ลักษณะงานด้านต่างประเทศของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
- ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมได้กลายมาเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะไร้พรมแดน เมืองในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกมีการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างเมืองต่อเมือง และสร้างองค์การเครือข่ายระหว่างเมือง( Regional City Networks )
- เมืองทั่วโลกส่งเสริมมิตรภาพและแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกันในการพัฒนาเมือง รวมถึงการร่วมมือกันรักษาสภาพแวดล้อมของโลกที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญของโลก
- กรุงเทพมหานครในฐานะเมืองหลวงของประเทศไทยและเมืองที่มีความสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญในเวทีระหว่างประเทศโดยกรุงเทพมหานคร
ได้ดำเนินความสัมพันธ์ด้านต่างประเทศ ดังนี้
ลักษณะของความร่วมมือและความสัมพันธ์ต่างประเทศของกรุงเทพมหานคร
- การส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างเมือง (Sister Cities) กรุงเทพมหานครได้มีความสัมพันธ์ในลักษณะเมืองพี่เมืองน้องโดยดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องกับ 32 เมือง 17 ประเทศ
- ความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศและเครือข่ายเมือง กรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์ความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศทั้งที่เป็นองค์กรระดับชาติและองค์การระหว่างประเทศระดับท้องถิ่นที่เป็นเครือข่ายเมืองกับ 7 องค์กร
- การส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับ
สถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 74 สถานทูต
การส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างเมือง(Sister Cities)
กรุงเทพมหานครได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกับเมืองสำคัญ ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกโดยกำหนดข้อตกลงเพื่อร่วมมือกันในด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ ที่สามารถทำได้ ซึ่งมีรูป แบบความสัมพันธ์ เช่น การสถาปนาความสัมพันธ์ เมืองพี่เมืองน้อง (Sister Cities) ข้อตกลงความสัมพันธ์ฉันมิตร( Friendship Agreement ) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ(MOU) ซึ่งกรุงเทพมหานครได้มีความสัมพันธ์ในลักษณะดังกล่าว และดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องกับ 35 เมืองจาก 18 ประเทศ
เมืองพี่เมืองน้อง (Sister City) 35 เมือง
การส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างเมือง(Sister Cities)
กรุงเทพมหานครได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกับเมืองสำคัญ ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกโดยกำหนดข้อตกลงเพื่อร่วมมือกันในด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ ที่สามารถทำได้ ซึ่งมีรูป แบบความสัมพันธ์ เช่น การสถาปนาความสัมพันธ์ เมืองพี่เมืองน้อง (Sister Cities) ข้อตกลงความสัมพันธ์ฉันมิตร( Friendship Agreement ) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ(MOU) ซึ่งกรุงเทพมหานครได้มีความสัมพันธ์ในลักษณะดังกล่าว และดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องกับ 35 เมืองจาก 18 ประเทศ
เมืองพี่เมืองน้อง (Sister City) 3ุ6 เมือง
ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศและเครือข่ายเมือง
กรุงเทพมหานครเป็นสมาชิกความร่วมมือกับองค์การะหว่างประเทศทั้งที่เป็นองค์การระดับชาติและองค์การระหว่างประเทศระดับเมืองที่เป็นเครือข่ายเมืองและความร่วมมือกับกลุ่มเมืองที่รวมตัวกันดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน มีความสัมพันธ์กับ 13 องค์การหรือเครือข่าย ดังนี้
- ASEM MGM
กรุงจาการ์ตาร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียรับเป็นเจ้าภาพฯ เพื่อนำไปสู่แนวทางการพัฒนาเมือง ให้เกิดความยั่งยืนโดยเน้นความร่วมมือกับเมืองในกลุ่มประเทศอาเซียนและยุโรป เช่น การบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดี การรวมกันเป็นเมืองการอพยพย้ายถิ่น การรวมกันเป็นสังคมที่ยั่งยืน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศซึ่งจัดเป็นการ ประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างวันที่ 28 - 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553 มีเมืองต่าง ๆ เข้าร่วมประชุมหลายเมือง เช่น กรุงเวียงจันทน์ กรุงบันดาเสรีเบกาวัน กรุงโซล กรุงเฮลซิงกิ กรุงเบอร์ลิน กรุงโตเกียว กรุงเทพมหานคร รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูตที่เป็นตัวแทนของเมืองพี่เมืองน้องของกรุงจาการ์ตาเข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้เข้าร่วมการประชุมเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2553 และเป็นประธานการประชุมในภาคที่ 3 ในหัวข้อความยั่งยืนของการพัฒนาในการจัดการกับการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
-
Asia Pacific City Summit
ก่อตั้งขึ้นเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาเมืองระหว่างเมืองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีสมาชิกจำนวน 19 เมือง สำนักเลขานุการตั้งอยู่ที่เมืองฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น มีการจัดประชุมใหญ่ระดับผู้นำเมืองทุก 2 ปี และจัดประชุมระดับเจ้าหน้าที่เตรียมการก่อนการประชุมใหญ่ โดยมีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการควบคู่ไปด้วย เพื่อรวบรวมข้อมูลของเมืองที่เป็นเจ้าภาพในด้านต่าง ๆ เพื่อนำไปพัฒนาเมืองต่อไป
การประชุม Asia Pacific City Summit ประจำปี พ.ศ. 2554 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ธุรกิจของเมือง (The Business of Cities)” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางธุรกิจ การค้า การลงทุน และผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจของประเทศที่ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมรวมทั้งผู้ให้การสนับสนุน ตลอดจนการพัฒนาเชิงภาคีระหว่างองค์กรระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับนานาชาติทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน
- Asian Mayors Forum (AMF)
ความเป็นมา : กรุงเทพมหานครเป็นสมาชิกเมื่อปี พ.ศ. 2554 ในสมัยหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธาน Asian Mayors Forum ระหว่างปี พ.ศ. 2555 – 2557
วัตถุประสงค์ : เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นและการอภิปรายในแนวทางการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายระหว่างเมืองในภูมิภาคเอเชีย
ที่ตั้งสำนักงานเลขานุการ : สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
- C 40 Cities Climate Leadership Group กลุ่ม 40 เมืองผู้นำด้านสภาพภูมิอากาศ
ก่อตั้งขึ้นโดยการรวมกลุ่มของเมืองใหญ่เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากเมืองควรมีบทบาทสำคัญในการช่วยกันแก้ปัญหาโลกร้อนเพราะเป็นแหล่งใหญ่ในการก่อให้เกิดปัญหา จึงได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มเมืองผู้นำด้านสภาพภูมิอากาศขึ้น ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 66 เมือง
5.CITYNET (The Regional Network of Local Authorities for Management of Human Settlements in Asia and Pacific) องค์กรเครือข่ายความร่วมมือส่วนภูมิภาคว่าด้วยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในเอเชียและแปซิฟิก)
ก่อตั้งขึ้นโดยการริเริ่มของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิกขององค์การสหประชาชาติ (UN-ESCAP) ซึ่งตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างเมืองต่างๆ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาโดย มีวัตถุประสงค์ในการจัดการเมืองอย่างเป็นระบบและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ปัจจุบันมีสมาชิกที่เป็นเมือง องค์กรและภาคเอกชนจาก 22 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกว่า 100 ราย
6. CLAIR ( The Japan Council of Local Authorities for International Relations ) คณะกรรมการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศญี่ปุ่นว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ
องค์กร CLAIR ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2541 เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านต่างประเทศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น โดยส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของญี่ปุ่นกับต่างประเทศในรูปแบบต่างๆด้วยการสนับสนุนด้านข้อมูลต่างประเทศ การประสานงาน การอำนวยความสะดวก และพัฒนาบุคลากรเพื่อให้การดำเนินการด้านต่างประเทศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นญี่ปุ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
7.Global Design Cities Organization (GDCO)
Global Design Cities Organization (GDCO) เป็นองค์กรที่ปรึกษาด้านนโยบายการออกแบบผังเมืองของโลกซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เมืองต่างๆ ทั่วโลกได้มีโอกาสร่วมกันหารือเกี่ยวกับโครงการพัฒนาเมืองในอนาคตภายใต้นโยบายการออกแบบซึ่งรวมถึงการออกแบบผังเมือง ทั้งนี้ ในการประชุม World Design Cities Summit ซึ่ง จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ผู้แทนจาก 32 เมืองได้เห็นพ้องถึงความจำเป็นในการร่วมมือกันเพื่อพัฒนาการออกแบบผังเมือง อันนำไปสู่ข้อตกลงการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม GDCS ทุก 2 ปี โดยเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2544
8.ICLEI (Local Governments for Sustainability) รัฐบาลท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
รัฐบาลท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นองค์กรที่มีสมาชิกประกอบด้วยรัฐบาลท้องถิ่นกว่า 1,220 แห่ง ภายใต้กรอบความผูกพันเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สมาชิกองค์กรมาจากประเทศต่างๆ 70 ประเทศซึ่งมีพลเมืองรวมกันกว่า 569,885,000 คน องค์กรดังกล่าวจัดตั้งขึ้นในการประชุม World Congress แห่งรัฐบาลท้องถิ่นเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน (World Congress of Local Governments for a Sustainable Future) ซึ่งเป็นการประชุมสถาปนาองค์กร ณ สำนักงานสหประชาชาติ กรุงนิวยอร์ก โดยมีรัฐบาลท้องถิ่นกว่า 200 แห่งจาก 43 ประเทศเข้าร่วมประชุม ณ สำนักงานสหประชาชาติ กรุงนิวยอร์ก
9.Mayors for Peace
ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2525 เพื่อให้ตระหนักถึงสันติภาพของโลกที่ยังคงอยู่ด้วยความสามัคคีระหว่างเมืองต่างๆ ทั่วโลก วันนี้ องค์กร Mayors for Peaceเติบโตขึ้นและมีเมืองสมาชิกกว่า 7,000 เมืองจาก 161 ประเทศและภูมิภาค ทั่วโลก
10.Meeting for Governors and Mayors/Mayors of ASEAN Capitals
การประชุม The First Meeting of Governors/Mayors of the Capitals of ASEAN ภายใต้หัวข้อเรื่อง “ASEAN Goes Local: Contributing to the ASEAN Community 2015” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 กันยายน 2556 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเข้าร่วมประชุม
11.Metropolis ( World Association of the Major Metropolis ) สมาคมมหานครสำคัญของโลก
ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2528 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและการแลกเปลี่ยนระหว่างสมาชิกและเป็นกระบอกเสียงให้กับเมืองสมาชิกในเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ของเมืองในเวทีระหว่างประเทศในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาเมือง วัตถุประสงค์สำคัญขององค์กรเพื่อสามารถควบคุมการพัฒนาในเขตเมืองให้ดียิ่งขึ้น Metropolis เป็นที่ยอมรับในฐานะองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในเวทีระหว่างประเทศโดยองค์การระหว่างประเทศใหญ่ ๆ เช่น UN WHO World Bank
องค์การ WeGO (World e-Government Organization) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2553 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนโดยการร่วมมือและแลกเปลี่ยนการดำเนินงานด้าน e-Government และปรับปรุงประสิทธิภาพงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาเมือง ต่อมาเมื่อปี 2560 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่มีมติเห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อองค์การเป็น World Smart Sustainable Cities เพื่อให้ตรงตามพันธกิจหลักขององค์การที่ต้องการสร้างความยั่งยืนอย่างชาญฉลาดให้กับเมืองสมาชิก โดยมีสำนักงานเลขานุการอยู่ที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี และกรุงเทพมหานครได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อปี พ.ศ. 2555