระดับสูงจึงต้องให้ความสนใจกับช่วงเวลาที่ 1 มากขึ้น เช่นกันนั้นในช่วงเวลาที่ 3การคาดการณ์ที่มีความชัดเจนจะทำได้ยากขึ้นในช่วงเวลาของการเปลี่ยนฉับพลัน (Disruption) เพราะการคาดการณ์จะอยู่ระหว่างความเป็นไปได้ของการย้อนกลับไปสู่อดีตและโอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนฉับพลันครั้งใหญ่ต่อไป (Disruption)แต่สิ่งที่ท้าทายในเวลานี้คือการสร้างและการสนับสนุนกิจกรรมริเริ่มใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพสำหรับช่วงเวลาที่ 2 ซึ่งช่วงเวลาที่ 2 อาจเติบโตเร็วกว่าเมื่ออยู่ในสถานการณ์“ปกติ” และยากต่อ การคาดการณ์เนื่องจากกฎของสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การนำกรอบแนวคิด “การพัฒนาธุรกิจ 3 ช่วงเวลา” ไปประยุกต์ใช้นั้นสามารถใช้ได้กับทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐกิจการเพื่อสังคมครอบครัวและบุคคลในการประเมินลำดับความสำคัญและการจัดสรรพลังงานและทรัพยากรเพื่อที่ผู้คนจะได้ผ่านพ้นวิกฎตินี้และฟื้นฟูกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ Reference: World Economic Forum

21 ก.ย. 2563   126  
ข้อเสนอแนะ
ติดตามเรา