คณะทำงานด้านเทคนิคสำหรับกรณีศึกษาสวนป่านิเวศอ่อนนุช ภายใต้โครงการ RUCaS ลงสำรวจพื้นที่และติดตามความก้าวหน้าโครงการสวนป่านิเวศอ่อนนุช

คณะทำงานด้านเทคนิคสำหรับกรณีศึกษาสวนป่านิเวศอ่อนนุช ภายใต้โครงการ RUCaS ลงสำรวจพื้นที่และติดตามความก้าวหน้าโครงการสวนป่านิเวศอ่อนนุช

18 ก.ย. 2566   682  

(12 ก.ย. 2566) นางสาววรนุช สวยค้าข้าว รองผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม นายดิชา คงศรี ผู้อำนวยการ เขตประเวศ ผศ.ดร. สคาร ทีจันทึก คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้บริหารสำนักสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยผู้แทนสำนักงานการต่างประเทศ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียฯ และนักวิจัยโครงการ RUCaS ร่วมลงพื้นที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช เขตประเวศ

(12 ก.ย. 2566) นางสาววรนุช สวยค้าข้าว รองผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม นายดิชา คงศรี ผู้อำนวยการ
เขตประเวศ ผศ.ดร. สคาร ทีจันทึก คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้บริหารสำนักสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยผู้แทนสำนักงานการต่างประเทศ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียฯ และนักวิจัยโครงการ RUCaS ร่วมลงพื้นที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช เขตประเวศ เพื่อลงสำรวจพื้นที่และติดตามความก้าวหน้าโครงการ “สวนป่านิเวศอ่อนนุช” ฟื้นฟูบ่อขยะให้กลายเป็นป่าเชิงนิเวศ ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานคร โดยสำนักสิ่งแวดล้อมและบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ในการพัฒนาพื้นที่ 55 ไร่ ภายในศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบ                   ในการปลูกป่าเชิงนิเวศเพื่อมุ่งสู่การจัดการทำคาร์บอนเครดิต มีระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 3 ปี (พ.ศ. 2565–2568) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายปลูกต้นไม้ล้านต้น เพิ่มพื้นที่สีเขียวกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุงของกรุงเทพมหานครที่จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และดักจับมลพิษ

ทั้งนี้ โครงการฯ ได้รับคัดเลือกเป็นกรณีศึกษาของโครงการพัฒนาศูนย์กลางของเมืองและบริเวณโดยรอบให้มีความสามารถในการตั้งรับปรับตัว (Resilient Urban Centres and Surrounds: RUCaS) โดยความร่วมมือของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร และสถานเอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลีย ประจำประเทศไทย โดยมีแนวคิดในการพัฒนาต่อยอดโครงการฯ ให้เป็นสวนสาธารณะระดับโลกของกรุงเทพมหานคร สำหรับสาธิตการปรับปรุงพื้นที่ฝังกลบขยะให้เป็นสวนสาธารณะแบบอเนกประสงค์ที่ให้ประโยชน์แก่ชุมชนในพื้นที่และการเป็นพื้นที่สำหรับสันทนาการสำหรับนักท่องเที่ยว รวมทั้งแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมภายใต้วิสัยทัศน์ “เปลี่ยนสวนป่าอ่อนนุชให้เป็นสวนสาธารณะอเนกประสงค์เชิงธรรมชาติ
เพื่อสันทนาการและการเรียนรู้ (a multi-functional nature play park)” โดยจะนำการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการพัฒนาพื้นที่ โดยผู้เชี่ยวชาญโครงการ RUCaS ได้ขอให้กรุงเทพมหานครเก็บตัวอย่างน้ำบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำและวิเคราะห์ส่วนประกอบ สิ่งเจือปน และสารมลพิษในน้ำ เพื่อนำมาใช้ประกอบในการจัดทำข้อเสนอการพัฒนาพื้นที่โครงการ RUCaS ต่อไป

ปัจจุบัน โครงการฯ ได้ปลูกไม้ยืนต้นในพื้นที่ครบตามแผนการปลูกแล้ว รวมจำนวน 45,000 ต้น (800 ต้น/ 1 ไร่) มีพรรณไม้มากกว่า 50 ชนิด อาทิ พะยูง ตะเคียน มะค่า ส้มกบ ตรีผลา สะตือ งิ้ว สำโรง กุ่ม ขี้เหล็ก พฤกษ์ มะขามป้อม มะขาม สมอ โพธิ์ทะเล กระถินเทพา ฯลฯ การปลูกต้นไม้จะเป็นแบบผสมผสานกันระหว่างต้นไม้ ที่โตเร็วและโตช้า เพื่อให้เป็นป่านิเวศธรรมชาติ สร้างร่มเงา และส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพในเมือง นอกจากนี้ ในพื้นที่ยังมีการขุดบึงน้ำและคูน้ำโดยรอบ เพื่อช่วยกักเก็บน้ำฝนและปลูกพืชบำบัดน้ำเพื่อนำน้ำมาใช้ดูแลต้นไม้ในพื้นที่ได้ด้วย ทั้งนี้ โครงการฯ จะได้มีการติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของต้นไม้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการปลูกทดแทน นอกจากนี้ โครงการได้ว่าจ้างคนในชุมชนที่อยู่บริเวณโดยรอบเป็นผู้ปลูกและดูแลบำรุงรักษาต้นไม้เพื่อเป็นการสร้างรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่โครงการฯ ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ในส่วนของการศึกษาและพัฒนาเป็นพื้นที่ต้นแบบในการปลูกป่าเพื่อมุ่งสู่การจัดทำคาร์บอนเครดิตนั้น สำนักสิ่งแวดล้อมจะหารือเพื่อกำหนดกรอบ รูปแบบ และขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อนำเสนอพื้นที่
สวนป่านิเวศอ่อนนุชเข้าโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER)

รวมทั้งจะได้มีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบโครงการฯ เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านป่าในเมืองต่อไป

 

 

ข้อเสนอแนะ
ติดตามเรา