การประชุมศูนย์บัญชาการรับมือเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ครั้งที่ 26

การประชุมศูนย์บัญชาการรับมือเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ครั้งที่ 26

การประชุมศูนย์บัญชาการรับมือเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ครั้งที่ 26

การประชุมศูนย์บัญชาการรับมือเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ครั้งที่ 26 นายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่นได้จัดการประชุมศูนย์บัญชาการรับมือโรคโควิด-19 (COVID-19) ณ สำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2563 ที่ผ่านมาในการประชุมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมได้หารือเกี่ยวกับแนวทางการรับมือกับโรคโควิด-19 นายกรัฐมนตรีได้กล่าวในระหว่างการหารือ ดังนี้  “วันนี้ ผมได้รับฟังความคิดเห็นของ ดร. โอมิ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านนโยบายการดำเนินงานทั่วไปว่า มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในเขตชุมชนเมือง และสถาบันทางการแพทย์หลายแห่งได้กำลังเผชิญกับช่วงวิกฤติ ดังนั้น อย่างเร็วที่สุดพรุ่งนี้ พวกเราต้องการระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญในคณะกรรมการที่ปรึกษา ทบทวนนโยบายการดำเนินงาน และออกประกาศภาวะฉุกเฉินซึ่งจะมีระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ใน 7 จังหวัด ได้แก่ โตเกียว คานากาวา ไซตามะ ชิบะ โอซากา เฮียวโก และฟูกูโอกะ เมื่อเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของการประกาศภาวะฉุกเฉิน ผมจะจัดการแถลงข่าว และอธิบายอย่างถี่ถ้วนในรายละเอียดของมาตรการ และสิ่งที่ต้องการขอความร่วมมือจากประชาชน เพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบเกี่ยวกับรายละเอียดของมาตรการและสิ่งที่ต้องการให้ประชาชนให้ความร่วมมือ ในขณะเดียวกันในวันพรุ่งนี้จะมีการตัดสินใจเกี่ยวกับมาตรการฉุกเฉินด้านเศรษฐกิจที่ผมได้สั่งการไปแล้วในช่วงก่อนหน้านี้ รวมถึงงบประมาณเพิ่มเติม จุดมุ่งหมายสูงสุดของมาตรการเหล่านี้เพื่อรักษาชีวิต และวิถีชีวิตของประชาชน ในตอนนี้ เราจะต้องให้ความสำคัญกับความพยายามในการป้องกันการแพร่ระบาดของการติดเชื้อ และสร้างโครงสร้างการรักษาพยาบาลขึ้นมา พร้อมทั้งเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ที่จะเลวร้ายลงอีกในอนาคต นี่คือเสาหลักแรก เราจะต้องมีมาตรการที่เข้มแข็งในการป้องกันการแพร่ระบาดของการติดเชื้อ โดยการเพิ่มศักยภาพในการตรวจคัดกรองโรคแบบ PRC เป็นสองเท่าคือ 20,000 คน ต่อวัน และจะทำให้โครงสร้างการทำงานของศูนย์บริการสาธารณสุขมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น นอกจากนี้เราจะสร้างโครงสร้างการรักษาพยาบาลที่มุ่งเน้นการรักษาพยาบาลผู้ป่วยอาการหนักเพื่อเตรียมการรับมือกับผู้ป่วยที่จะหลั่งไหลเข้ามาจำนวนมากอย่างเฉียบพลัน สำหรับเตียงผู้ป่วยซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดนั้นเราจะเพิ่มจำนวนของเตียงผู้ป่วยจาก 28,000 เตียง เป็น 50,000 เตียง ทั้งนี้ เราได้จัดเตรียมเครื่องช่วยหายใจไว้สำหรับผู้ป่วยอาการหนักจำนวน 15,000 เครื่อง และจะเพิ่มให้อีกในอนาคต ในกรณีที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเราจำเป็นจะต้องขอให้ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงกลับไปรักษาตัวที่บ้าน และเราจะจัดอำนวยความสะดวกด้านที่พักให้หากพบว่ามีความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อให้กับสมาชิกในครอบครัว โดยจะจ้างโรงแรมเอกชนที่เคยตั้งใจจะใช้สำหรับเป็นที่พักของตำรวจที่จะปฏิบัติหน้าที่ในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกส์ และพาราลิมปิกส์ นำมาตกแต่งใหม่ให้เร็วที่สุดเพื่อใช้ในการนี้ เราจะวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการรักษาโรคและวัคซีนซึ่งเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญที่สุด ในขณะเดียวกันเราจะเพิ่มการผลิตยา Avigan ที่คาดว่าจะมีประสิทธิภาพที่ดีในการรักษาโรคนี้ เราจะเตรียมความพร้อมเพื่อขยายคลังสินค้าในประเทศให้ได้จากปัจจุบัน 700,000 โดส เป็น 2,000,000 โดส สำหรับผู้ประกอบการนั้น เราจะเพิ่มการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมเพื่อให้พวกเขาสามารถผ่านเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้ สำหรับการกู้ยืมเงินแบบไม่คิดดอกเบี้ยจากหอการค้าญี่ปุ่น (The Japan Finance Corporation) และสถาบันการเงินอื่น ๆ เราจะขยายวงเงินให้อย่างมีนัยสำคัญพร้อมทั้งปรับปรุงเงื่อนไขการขอกู้ยืมเงินโดยการรีไฟแนนซ์แบบไม่คิดดอกเบี้ย นอกจากนี้ เราจะทำให้สามารถใช้เงื่อนไขเดียวกันในการกู้ยืมเงินจากสถาบันทางการเงินในระดับท้องถิ่น อาทิ ธนาคารสาขาท้องถิ่น ธนาคารชินคิน และองค์กรที่ให้บริการด้านสินเชื่อต่าง ๆ เราจะให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่ในการดำเนินธุรกิจให้มีความต่อเนื่อง โดยจะสนับสนุนให้เกิดสภาพคล่องทางธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่งแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติการณ์ ยิ่งไปกว่านั้น นี่จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เราจะอนุโลมให้มีการเลื่อนการชำระค่าภาษี และเบี้ยประกันสังคมออกไปโดยไม่มีการเพิ่มหรือคิดค่าปรับใด ๆ โดยคิดเป็นวงเงินรวมทั้งสิ้นถึง 26 ล้านล้านเยน  นอกจากมาตรการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เรายังได้ตัดสินใจจะจ่ายเงินให้กับครอบครัวที่ต้องการความช่วยเหลือ อันเนื่องมาจากการขาดรายได้จากผลกระทบของโรคโควิด-19 โดยเบื้องต้นจะจ่ายเงินช่วยเหลือให้ 300,000 เยนต่อครัวเรือน และเราจะให้เงินสดสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อม-เล็ก และกลางรายละ 2 ล้านเยน และผู้ประกอบการที่กำลังประสบปัญหาอย่างร้ายแรงรายละ 1 ล้านเยน เมื่อรวมทั้งหมดแล้วเท่ากับว่าเราจะจ่ายเงินสดมากกว่า 6 ล้านล้านเยน เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ และประชาชนจะได้สามารถดำรงชีวิตได้ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการที่มีความชัดเจนและไม่เคยมีมาก่อนในประวัติการณ์เพื่อใช้ในระยะหลังจากการแพร่ระบาดของโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาสั้น ๆ เราจะจัดให้มีส่วนลด และบัตรกํานัลสำหรับการท่องเที่ยว การขนส่ง การบริการด้านอาหาร และธุรกิจอีเว้นท์ต่าง ๆ ซึ่งได้รับความเดือดร้อน ขนาดของมาตรการทางเศรษฐกิจฉุกเฉินและความช่วยเหลือต่าง ๆ เหล่านี้จะมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 108 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นเงินมหาศาลที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยสามารถคิดเทียบเท่ากับร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) แม้แต่จะเทียบกับประเทศอื่นแล้วก็ยังถือว่ามากจริง ๆ  ทั้งนี้ ผมขอให้รัฐมนตรีแต่ละคนใช้ความพยายามอย่างสุดความสามารถในการออกกฎหมายเพื่อของงบประมาณเสริมและเร่งดําเนินการตามมาตรการที่อยู่ในงบประมาณดังกล่าว”

21 ก.ย. 2563   147  
ข้อเสนอแนะ
ติดตามเรา