ข้อมูลระบบ Lean เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภาครัฐ

ข้อมูลระบบ Lean เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภาครัฐ

4 ต.ค. 2556   1586  

แต่เดิมนั้น รัฐจะให้ความสำคัญกับ ผลผลิต หรืองานบริการที่มีให้กับประชาชนมากกว่า ผลลัพธ์ ซึ่งก็คือ ความพึงพอใจของประชาชน ซึ่งต่างกับในภาคเอกชนที่จะให้ความสำคัญกับผลลัพธ์เป็นสำคัญ

http://www.opdc.go.th/oldweb/thai/E_Newsletter/june48/Lean.htm

 

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

 

แต่เดิมนั้น รัฐจะให้ความสำคัญกับ ผลผลิต หรืองานบริการที่มีให้กับประชาชนมากกว่า ผลลัพธ์ ซึ่งก็คือ ความพึงพอใจของประชาชน ซึ่งต่างกับในภาคเอกชนที่จะให้ความสำคัญกับผลลัพธ์เป็นสำคัญ

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ภาครัฐให้หันมาให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ หรือความพึงพอใจของประชาชนมากขึ้น โดยปรับปรุงงานบริการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ซึ่งเป็นผลมาจากการมี พ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 นั่นเอง

ดังนั้น ส่วนราชการจึงจำเป็นจะต้องพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องมีการประเมิน และวิเคราะห์กระบวนการให้บริการเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุง โดยหัวใจสำคัญคือ การเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปรับปรุงงานนั้น ๆ เนื่องจากเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง ซึ่งการสร้างการมีส่วนร่วมนี้ จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเต็มใจที่จะพัฒนาและปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เนื่องจากจะส่งผลดีกับตัวผู้ปฏิบัติงานเอง ทั้งในเรื่องของความสะดวก รวดเร็ว และได้ผลงานที่มีคุณภาพ

นอกจากนี้ผู้บริหารเองก็มีส่วนสำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการให้บริการด้วย เนื่องจากเป็นผู้กำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของหน่วยงาน และในบางครั้ง อาจจะต้องอาศัยอำนาจ หรือคำสั่งของผู้บริหาร เพื่อกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดการพัฒนาและปรับปรุงการทำงานเพื่อให้เกิดการบริการที่มีคุณภาพ

ในอดีตนั้น การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของภาครัฐจะเน้นที่เรื่องของ คน (Operator) โดยการทำให้แต่ละคนทำงานได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น เพื่อที่จะได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ด้วยการมอบหมายผู้รับผิดชอบเป็นงาน ๆ โดยให้รับผิดชอบเฉพาะอย่าง เพื่อให้แต่ละคนได้ทุ่มเทและใช้เวลาทำงานที่รับผิดชอบอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม การมอบหมายให้รับผิดชอบเฉพาะอย่างนี้จะเกิดปัญหาในเวลาที่

ผู้รับผิดชอบงานนั้น ๆ ไม่อยู่ เนื่องจากบุคลากรไม่สามารถทำงานแทนกันได้ เพราะแต่ละคนก็จะรู้แต่งานที่ตนรับผิดชอบอยู่เท่านั้น

ในปัจจุบัน การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้หันมาให้ความสำคัญกับ กระบวนงาน (Process) มากขึ้น โดยการมองภาพรวม และปรับปรุงทั้งกระบวนงานให้ดีขึ้น รวมทั้งมีการพยายามรักษาคุณภาพการทำงานที่ดีอยู่แล้วให้คงอยู่และดียิ่ง ๆ ขึ้นไป โดยการนำระบบประกันคุณภาพมาใช้ในการทำงาน เช่น TQM, 6 Sigma

และในอนาคต แนวคิดที่สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานก็คือ จะเน้นที่กระบวนการ (Process) และ ตัวองค์กร ซึ่งหมายถึงทุก ๆ คนในองค์กร โดยการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนงาน และการพัฒนาบุคลากร และเน้นการมีส่วนร่วมของทุกคนในองค์กร ในการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน รวมทั้งการสร้างความเป็นผู้นำ และผู้พัฒนาในองค์กร เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

ซึ่งแนวคิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของภาครัฐได้ คือ แนวคิดของ Lean Governmentหรือแนวคิดที่จะปรับปรุงและพัฒนาระบบราชการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยลดความสูญเสีย (ทั้งในส่วนของภาครัฐและประชาชน เพื่อให้เหลือแต่เนื้อแท้ในการทำงาน

ทั้งนี้ แนวคิดของ Lean Government นั้น จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ซึ่งจะต้องมีน้ำหนักเท่า ๆ กัน จึงจะถือว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่ง 3 องค์ประกอบที่สำคัญนั้น ได้แก่

1. ประชาชน ได้รับประโยชน์สุข

2. กระบวนงาน มีการลดความสูญเสียในการทำงาน

3. ผู้ปฏิบัติงาน ไม่เป็นการสร้างภาระให้กับผู้ปฏิบัติงาน โดยจะต้องเคารพในความเป็นปัจเจกบุคคล

สำหรับ “ความสูญเสีย” (Wastes) ตามแนวคิดของ Lean Government ก็คือ “กิจกรรมหรืองานที่เพิ่มค่าใช้จ่าย (ให้กับภาครัฐและประชาชน) โดยไม่เพิ่มประโยชน์ในการทำงาน (ในสายตาของประชาชน)” ซึ่งในทุกการทำงานนั้น ก็จะมีความสูญเสียสอดแทรกอยู่กับเนื้องานจริง ๆ เสมอ ดังนั้น ระยะเวลาทั้งหมดที่เราใช้ในการทำงานจึงมีทั้งส่วนที่ใช้ไปกับเนื้องานจริง ๆ และส่วนที่ใช้ไปกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น

การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานตามแนวคิดของ Lean Government จึงเป็นการทำงานในสิ่งที่เป็นเนื้องานจริง ๆ โดยไม่เสียเวลาไปกับความสูญเสีย เพื่อให้เกิดเนื้องานเท่าเดิมในเวลาที่สั้นลง หรือเกิดเนื้องานมากขึ้นในระยะเวลาเท่าเดิม รวมทั้งการได้เนื้องานมากขึ้นในเวลาที่สั้นลง

ความสูญเสีย (Wastes) ที่มักจะเกิดขึ้นในการทำงาน แบ่งออกได้เป็น 8 ประการ โดยมีอยู่ 7 ประการที่เป็นเรื่องที่สามารถหลีกเลี่ยง หรือปรับปรุงได้โดยการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนหือวิธีการทำงานงาน ได้แก่

1. ความสูญเสียอันเนื่องมาจากการรองาน (Waiting)
เป็นความสูญเสียในการอคอย หรือรองาน ซึ่งทำให้สูญเสียเวลาประประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

2. ความสูญเสียเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายงาน (Transport)
เป็นความสูญเสียในการเคลื่อนย้ายงานจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง ทั้งที่เกิดขึ้นด้วยความจำเป็น และด้วยความไม่จำเป็น

3. ความสูญเสียเนื่องมาจากการแก้ไขข้อผิดพลาด (Defect)
เป็นความสูญเสียจากการปฏิบัติงานที่ผิดพลาด ส่งผลเสียต่องานที่ทำ และทำให้ต้องนำมาแก้ไขใหม่

4. ความสูญเสียเนื่องมาจากการทำงานซ้ำซ้อน (Over processing)
เป็นความสูญเสียจากการทำงานซ้ำซ้อน ทำแล้วทำอีก ตรวจสอบแล้วตรวจสอบอีก ดังนั้น จึงควรทำงานให้ถูกต้องตั้งแต่แรก เพื่อจะได้ไม่ต้องนำมากลับมาทำใหม่

5. ความสูญเสียเนื่องมาจากการเก็บงานไว้ทำ (Inventory)

6. ความสูญเสียเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นของผู้ปฏิบัติงาน (Movement)

เป็นความสูญเสียที่เกิดจากการที่ผู้ปฏิบัติงานต้องเคลื่อนไหว หรือเคลื่อนที่ โดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการจัดผังการทำงานใหม่

7. ความสูญเสียอันเนื่องมาจากการทำงานมากเกินไป (Over producing)
เป็นความสูญเสียที่เกิดจากการทำงานมากเกินไป โดยงานที่ทำมากนั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ เช่น การทำงานนอกเหนือจากงานที่รับผิดชอบ ในขณะที่งานที่ตนเองรับผิดชอบยังรอให้ทำอยู่ ถือเป็นการทำงานที่มากเกินความจำเป็นและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาการแบ่งภาระงานให้เกิดความสมดุล

สำหรับการลดความสูญเสียในการทำงานนั้น ก็คือ การลดขั้นตอนที่เป็นความสูญเสียลง ให้เหลือแต่ขั้นตอนที่เป็นเนื้องานจริง ๆ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวก็จะส่งผลไปถึงการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน ตาม พ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 นั่นเอง

ทั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการลดความสูญเสียนั้น สามารถทำได้โดยใช้เทคโนโลยี และไม่ใช้เทคโนโลยี

การลดความสูญเสียโดยใช้เทคโนโลยี
จากการพัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Government ทำให้เราสามารถนำ IT มาใช้เพื่อช่วยลดความสูญเสียในการทำงานลงได้ และยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใส (Transparency) ในการปฏิบัติงานอีกด้วย อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดการปรับปรุงแก้ไข หรือยกเลิกกฎหมายที่ไม่จำเป็นหรือเป็นอุปสรรค (Deregulation) และการ Privatization – Self Service หรือการที่ประชาชนใช้บริการด้วยตนเอง เช่น การสืบค้นข้อมูล หรือใช้บริการของภาครัฐผ่านระบบ Internet

เป็นความสูญเสียจากการที่ผู้ปฏิบัติงานเก็บงานไว้ทำในภายหลัง ซึ่งจะส่งผลเสียต่องาน ทำให้ไม่สามารถทำงานให้เสร็จสิ้นได้อย่างรวดเร็ว

การลดความสูญเสียโดยไม่ใช้เทคโนโลยี
ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น

การวิเคราะห์กระบวนงาน (Process analysis) โดยใช้แผนผังการไหล (Flow diagram) ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของจุดต่าง ๆ ในกระบวนงานให้บริการ และแผนภูมิกระบวนงาน (Process chart) เพื่อตรวจดูว่าความสูญเสียเกิดขึ้น ณ จุดใดของงาน ซึ่งแผนภูมิกระบวนงานนั้น เป็นเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์กิจกรรมในกระบวนงานว่า เป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ หรือเป็นความสูญเสีย

การลดเวลาหน้างาน (Single Minute Exchange of Die)โดยการสังเกตกระบวนงานเดิม และแบ่งประเภทกิจกรรมออกเป็น กิจกรรมภายใน (Internal activity) หรือกิจกรรมที่ทำ ณ ขณะที่ประชาชนมาติดต่อ และกิจกรรมภายนอก (External activity) หรือกิจกรรมที่ทำเมื่อไหร่ก็ได้ และพยายามเปลี่ยนกิจกรรมภายในให้เป็นกิจกรรมภายนอก รวมไปถึงการลดเวลากิจกรรมภายในและภายนอกลง เช่น การเตรียมข้อมูลและสอบถามประวัติของคนไข้ พร้อมสอบถามอาการเบื้องต้น ในระหว่างที่รอพบแพทย์ เพื่อบันทึกข้อมูลไว้ล่วงหน้าก่อน และเมื่อถึงเวลาพบแพทย์ แพทย์ก็จะสามารถใช้เวลาในการตรวจวินิจฉัยได้นาน โดยไม่ต้องเสียเวลา

การป้องกันและแก้ไขปัญหาความผิดพลาดในการทำงาน โดยการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำ และการแก้ไขความผิดพลาดที่ต้นเหตุ เพื่อให้ปัญหาหมดไปอย่างถาวร โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น การใช้ Pokayoke (Mistake – proofing) เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากความหลงลืม การเข้าใจคลาดเคลื่อน หรือเข้าใจผิด การขาดประสบการณ์ และความไม่รู้ โดยที่ผู้ปฏิบัติงานไม่จำเป็นต้องมีความรู้หรือให้ความสนใจมาก ก็ไม่ทำให้เกิดความผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน เช่น การออกแบบซิม การ์ดให้มีมุมด้านหนึ่งเป็นมุมตัด เพื่อป้องกันการใส่ซิมการ์ดผิดด้าน หรือการใส่ใบแจ้งค่าบริการในซองหน้าต่าง เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดจากการนำใบแจ้งค่าบริการของลูกค้ารายหนึ่ง ไปใส่ในซองจดหมายที่จ่าหน้าซองถึงลูกค้าอีกรายหนึ่ง เป็นต้น

 

นอกจากนี้ การป้องกันแก้ไขปัญหาความผิดพลาดยังสามารถทำได้โดย การบริหารงานด้วยสายตา(Visual Management) โดยใช้หลักของการควบคุมการบริหารงานโดยใช้สื่อที่ตามองเห็นเป็นตัวกลางในการกระตุ้น สั่งการ และดำเนินการ เช่น การใช้ Condo ของร้าน MK Suki เพื่อให้ทราบว่าอาหารมาส่งครบตามจำนวนที่สั่งหรือไม่ หรือการทำงานของ BOI ในการใช้แฟ้มใส่งานที่แบ่งเป็นสีตามวันที่ได้รับเรื่อง เพื่อให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเรื่องใดเป็นเรื่องค้างและควรดำเนินการก่อน เป็นต้น

 

สำหรับความสูญเสียประการที่ 8 นั้น คือ ความสูญเสียที่เกิดจากพฤติกรรมและอุปนิสัยที่ไม่ได้เพิ่มคุณค่าให้กับการทำงาน ซึ่งได้แก่ การไม่แสดงความคิดเห็น การเกรงใจ และการวางเฉย ที่เกิดขึ้นในการทำงาน อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของคน ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และควบคุมได้ยาก จึงไม่ควรไปยุ่งกับความสูญเสียนี้ และหันไปให้ความสำคัญกับการลดความสูญเสียทั้ง 7 ประการที่กล่าวมาแล้วแทน

 

        

 

        

 

        

 

        

 

        

 

        

 

        

 

        

 

        

 

        

 

        

 

        

 

        

 

        

 

        

 

        

 

        

 

     

 

        

 

        

 

        

 

        

 

                  

 

        

 

        

 

        

 

        

 

        

 

        

 

        

 

 

 

ข้อเสนอแนะ
ติดตามเรา