ข้อมูลการปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) ของกรุงลิสบอน สาธารณรัฐโปรตุเกส
“กล่องเครื่องมือแบบบูรณาการสำหรับย่านที่อยู่อาศัยที่ขาดแคลน - แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นกรุงลิสบอนสำหรับการแทรกแซงเพื่อจัดลำดับความสำคัญในย่านที่อยู่อาศัยและเขตพื้นที่”
ภายโดย URBACT
เมือง กรุงลิสบอน
หน่วยงานหลัก รัฐบาลท้องถิ่น (กรุงลิสบอน) ชุมชนหรือกลุ่มพลเมือง ฯลฯ
พื้นที่โครงการ ย่านที่อยู่อาศัย หรือเขต
ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 จนถึงปัจจุบัน
ขนาดของกรุงลิสบอน พื้นที่ขนาดกว้าง 39 ตารางไมล์ หรือ 100 ตารางเมตร
และมีประชากรอาศัยอยู่ในเมืองจำนวน 546,245 คน
ที่มาและวัตถุประสงค์
เจ้าหน้าที่กรุงลิสบอน ประชาชน และคณะทำงานต่างตระหนักดีว่ากรุงลิสบอนไม่ต่างจากเมืองอื่น ๆ ในโลก
ที่ไม่ได้มีดุลยภาพในทุกเรื่อง กรุงลิสบอนยังมีความเปราะบางอันสืบเนื่องมาจากปัญหาสังคม ชุมชนเมือง
และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงได้เกิดแนวคิดหลักขึ้นมาเพื่อระบุพื้นที่ และย่านที่อยู่อาศัยที่ยังขาดการประสานงานกันในด้านชุมชนเมือง สังคมและเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม และพบว่าประชาชนและหน่วยงานในท้องถิ่นนั้น
ยังไม่ค่อยมีการติดต่อระหว่างกันมากเท่าที่ควร มีเป้าหมายเพื่อจุดประกายให้เกิดความร่วมมือกันแบบหุ้นส่วนระหว่างกรุงลิสบอนและประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อร่วมกันหาคำตอบในอนาคต
ยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะสามารถจัดการกับความท้าทายในเมืองได้โดยผ่านกระบวนการร่วมกันพิจารณาระบุปัจจัยด้านสังคมและเขตพื้นที่เพื่อขจัดปัญหาความยากจน การไม่มีส่วนร่วมในสังคม การว่างงาน และสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า “BIP/ZIP” จะขับเคลื่อนให้ชุมชนได้เกิดการแทรกแซงแบบบูรณาการโดยผ่านรูปแบบการปกครองร่วมกันแบบล่างขึ้นบนที่รับประกันการดำเนินการอย่างยั่งยืนในพื้นที่ขาดแคลน
ยุทธศาสตร์ BIP/ZIP ได้รวมนโยบายและโปรแกรมเพื่อนำไปสู่ความสอดคล้องกันทางสังคมและเขตพื้นที่
และวิถีชีวิตยั่งยืนโดยผ่านกรอบการทำงานร่วมกันระหว่างเมือง ชุมชน และผู้เกี่ยวข้องในการร่วมกัน
วางยุทธศาสตร์ดังกล่าว
การดำเนินการ
|
ภาพโดย กรุงลิสบอน
|
เครื่องมือชิ้นแรก ได้แก่ การทำแผนที่ BIP/ZIP ในการระบุเขตพื้นที่การแทรกแซงตามลำดับความสำคัญ
ของเมืองตามดัชนีความเหลื่อมล้ำทางสังคม เศรษฐกิจ เมือง และการขาดความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่แสดงถึงความเปราะบางของเมือง
เครื่องมือชิ้นที่ 2 ได้แก่ โปรแกรม BIP/ZIP มีการจัดสรรมงบประมาณและเริ่มโครงการชุมชนในท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อมุ่งเน้นที่จะตอบสนองปัจจัยต่าง ๆ ของท้องถิ่น ส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันขององค์กรต่าง ๆ
ในชุมชนและสนับสนุนการพัฒนาประชากรเมืองอย่างยั่งยืน
เครื่องมือชิ้นที่ 3 ได้แก่ สำนักงานท้องถิ่น GABIP ที่มีขอบเขตของปกครองร่วมกันในกรุงลิสบอน หน่วยงานระดับท้องถิ่น และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน และองค์กรต่าง ๆ ในชุมชนจะร่วมกันส่งเสริมเพื่อตอบสนองมิติด้านการเมือง การบริหาร และเทคนิคกับองค์กรและชุมชนในท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม
เครื่องมือชิ้นที่ 4 ได้แก่ แพลตฟอร์มความร่วมมือเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่มีชุมชนเป็นผู้นำ (Collaborative Platform for Community-Led Local Development: CLLD) คือเครือข่ายการปกครองร่วมกัน
แบบล่างขึ้นบนที่จะสามารถพัฒนาเป็นยุทธศาสตร์โลกในบริเวณเขตพื้นที่ BIP/ZIP และส่งเสริมประสบการณ์
ที่สนับสนุนทักษะของหุ้นส่วนในท้องถิ่น
การก่อตั้งสำนักขึ้นมาใหม่ในกรุงลิสบอน ได้แก่ สำนักการพัฒนาท้องถิ่น (Local Development Department) ถือเป็นหลักฐานอีกอย่างของการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการบูรณาการในแนวราบ ทั้งนี้ เพื่อตระหนักถึงการพัฒนาระดับท้องถิ่นในเขตพื้นที่ BIP/ZIP
การรวมตัวกันของชุมชนในท้องถิ่น และผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาท้องถิ่นในเขตพื้นที่ BIP/ZIP คือหัวใจสำคัญอีกประการในการบรรลุความท้าทายที่ยั่งยืน ซึ่งหมายความว่าจะมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ
เมื่อชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ (กระบวนการคิด การตัดสินใจ การดำเนินการ และการควบคุมติดตามผลลัพธ์)
วิธีการนี้สามารถทำให้เกิดความยั่งยืนได้โดยผ่านกระบวนการทำงานที่ยึดหลักเหตุผล สามารถรับประกันได้ว่าความคิดสร้างสรรค์เหล่านี้จะสามารถส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบกับชุมชนอย่างแท้จริง
ยุทธศาสตร์นี้ได้ถูกออกแบบมาตามความเหมาะสมกับขีดความสามารถและระดับความเจริญของแต่ละชุมชน
มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้เข้ากับสถานการณ์จริงและประสบการณ์ที่แตกต่างกันได้เพื่อคำนึงถึงวิธีดำเนินงานและผลลัพธ์เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ความยืดหยุ่นคือกุญแจในการพัฒนาการทำงานและการมีหุ้นส่วนอย่างยั่นยืน
|
|
|
|
การฟื้นฟูและปรับปรุงคุณภาพในพื้นที่
|
|
|
|
|
|
การมีส่วนร่วมและการป้องกัน
|
|
|
|
|
|
การปรับปรุงย่านที่อยู่อาศัย
|
|
|
|
|
|
การประกอบการและทักษะ
|
|
|
|
|
|
การส่งเสริมความเป็นพลเมือง
|
|
งบประมาณ
หน่วยงานหลัก ได้แก่ สำนักการจัดการด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยและท้องถิ่น กรุงลิสบอน (Lisbon Municipality’s Body of Housing and Local Development)
ระหว่างปี พ.ศ. 2554-2559 มีการจัดสรรงบประมาณรวมทั้งสิ้น 9,207,754 ยูโร (ประมาณ 329,000,000 บาท) มีการอนุมัติโครงการจำนวนรวม 232 โครงการ มีหน่วยงาน 532 แห่ง ได้มาทำงานร่วมกันทั้งในระยะของการปฏิบัติและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โครงการเหล่านี้ได้ทำให้เกิดการทำกิจกรรมร่วมกันในเขตพื้นที่ BIP/ZIP จำนวนรวม 1,466 กิจกรรม ซึ่งมีประชาชนในพื้นที่ได้รับผลประโยชน์จากกิจกรรมเหล่านี้ประมาณ 98,600 คนต่อปี
การเรียนรู้และการถ่ายทอดองค์ความรู้
เมืองต่าง ๆ มีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการส่งเสริมการประสานงานกันในด้านสังคมและเขตพื้นที่โดยใช้วิธีการเข้าไปมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ยุทธศาสตร์นี้จะให้ผลลัพธ์เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ยืดหยุ่น และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตในเมืองที่มีความยั่งยืนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางสังคม เครื่องมือสนับสนุนชิ้นนี้สามารถสาธิตการบริหารร่วมกันด้านเขตพื้นที่โดยการมีส่วนร่วมและการสร้างสรรค์ของท้องถิ่น ซึ่งจะทำให้เป็นที่สนใจอย่างมากของเมืองอื่น ๆ โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงบริบทและประสบการณ์ในท้องถิ่นของเมืองเหล่านั้น
ผลลัพธ์และผลกระทบ
- ความร่วมมือที่ดีขึ้นระหว่างผู้มีอำนาจในการตัดสินใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและพันธมิตรในท้องถิ่น
- ความร่วมมือที่ดียิ่งขึ้นในการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นเพื่อใช้เป็นแม่แบบในการสนับสนุนแบบบูรณาการ
ในระดับเมือง
- ความลงรอยกันทางการเมืองในด้านแนวคิด วิธีการ และผลลัพธ์
- การก่อตั้งสำนักใหม่ขึ้นมาเพื่อดูแลงานด้านการพัฒนาท้องถิ่นโดยเฉพาะ
- ความโปร่งใสยิ่งขึ้น และความมั่นใจในกระบวนการตัดสินใจสาธารณะ
- ความมั่นใจที่มากยิ่งขึ้นในกรุงลิสบอน
- ความสนใจในการทำงานด้านอาสาสมัครและการมีส่วนร่วมที่เพิ่มขึ้น
- พันธมิตร/เครือข่าย/ความร่วมมือในชุมชนเที่เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองกับความท้าทายต่าง ๆ
- ความสามารถขององค์กรระดับท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้นเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ ความสนับสนุน และความเปลี่ยนแปลง
- การบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (ด้านการเงิน และที่ไม่ใช่ด้านการเงิน)
- กระบวนการร่วมกันรับผิดชอบที่เหมาะสมและมีเหตุผลสูงสุดสำหรับการริเริ่มและผลลัพธ์
- กระบวนการทำงานแบบเท่าเทียมกัน (องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น และชุมชน) เพื่อผลลัพธ์ที่ชัดเจน
- อัตราความสำเร็จสูง สามารถวัดได้จากประสิทธิภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของการสร้างสรรค์
และการปฏิบัติ
รางวัลการันตีด้านวิธีปฏิบัติที่ดีจาก URBACT
โครงการนี้เคยได้รับรางวัล “URBACT Good Practice Label” เมื่อปี 2560
*หมายเหตุ URBACT คือองค์กรความร่วมมือด้านอาณาเขตยุโรป ก่อตั้งขึ้นมาโดยมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมการพัฒนาเมืองในทวีปยุโรปแบบบูรณาการและยั่งยืน
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แหล่งที่มา:
- Urban Sustainability Exchange. (2560). Lisbon Local Development Strategy for Priority Intervention Areas. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2063. จาก https://use.metropolis.org/case-studies/lisbon-local-development-strategy
- URBACT. (2560). An integrated toolbox for deprived neighbourhoods A local development strategy for neighbourhoods and areas of priority Intervention LISBON/PORTUGAL. สืบค้นเมื่อ
วันที่ 1 มิถุนายน 2063. จาก https://use.metropolis.org/case-studies/lisbon-local-development-strategy
Best Practice of Lisbon: An integrated toolbox for deprived neighbourhoods
Lisbon local development strategy for neighbourhoods and areas of priority Intervention
Image by URBACT
City Lisbon
Main actors Local Government, City Government, Community/Citizen Group, others
Project area Neighborhood or district
Duration Ongoing since 2009/01
Size of city Lisbon’s municipal city limits contain an area measuring 39 square miles (100 square kilometres) and has 546,245 inhabitants.
Background and Objective
People from the municipality, citizens and other actors knew that Lisbon, as any city in the world, is not always in balance. There are fractures in the city due to social, urban or environmental issues. Therefore, the main concept was to identify areas and neighbourhoods that were lacking the minimal levels of cohesion in terms of urban, social economic, and environmental condition and, lacking connection between the local citizens and the local authorities. The aim was to ignite partnerships to connect the city and the people in these areas to find answers for the future.
The Strategy tackles urban challenges through a participatory diagnosis processes that identifies social and territorial needs in order to eradicate poverty, social exclusion, unemployment and environmental problems. The BIP/ZIP strategy empowers the community to develop an integrated intervention through a bottom-up co-governance model that assures sustainable actions in deprived territories.
The BIP/ZIP Strategy involved policies and programs addressing social and territorial cohesion and sustainable living through a participatory framework involving the city, the community and stakeholders in the rollout of the strategy.
Implementations
Image by the Lisbon City Council (Câmara Municipal de Lisboa- CML)
The first tool, BIP/ZIP Mapping, identifies the Priority Intervention Territories of the city, according to the overlapping of social, economic, urban and environmental deprivation indexes that express the fracture of the city.
The second tool, BIP/ZIP Program, funds and initiates local community projects aimed to respond to local needs, promoting local organization partnerships and empowering the development of a sustainable urban population.
The third tool, GABIP local offices, developed a co-governance framework involving the municipality, local boroughs and all relevant stakeholders and community organizations. They promote an articulated response among the political, administrative and technical dimensions with local organizations and community.
The fourth tool, a Collaborative Platform for Community-Led Local Development (CLLD),
is a bottom-up co-governance network that develops a global strategy to BIP/ZIP territories and promotes experience to enhance local partners’ skills.
Other evidence of the sustainability and horizontal integration is the recent creation in the Municipality of the new Local Development Department, which means the recognition of the local development in BIP/ZIP territories.
Another key factor to achieve a sustainable challenge is the inclusion of local communities and their stakeholders in all BIP/ZIP local development approach. This means that when the community is involved in all parts of the process (thinking, decision making, implementation, and monitoring of results), it multiplies the sustainability of the action.
This approach is sustained by meaningful actions, assuring that these initiatives promote change with real impacts in the community. This strategy is designed to accommodate the different capability and maturity levels of each community. It is action and results’ oriented, so it can be flexible and adaptable to different realities and experiences. This flexibility is the
key to actions and partnerships sustainability.
|
|
|
|
Spaces Rehabilitation and Requalification
|
|
|
|
|
|
Inclusion and Prevention
|
|
|
|
|
|
Neighbourhood Life Improving
|
|
|
|
|
|
Entrepreneurship and Skills
|
|
|
|
|
|
Citizenship Promotion
|
|
Budget
The lead agency is Lisbon Municipality’s Body of Housing and Local Development.
Between 2011 and 2016, with a total fund of €9,207,754, a total of 232 projects were approved, gathering 532 entities that participated both in the execution and sustainability phases. These projects generated a total of 1,466 activities developed in BIP/ZIP territories, impacting an average of approximately 98,600 inhabitants each year.
Lessons learned and transferability
Cities have a common focus in promoting socio-territorial cohesion through a participatory local approach. This Strategy results in an effective, flexible and pragmatic tool to implement sustainable urban living that reinforces social cohesion. It is an empowerment tool that demonstrates territorial co-management through local initiative and participation, which means that it can be of great interest to other cities, regardless of their local context and experience.
Results and Impacts
- Greater cooperation between decision makers and local stakeholders/partners
- Greater incorporation of local participation as a model for integrated municipal response
- A political consensus on the BIP/ZIP concept, methodology and results
- The creation of a new municipal department fully dedicated to Local Development
- More transparency and confidence in the public decision-making process
- More confidence in the municipality
- Increased interest in volunteering and active participation
- Increased local partnerships/networks/cooperation to meet challenges
- Increased local organization capability to promote initiative/response/change
- More efficient management of available resources (financial and non-financial);
- A process of co-responsibility, with an extremely high level of appropriation and sense of belonging to the initiatives and results
- A mutual process (local administration/community) of accountability of the results
- A high rate of success measured through effectiveness and sustainability of the initiatives and actions
URBACT Good Practice Label
This project was awarded the 'URBACT Good Practice Label' in 2017.
*NB: The URBACT programme is the European Territorial Cooperation programme aiming to foster sustainable integrated urban development in cities across Europe.
Sustainable Development Goals
Sources:
- Urban Sustainability Exchange. (2017). Lisbon Local Development Strategy for Priority Intervention Areas. Retrieved on 1 June 2020. From https://use.metropolis.org/case-studies/lisbon-local-development-strategy
- URBACT. (2017). An integrated toolbox for deprived neighbourhoods A local development strategy for neighbourhoods and areas of priority Intervention LISBON/PORTUGAL. Retrieved
on 1 June 2020. From https://use.metropolis.org/case-studies/lisbon-local-development-strategy
เอกสารแนบ : Best Practice - กรุงลิสบอน An integrated toolbox for deprived neighbourhoods (พรรณระวี).pdf