ประเทศต่าง ๆ สามารถเรียนรู้อะไรได้บ้างจากไต้หวันในการต่อสู้กับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
การวิเคราะห์: ไต้หวันนำบทเรียนที่ได้เรียนรู้ระหว่างการระบาดของโรคซาร์ส (SARS) เมื่อปี 2546 มาใช้ให้เป็นประโยชน์ซึ่งรัฐบาลและประชาชนได้เตรียมพร้อมรับมือในครั้งนี้เป็นอย่างดี
ประเทศต่าง ๆ สามารถเรียนรู้อะไรได้บ้างจากไต้หวันในการต่อสู้กับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การวิเคราะห์: ไต้หวันนำบทเรียนที่ได้เรียนรู้ระหว่างการระบาดของโรคซาร์ส (SARS) เมื่อปี 2546 มาใช้ให้เป็นประโยชน์ซึ่งรัฐบาลและประชาชนได้เตรียมพร้อมรับมือในครั้งนี้เป็นอย่างดี ข่าวโดย ซินดี้ สุ่ย ขณะที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต้องเผชิญกับโรค COVID-19 ไต้หวันอาจเสนอบทเรียนที่มีค่าเกี่ยวกับวิธีควบคุม การแพร่กระจายของโรคนี้ได้เป็นอย่างดี ไต้หวันอยู่ห่างจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเพียง 130 กิโลเมตร และใช้เวลาเพียงสั้น ๆ หากเดินทางด้วยเครื่องบิน เชื่อกันว่าโรค COVID-19 มีต้นกำเนิดมาจากนครอู่ฮั่น เมื่อโรคระบาดเกิดขึ้นในเดือนมกราคมนักธุรกิจชาวไต้หวันและครอบครัวที่อาศัยอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีนจำนวนมากเดินทางกลับมาฉลองวันตรุษจีน รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีมากถึง 2,000 คนต่อวันเดินทางมาเที่ยวที่ไต้หวัน ซึ่งบุคคลกลุ่มนี้อาจนำเอาเชื้อไวรัสมาด้วย อย่างไรก็ตาม ตามรายงานเมื่อวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2563 ไต้หวันมีจำนวนผู้ป่วย COVID-19 เพียง 50 รายและผู้เสียชีวิต 1 ราย ซึ่งน้อยกว่าจำนวนผู้ป่วย COVID-19 ของสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นจำนวนมากอย่างเห็นได้ชัด ด้วยจำนวนผู้ป่วย 80,824 รายและผู้เสียชีวิต 3,189 ราย แม้จะคำนึงถึงความแตกต่างของจำนวนประชากรก็ยังเห็นได้ถึงจำนวนผู้ป่วย COVID-19 ที่มีความแตกต่างกันอย่างมาก ไต้หวันมีประชากร 23 ล้านคน ขณะที่สาธารณรัฐประชาชนจีน 1.4 พันล้านคน นอกจากนี้ ไต้หวันนั้นยังมีจำนวนตัวเลขผู้ป่วย COVID-19 น้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งมีจำนวนผู้ป่วย COVID-19 มากกว่า 7,900 รายและประเทศญี่ปุ่นจำนวน 675 ราย สถานการณ์ในไต้หวันนั้นยังดีกว่าประเทศที่ห่างไกลจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เช่น สาธารณรัฐอิตาลีที่มีจำนวนผู้ป่วย COVID-19 มากกว่า 17,660 ราย และสหรัฐอเมริกาจำนวน 2,167 ราย ในบรรดาร้อยกว่าประเทศและดินแดนที่ได้รับผลกระทบนั้น ไต้หวันซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับสาธารณรัฐประชาชนจีนและยังมีการเดินทางไปมาหาสู่กันบ่อยครั้ง กลับมีอัตราจำนวนผู้ป่วย COVID-19 ต่อหัวต่ำที่สุดที่ประมาณ 1 รายในทุก 500,000 คน ไต้หวันสามารถสอนบทเรียนใดให้ประเทศต่าง ๆ ในโลกเพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของไวรัสนี้ได้? การตื่นตัวและมาตรการเตรียมความพร้อมเชิงรุก ไต้หวันรับรู้ถึงการแพร่ระบาดของ “โรคปอดอักเสบรุนแรง” ในนครอู่ฮั่นตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะไต้หวันอยู่ใกล้กับสาธารณรัฐประชาชนจีนและพูดภาษาเดียวกัน แต่สาเหตุหลักที่ไต้หวันสามรถป้องกัน การระบาดครั้งใหญ่ในไต้หวันได้นั้นมาจากมาตรการเชิงรุกของนั่นเอง วันที่ 31 ธันวาคม 2562 สาธารณรัฐประชาชนจีนแจ้งองค์การอนามัยโลก(WHO) ว่ามีการพบโรคปอดบวมชนิดใหม่ และภายในวันเดียวกันนั้น ศูนย์ควบคุมโรคของไต้หวันได้สั่งการให้มีการคัดกรองผู้โดยสารบนเที่ยวบินจากนครอู่ฮั่นทันที แม้ว่าไต้หวันจะมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับรัฐบาลจีนนัก ไต้หวันก็ยังได้รับอนุญาตให้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคดังกล่าวเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2563 “พวกเขาไม่ให้เราเห็นในสิ่งที่พวกเขาไม่ต้องการให้เห็น แต่ผู้เชี่ยวชาญของเรารู้สึกว่าสถานการณ์นั้นไม่ดีนัก” นางโคลาส โยทากา (Kolas Yotaka) โฆษกสภาบริหารไต้หวันกล่าวกับสำนักข่าว NBC News หลังจากที่คณะผู้เชี่ยวชาญกลับมาถึงไต้หวันได้ไม่นาน ไต้หวันได้แจ้งให้โรงพยาบาลในไต้หวันให้ทดสอบและรายงานหากพบผู้ป่วย ซึ่งมาตรการนี้ช่วยให้ไต้หวันสามารถระบุถึงกลุ่มผู้ป่วย COVID-19 ติดตามผู้ใกล้ชิดของผู้ป่วย และมีการแยกคนกลุ่มนี้เพื่อสังเกตอาการ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายสู่ชุมชน มาตรการทั้งหมดเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานก่อนที่ไต้หวันจะยืนยันการพบผู้ป่วย COVID-19 รายแรกเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2563 และประเทศอื่น ๆ ในโลกเพิ่งจะเริ่มตื่นตัว การจัดตั้งศูนย์บัญชาการ Jason Wang จาก Stanford Health Policy ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ซึ่งมีปริญญาเอกด้านการวิเคราะห์นโยบายกล่าวว่า เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2563ศูนย์ควบคุมโรคไต้หวัน (CDC) ได้จัดตั้งศูนย์บัญชาการกลางสำหรับโรคติดต่อ ศูนย์บัญชาการกลางฯ ได้ออกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 อย่างทันท่วงที นายเจสัน หวัง (Jason Wang) ไว้ในไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ว่า “ไต้หวันได้ออกมาตรการและมีการดำเนินการอย่างน้อย 124 มาตรการในช่วงห้าสัปดาห์ที่ผ่านมา เท่ากับออกมาตรการ 3 ถึง 4 มาตรการต่อวันเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน” นโยบายและการดำเนินการต่าง ๆ นั้นอยู่เหนือขอบเขตการควบคุมไปแล้ว เพราะไต้หวันตระหนักดีว่ามาตรการแค่นั้นมันยังไม่พอ” ศูนย์บัญชาการกลางสำหรับโรคติดต่อที่มี นายเฉิน ชิห์ ชอง (Chen Shih-Chung) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้นำไม่เพียงแต่สอบสวนผู้ป่วย COVID-19 ที่ได้รับการยืนยันและที่ต้องสงสัยเท่านั้น แต่ศูนย์บัญชาการกลางฯ ยังทำงานร่วมกับกระทรวงและรัฐบาลท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อประสานงานทั่วทั้งไต้หวันรวมถึงการจัดสรรเงิน การจัดสรรบุคลากร และการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการฆ่าเชื้อโรคของโรงเรียน การดำเนินการอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด ไต้หวันได้ดำเนินนโยบายที่เด็ดขาดในช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาด เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2563 หลังจากพบผู้ป่วยยืนยันโควิด-19 ชาวไต้หวันรายแรกได้ห้าวัน ไต้หวันออกมาตรการไม่อนุญาตให้มีการเดินทางจากนครอู่ฮั่นเข้ามายังไต้หวัน ซึ่งเป็นการดำเนินมาตรการที่รวดเร็วกว่าประเทศอื่น ๆ หลังจากนั้นไม่นาน ไต้หวันได้ออกมาตรการไม่อนุญาตให้มีการเดินทางจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเกือบทุกเมืองเข้ามายังไต้หวันและจะอนุญาตให้เฉพาะชาวไต้หวันเดินทางเข้าเท่านั้น การใช้เทคโนโลยีเพื่อตรวจจับและตามรอยผู้ป่วย ไต้หวันมีเครื่องตรวจจับอุณหภูมิที่สนามบินตั้งแต่การระบาดของโรคซาร์สเมื่อปี 2546 เพื่อตรวจหาคนที่มีไข้ซึ่งเป็นลักษณะอาการของผู้ป่วยโรค COVID-19 นอกจากนี้ผู้โดยสารยังสามารถแสกน QR Code เพื่อรายงานประวัติการเดินทางและอาการแบบออนไลน์ ข้อมูลจะถูกส่งโดยตรงไปยังศูนย์ควบคุมโรคไต้หวัน (CDC)